ปัตตานีในประวัติศาสตร์สมัยใหม่:ประวัติศาสตร์ยุคแรก


ก่อนหน้านี้ เขตแดนมุสลิมมาเลย์จะอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู ซึ่งจะถูกปกครองโดยสุลต่านหลายพระองค์ เช่น นราธิวาส และยะลาจะถูกปกครองโดยสุลต่านปาตานี และสตูลจะอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านเคดาห์ ราชอาณาจักรปาตานี (1350-1909) เป็นเมืองที่ใหญ่และมีประชากรอยู่หนาแน่นในบรรดาอาณาเขตทั้งหมด ในศตวรรษที่ 17 และ 18 ปาตานีเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการติดต่อซื้อขายกับพ่อค้าชาวยุโรป อาหรับ อินเดีย และญี่ปุ่น นอกจากนี้ปาตานียังเต็มไปด้วยนักวิชาการอิสลาม และอาจถือว่าปาตานีเป็นแหล่งกำเนิดของอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าตามประวัติศาสตร์แล้ว ปาตานียังคงต้องส่งบรรณาการให้กับรัฐสยามตั้งแต่รัฐอยุธยา (1350-1767) และกรุงเทพฯ (1783-1909) แต่ราจา หรือกษัตริย์ยังคงมีอำนาจในการปกครองตนเองและสามารถหาเงินมาให้ตนเองได้ ปาตานี ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรและกำลังคน ได้ทำการปฏิวัติรัฐสยามที่อยู่ห่างไกล และเป็นเอกราชอยู่หลายหน ปาตานีจึงกลายมาเป็นผู้นำและสัญลักษณ์ของการต่อต้านในนามอิสลามต่อการปกครองของสยาม

ในศตวรรษที่ 19 รัฐกรุงเทพฯได้แบ่งแยกปาตานีออกเป็น 7 อาณาเขต การจัดระเบียบครั้งสุดท้ายของรัฐปาตานีเกิดขึ้นเมื่อปี 1902 เมื่อกษัตริย์จุลจอมเกล้า (1868-1910) บีบบังคับให้รัฐบรรณาการต้องขึ้นตรงต่อส่วนกลางทั้งหมดตามหลักการการจัดระเบียบจังหวัด (provincial administration) การรวมกันแบบรุนแรงของอาณาเขตที่อยู่ริมๆ เกิดขึ้นเพราะต้องรักษาบูรณาภาพทางดินแดนของสยามเอาไว้ เพราะการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาปาตานึจึงกลายมาเป็นจังหวัด ภายใต้คณะกรรมการที่ปรึกษาของสยามที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ ความศักดิ์สิทธิ์ อำนาจปกครอง สิทธิ และความเคารพของราจาได้หดลงไปจนไม่เหลือหลอ ราจาได้รับเงินบำนาญจากรัฐสยามในทางสัญลักษณ์แล้ว ราจาไม่จำเป็นต้องส่งบรรณาการพวกต้นไม้ทองให้แก่กรุงเทพฯอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงอันนี้นำการต่อต้านจากผู้ปกครองชาวมาเลย์แบบถึงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งราจาปาตานีที่ถูกจับและถูกขังคุกในจังหวัดทางภาคเหนือของไทย นั่นคือพิษณุโลก เพราะกลัวการก่อความไม่สงบในท้องถิ่น ราจาองค์สุดท้ายของปาตานี Tengku Abdul Kadir Kamaruddeen ที่เพิ่งออกจากคุก หลังจากไปอยู่ที่นั่น 2 ปี การกลับมาที่ปาตานี เพราะเขายื่นข้อเสนอว่าจะเล่นการเมืองอีกต่อไป แต่ในที่สุด เขาย้ายไปจากปาตานี ในปี 1915 และไปอยู่ที่รัฐกลันตัน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพราะมีข้อสงสัยว่าเขากำลังวางแผนต่อต้านสยามอยู่

ในปี 1906 ปาตานีถูกจัดระเบียบอีกครั้งหนึ่ง จากเจ็ดหัวเมือง ได้กลายมาเป็น 4 หัวเมือง ได้แก่ ปาตานี, บางนารา (ชื่อเดิมของนราธิวาส), สายบุรี, และยะลา สำคัญไปกว่านั้น กฎหมายของสยามถูกนำมาใช้ ในขณะที่ชารีอะห์ และภูมิปัญญาของคนโบราณ (adat customary) ถูกละเลย เว้นไว้แต่กรณีนั้นจะเป็นเรื่องส่วนตัวในเรื่องการได้รับมรดกและการแต่งงาน จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์และตอนสุดท้ายคือ ในปี 1909 ในตอนนั้น สนธิสัญญาระหว่างสยามและอังกฤษได้ทำให้ปาตานี (สตูล ซึ่งเมื่อก่อนเป็นของเคดาห์) อยู่ภายใต้ราชอาณาจักร ในขณะที่ส่วนอื่นๆซึ่งเป็นรัฐมาเลย์ถูกยกให้มาเลย์อังกฤษ ดังนั้นสนธิสัญญาจึงได้แบ่งแยกระหว่างสยามกับมาเลย์อังกฤษออกจากกัน ในที่สุดพลเมืองมาเลย์มุสลิมจึงเป็นส่วนน้อยในประเทศไทย สนธิสัญญายังดับฝันราจามาเลย์ ที่อังกฤษเข้ามาแทรกแซงเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ นับแต่นั้นเป็นต้นมา คำถามเรื่องความมีอิสระทางภาษา, วัฒนธรรม, การเมือง และการบริหารราชการจึงกลายมาเป็นเรื่องของภายในของสยาม ที่จัดโดยรัฐบาลสยามในภาคกลางที่ต้องจัดทุกสิ่งเป็นไทยเพื่อความเป็นรัฐชาติ

มาเลย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครึ่งหนึ่งเป็นประชากรมุสลิม ชุมชนมุสลิมอื่นๆกระจายไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลาง ความสัมพันธ์กับรัฐไทยและสังคมไทยย่อมแตกต่างจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะมีความเห็นใจเพราะเป็นมาเลย์มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่มุสลิมภาคกลายนิยามตนเองว่าเป็นไทย และเป็นพลเมืองไทย ดังนั้นการดำรงอยู่ของพวกเขาจึงมีภาพประทับใจว่าสามารถร่วมกันได้อย่างสันติ คู่ไปกับพุทธ ยกเว้นแต่ที่จังหวัดภาคใต้เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 704008เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2022 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2022 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท