ปรัชญาสหกรณ์


ปัญหาไม่มาปัญญาไม่เกิด

ปรัชญาก็เช่นเดียวกัน

ถ้าไม่มีเหตุการณ์ความเป็นอยู่ของคนเรา

ปรัชญาก็ไม่เกิดเช่นกัน

ปรัชญาเป็นการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ชาติ

ที่เกี่ยวข้องกับปัญญา นักปราชญ์จึงเป็นคน

ที่รักในความรู้ แสวงหาศึกษาเรื่องของความรู้

ปัญญา หรือความแท้จริงของสิ่งนั้น ๆ

ตั้งแต่ยุคที่เริ่มมีจิตมีวิญญาณ ตามวิวัฒนาการ

ของปัญญา เริ่มตั้งแต่คนเราเลี้ยงสัตว์ ทำการ

ปลูกพืช ความเชื่อต่าง ๆ ก่อนมีศาสนาและลัทธิ

มาสู่ยุคของปรัชญา และมาถึงยุควิทยาศาสตร์

ณ วันนี้เรียงมาตามลำดับ

ศาสนา นั้น ต่างกับลัทธิ เพียงแต่ ศาสนามี

ศาสดาเป็นผู้เผยแพร่ส่วนลัทธิเป็นคติความเชื่อถือ

ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือ

และปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา

และไม่มีศาสดาเผยแพร่

อาศัยผู้คนที่ศรัทธาช่วยกันเอง

ในการเผยแพร่เช่นลัทธิสหกรณ์

(สังคมนิยมประชาธิปไตย)

ลัทธิทุนนิยม ลัทธิชาตินิยม

ส่วนลัทธิสหกรณ์จะมีปรมาจารย์

ทางสหกรณ์มากมาย

แต่ไม่มีใครได้รับยกย่องว่าเป็นศาสดา

มีแต่เพียงได้รับขนานนาม บิดาสหกรณ์

ตามที่ชาวโลกยกย่อง..

การศึกษาปรัชญาสหกรณ์นั้น เราจะต้องศึกษา

ระบบสหกรณ์ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้

โดยเริ่มตั้งแต่หลักคิด(Ideology)ของนักปรัชญาสหกรณ์

แต่ละคนแต่ละยุคสมัย เช่น โรเบิร์ต โอเวน ชาร์ลส์ ฟูริเอ

แซงซิมอง วิลเลี่ยมคิง ฟิลิป บูเช ผู้นำแห่งรอชเดล ไรฟ์ไฟเซน

ชูลส์เซเดลิสต์ .. หลุยส์บลอง ชาร์ลส์ จิ๊ด ฮานส์ มุงค์เนอร์

การศึกษาปรัชญาสหกรณ์ต้องอาศัยหลักในการมองโลก

หรือโลกทัศน์ ความรู้เรื่องสหกรณ์จึงมีหลากหลาย มีหลาย

รูปแบบหลายประเภท และหลายค่าย ตามพื้นที่ สภาวการณ์

และสภาพแวดล้อมของกลุ่มคนแต่ละสมัย

สหกรณ์เองก็มีการเปลี่ยนแปลงไป และมีการตกผลึก

ปรัชญาสหกรณ์จึงเป็นการศึกษาการวิวัฒน์ของหลักคิด

ว่าสหกรณ์ประกอบขึ้นด้วยอะไร มีกำเนิดมาอย่างไร

โครงสร้างแต่ละส่วนประกอบขึ้นด้วยอะไร ทำงานอย่างไร

สหกรณ์เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร

เนื้อแท้แก่นหลักของสหกรณ์ว่าไว้อย่างไรบ้าง

และสหกรณ์เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้อย่างไร

ปรัชญาสหกรณ์ นั้นจึงหมายถึง ระบบแห่งหลักคิด

และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของชาวสหกรณ์

ณ สมัยหนึ่งสมัยใดที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาล

นักสหกรณ์จึงจำเป็นต้องศึกษาประวัติศาสตร์

ทางความคิดของสหกรณ์ และเนื้อแท้แก่นหลัก

ที่สำคัญ ๆ ของชาวสหกรณ์ ทั้งโลก ...

ปรัชญาสหกรณ์จึงเป็นแนวคิด

อันเกิดจากความเชื่อที่ได้กลั่นกรองแล้ว

โดยอาศัยอุดมการณ์ ค่านิยม(Values)

หลักการและวิธีการสหกรณ์และ

พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามวิถีสหกรณ์

มาเป็นบรรทัดฐาน วัดความเป็นสหกรณ์

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาสหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 704342เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2022 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2022 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท