อยู่ในสังคมเสมือนจริงอย่างมีคุณค่า (Live in virtual societies valuably)


ก่อนนี้ใครครอบครองปัจจัย 4 คือ “อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค” จะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนอื่น แต่ปัจจุบันนี้คนที่รวยที่สุดและมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนเศรษฐกิจของโลกกลับไม่ใช่ปัจจัย 4 ดังกล่าว แต่เป็น “สิ่งที่ไร้ตัวตนที่มีแกนร่วมคือการสื่อสารรของคน” ซึ่งพัฒนามาจากยุคสังคมสารสนเทศ (information era) ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 

ผมชื่นชมยินดีกับความสามารถและความรำ่รวยที่เขามีครับ เก่งครับ 

 แต่ผมอยากตั้งข้อสังเกตและชวนให้พวกเราคิดต่อว่า “ทำไมอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต แต่กลับราคาถูกกว่าสารสนเทศและเทคโนโลยีที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ” ครับ ทั้ง ๆ ที่กินไม่ได้ครับ 

โทรศัพท์มือถือเครื่องที่ถูกที่สุดก็ราคาหลายร้อยบาท ขณะที่ข้าวสารหนึ่งกิโลกรัม ราคาไม่ถึงร้อย และข้าวสารหนึ่งกิโลกรัมกินได้หลายมื้อ ขณะที่โทรศัพท์กินไม่ได้แม้แต่มื้อเดียว 

ผมไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีนะครับ ที่ผมได้เขียนเรื่องแชร์กับท่านนี่ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ผมได้คุยกับลูก หรือเพื่อนที่อยู่ห่างไกลก็เพราะเรามีโทรศัพท์ 

แต่ที่เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทั้งหลายมีราคาเหนือกว่าปัจจัย 4 อย่าง “อาหาร” นั่นเป็นเพราะว่าพวกเราสร้าง “ความต้องการเทียมหรือเกินความจำเป็น” ให้กับเทคโนโลยีการสื่อสารไหม 

ลองสำรวจตัวเองว่าตอนนี้ "มีโทรศัพท์มือถือกี่เครื่อง ทุกครั้งที่มีรุ่นใหม่ออกวางตลาด ๆ เราเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เป็นเจ้าของไหม เรามี​ Email กี่ account มีกลุ่มไลน์ กลุ่ม messenger กี่กลุ่ม ฯลฯ 

นั่นไม่สำคัญเท่ากับเราได้ใช้เครื่องมือเหล่านั้น หรือกลุ่มสังคมเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือผู้เกี่ยวข้อง และธุรกิจมากน้อยเพียงใด 

แต่ละวันเราต้องมีค่าใช้จ่ายในการมีและใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น 

ผมจึงตั้งโจทย์การอยู่ในสังคมเสมือนจริงอย่างมีคุณค่าครับ โดยไม่มีและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เกิน “ความต้องการจำเป็น (need)” ครับ เพราะเราคงต้องอยู่ในสังคมเสมือนจริงแบบนี้ไปอีกนานครับ 

สำหรับแนวคิดในการมีและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ตามความต้องการจำเป็นและอย่างมีคุณค่านั้นผมเห็นเป็นดังนี้ครับ 

  1. เราควรมีเทคโนโลยีเหล่านี้เท่าที่จำเป็น และประโยชน์ใช้สอยจริง ๆ ไม่ใช่สนองความอยากของเรา 
  2. ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เท่าที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสารกันจริง ๆ ไม่ใช่ต้องส่งข้อมูลข่าวสารกันทุกวันดังที่เรามักพบเห็นกันอยู่ เช่น การส่งดอกไม้ หรือสวัสดีวันจันทร์ วันอังคาร ให้กันและกัน มากกว่าจะสื่อสารระหว่างกันและกันในเรื่องที่จะเป็นและก่อนประโยขน์ 
  3. ใช้สื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง ชีวิต สังคม และโลกครับ 
  4. สุดท้าย ผมอยากเห็นความสมดุลระหว่างสังคมใกล้ตัวกับสังคมเสมือนจริงครับ ทุกวันนี้ดูเหมือนเราจะให้เวลากับทุกคนในกลุ่มสังคมเสมือนจริงได้ แต่คนที่อยู่ใกล้ตัวก็ไม่ค่อยได้ใส่ใจกันครับ

นี่เป็นเพียงข้อสังเกตและนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ 

รักนะ 

สมาน อัศวภูมิ 

14 กรกฎาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 703938เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2022 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2022 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท