Transactional leadership หรือภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน


นักวิชาการไทยแปลคำว่า ‘Transactional Leadership’ หลายเวอร์ชั่น เช่น ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน หรือภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ  หรือภาวะผู้นำเชิงเป้าหมาย หรือภาวะผู้นำแบบแลกเป้า 

ไม่ว่าจะใช้คำไหน แก่นของภาวะผู้นำแบบนี้คือ ‘หมูไปและไก่มา’ โดยมีข้อตกลกว่าถ้าต้องการได้ไก่ ให้เอาหมูมาแลก 

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของ ‘ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปล หรือการนำเพื่อการเปลี่ยนแปล’ โดยมีหลักสำคัญว่าผู้นำประสงค์จะให้องค์การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็จะกำหนดสิ่งที่ผู้ตามควรปฏิบัติ  เสร็จแล้วมีการทำข้อตกลงกันระหว่างผู้นำกับผู้ตามว่า ‘ถ้าผู้ตามปฏิบัติตามข้อตกลงจนสำเร็จตามเป้าหมาย ก็จะได้รับรางวัลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้’ 

Avolio & Bass (Developing Potential Across a Full Range of Leadership:  Cases on Transactional and Transformational Leadership, 2002) ซึ่งเป็นผู้ริเร่ิมแนวคิดภาวะผู้นำแบบนี้อธิบายว่า Transactional leadership เกิดขึ้นเมื่อผู้นำให้รางวัล หรือกำกับการดำเนินงานของผู้ตามตามผลการปฏิบัติงานของผู้ตาม ด้วยสองแนวทางหลักคือ (1) การเสริมแรงตามสถานการณ์ และ (2) การจัดการตามเงื่อนไข 

การเสริมแรงตามสถานการณ์ (Contingent Reward) เป็นการนำโดยผู้นำมอบหมายงาน หรือมีข้อตกลงกับผู้ปฏิบัติในการดำเนินกานในสิ่งที่องค์การต้องการ และสัญญาว่าจะให้รางวัลตามที่ตกลงไว้ถ้าผู้ตามสามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อตกลง การนำแบบนี้เป็นแนวทางการนำที่ได้ผลดีกว่าการจัดการตามเงื่อนไข

การจัดการตามความจำเป็น (Management by Exception) การจัดการตามความจำเป็นการนำที่ไม่ค่อยได้ผลและควรงดเว้นการนำใช้ถ้าไม่จำเป็น มีสองแบบคือ (1) ในกรณีที่ความเสียหายไม่รุนแรง ผู้นำอาจจะใช้วิธีการกับกับการ หรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ตาม เพื่อแก้ไขการปฏิบัติที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานที่พึงประสงค์ และ (2) ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด หรือเสียหายรุ่นแรง ผู้นำควรรอให้ข้อผิดพลาด หรือความเสียนหายนั้นเกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยเข้าไปแทรกแซงแก้ไข 

นอกจากแนวทางในการนำแบบแลกเปลี่ยนทั้งสองแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น Avolio & Bass ยังได้กล่าวถึงภาวะผู้นำตามยถากรรม (Lessez-Faire Leadership)  เป็นการนำแบบไม่นำ หรือไม่ทำอะไรปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ถือว่าเป็นภาวะผู้นำเสียด้วยซำ้ และไม่ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน แต่นำมาเสนอไว้ใน ‘Full Range of Leadership’ [ผมแปลว่า ‘ภาวะผู้นำแบบพัฒนาการ’ คือมีระยะและแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเริ่มตั้งแต่ไม่นำอะไร หรือ Lessez-Faire Leadership ไปเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยน หรือ Transactional Leadership  สู่ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน หรือ Transformational Leadership] 

หวังว่าหลังจากอ่านบทเขียนนี้แล้วจะช่วยให้ผู้สนใจเรื่องภาวะผู้นำได้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Change Leadership กับ Transformational Leadership กับ ​Transactional Leadership มากขึ้น และนำไปใช้ในการนำมากด้วยนะครับ 

สมาน อัศวภูมิ

14 สิงหาคม 2565

Bass, B.M. & Avolio, B.J., edited. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership.  London: Sage Publications.

Bass, B.M. & Avolio, B.J. edited. (2002). Developing Potential Across a Full Range of Leadership: Cases on Transactional and Transformational Leadership.  New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers. 

หมายเลขบันทึก: 705334เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2022 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2023 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท