แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ในผู้สูงอายุ


      สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาว ศุพิชญา วันนู เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ค่ะ วันนี้จะนำเสนอและแปลผลแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ที่ดิฉันได้ไปสัมภาษณ์คุณย่าของดิฉัน ซึ่งมีอายุ 77 ปีในปีนี้ค่ะ โดยการบันทึกผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่ไฟล์ PDF ข้างล่างนี้เลยค่ะ

                                        20220821131223.pdf (ThaiPSQIquestionaire)

      ต่อไปนะคะ เป็นการแปลผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่ไฟล์ PDF ข้างล่างนี้เลยค่ะ

                                        20220821132242.pdf (PSQI scoring)

        การแปลผลรวมคะแนนทั้ง 7 องค์ประกอบ (Global PSQI score) ของแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ จะมีช่วงคะแนนระหว่างระหว่าง 0-21 คะแนน ดังนี้ คะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง คุณภาพการนอนหลับที่ดี คะแนนรวมมากกว่า 5 คะแนน หมายถึง คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

        จากการแปลผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับของคุณย่าดิฉันในวัย 77 ปี พบว่าผลรวมของคะแนน 7 องค์ประกอบ (Global PSQI score) เท่ากับ 14 คะแนน แปลผลได้ว่า คุณภาพการนอนหลับของคุณย่าเป็นคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี (Poor sleep quality) เพราะมีคะแนนรวมมากกว่า 5 คะแนน

        หลังจากการสัมภาษณ์และประเมินคุณภาพการนอนหลับของคุณย่าทำให้เกิด Self-reflection แบบ SEA ดังนี้ค่ะ

  • S = Spotting พบจุดแข็งของตัวเองในการพูดคุยแปลภาษาเขียนจากในแบบประเมิน เป็นภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจได้ง่าย เป็นผู้ฟังที่ดี (Good listener) บางครั้งคุณย่าพูดอธิบายเรื่องอื่นที่ไม่ได้อยู่ในคำถามที่ถาม ดิฉันก็ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจและสามารถชวนคุณย่าพูดคุยกลับมาที่คำถาม มีอารมณ์ขัน (Sense of humor) ขณะสัมภาษณ์ ดิฉันได้พูดทวนคำพูดที่คุณย่าตอบมาเพื่อแสดงถึงว่าดิฉันกำลังตั้งใจฟังอยู่ เช่น ดิฉันถามว่า คุณย่านอนหลับจริงกี่ชั่วโมงคะ ที่ไม่ใช่ตอนที่คุณย่ากลิ้งบนเตียง คุณย่าตอบมาว่า นอนหลับเที่ยงคืน ราวๆตอนตี 1 คุณย่าจะตื่น 1 ครั้งมาเข้าห้องน้ำ และคุณย่ากลับไปนอนต่อ ซึ่งคุณย่าบอกว่านอนตอนตี 4 และตื่น 6 โมงเช้า ดิฉันพูดทวนคำตอบจากสิ่งที่คุณย่าพูดเพื่อแสดงว่ากำลังตั้งใจฟัง ดิฉันพูดจาชัดเจน เสียงดังขณะถามคำถาม มีอารมณ์ร่วมไปกับคุณย่า รู้สึกถึงปัญหาที่คุณย่าพบค่ะ
  • E = Explain ภาพจำขณะทำแบบประเมินคุณย่าตอบเสียงดังฟังชัด เข้าใจในคำถามที่ดิฉันถาม โดยดิฉันไม่ต้องถามซ้ำ ดิฉันแปลผลคุณภาพการนอนหลับว่าคุณภาพการนอนหลับของคุณย่าไม่ดี โดยคุณย่าเข้าใจและบอกว่า ย่านอนไม่หลับบ่อย เป็นความเคยชินจากการที่อายุมากขึ้น ตอนอายุสาวๆยังนอนหลับสบาย แต่พออายุมากขึ้นนอนไม่ค่อยหลับ มีการตื่นขึ้นมาขณะนอนหลับบ่อยที่สุด จากการสัมภาษณ์คุณย่าหายใจสะดวก ไม่มีอาการไอ นอนกรน คณย่ารู้สึกร้อนขณะเวลานอน 1-2 รอบต้องใช้พัดลมช่วย คุณย่าไม่เคยฝันร้าย คุณย่ามีอาการปวดขา ปวดหลัง บางคืนคุณย่านอนไม่หลับทั้งคืนค่ะ เกิดอารมณ์หงุดหงิดขณะนอน มีการเข้าห้องน้ำบ่อยๆตอนกลางคืน ไม่ใช้ยานอนหลับ มีการนอนหลับกลางวัน (Napping) เป็นบางวัน ตอนกลางวันก็นอนหลับบ้างไม่หลับบ้าง การนอนไม่มีผลกระทบต่อการกระตือรือร้นในการทำงานของคุณย่า หลังจากที่ดิฉันแปลผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ ดิฉันได้ให้คำแนะนำให้คุณย่าใช้กระโถน นำกระโถนไว้ชั้นที่คุณย่านอน สภาพบ้านคือห้องน้ำอยู่ชั้น 1 และคุณย่านอนที่ชั้น 2 เพื่อป้องกันการหกล้มในเวลากลางคืนและจะได้ไม่ต้องเดินขึ้นๆลงๆบันได เนื่องจากคุณย่าบอกว่าเข้าห้องน้ำบ่อยในเวลากลางคืน ดิฉันบอกให้คุณย่าปรับช่วงเวลาในการทานอาหาร คุณย่าจะชอบกินขนม ผลไม้ตอนประมาณสามทุ่มขณะดูโทรทัศน์ และเลิกดูโทรทัศน์ก่อนเข้านอน 30 นาที ดิฉันแนะนำให้คุณย่าค่อยๆลดการกิน แนะนำให้คุณย่าออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนเบาๆวันละ 15-20 นาที แนะนำให้คุณย่าไปพบนักกายภาพบำบัด เนื่องจากคุณย่ามีอาการปวดขา และปวดหลัง และแนะนำให้คุณย่ากระตุ้นเตือนตัวเองให้มีการขับปัสสาวะออกก่อนนอน 30 นาทีค่ะ
  • A = Appreciate รู้สึกดีที่ได้ลองทำการประเมินคุณภาพการนอนหลับ ปกติจะคุยกับคุณย่าเรื่องอื่นมากกว่าค่ะ แต่ก็ได้ยินคุณย่าบ่นเรื่องนอนไม่หลับบ่อย คุณย่ามีการแนะนำให้ลองไปประเมินกับเพื่อนของคุณย่า จะได้เก่งๆค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าการได้ลองสัมภาษณ์และรับทราบปัญหาของคุณย่าสามารถฝึกดิฉันให้รู้ว่าถ้าสัมภาษณ์กับผู้สูงอายุคนอื่น ดิฉันจะต้องพูดแบบไหน พูดอย่างไรให้ผู้สูงอายุเปิดใจที่จะพูดกับดิฉัน จะมีการแนะนำอย่างไรเพื่อทำให้การนอนหลับที่คุณภาพไม่ดีเปลี่ยนเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพดีได้ค่ะ ตอนแรกดิฉันคิดว่าคุณย่าจะเข้าใจคำถามที่ดิฉันถามหรือไม่ แต่คุณย่าตอบทุกคำถาม เข้าใจ และไม่มีการถามคำถามซ้ำ ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกดีกับตัวเอง เพราะรู้สึกว่าดิฉันเป็นคนที่เรียบเรียงคำพูดไม่ค่อยถูกต้องค่ะ ต้องฝึกฝนกันต่อไป (Practice makes perfect)
หมายเลขบันทึก: 705704เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2022 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2022 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท