๙๗๔. ล่องแม่ปิง


ล่องแม่ปิง

"คนงามงามต้องงามคู่ความเด่นดี
ต้องฮักศักดิ์ศรีของกุลสตรีแม่ญ่าแม่ญิง
เยือกเย็นสดใส..เหมือนน้ำแม่ปิง
มั่นคงจริงใจ ฮักใครฮักจริง"
เป็นเนื้อเพลงที่คนสมัยก่อนที่เป็นลูกผู้หญิงถูกสอนมาจากผู้ใหญ่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย สอนลูก - หลาน ให้มีความรักนวลสงวนตัว ทำความดี มีกิริยามารยาท รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนช้อย น่ารัก ทำให้คนสมัยก่อนแตกต่างกับคนที่เป็นผู้หญิงในสมัยนี้ อาจด้วยสังคมเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น เรียกว่า “โลกเปลี่ยน” จึงทำให้เรื่องรายดี ๆ ของดี ๆ ในยุค ๆ หนึ่ง หายไปจากสังคมค่อนข้างมาก…ซึ่งในความจริง หากมนุษย์เราพิจารณาดูด้วยจิตที่เป็นธรรม เราจะเห็นสิ่งที่ดีงามและสิ่งที่เลวร้ายซ่อนอยู่ในสังคมนั้น ๆ ตามกาลเวลา สภาพการณ์ เหตุการณ์ต่าง ๆมากมาย ขึ้นอยู่กับที่มนุษย์ในแต่ละยุค แต่ละสมัยจะคิด วิเคราะห์ และพิจารณาด้วยตนเอง

ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัว มนุษย์แต่ละคนจะมีความคิด ในการที่จะคิด ทำ สอน ลูก - หลาน ให้เป็นแบบไหน เพราะนี่คือ สังคม…แค่มีความคิดว่า ในครั้งหนึ่งเมื่อในวัยเยาว์ ผู้เขียนถูกญาติผู้ใหญ่ พ่อ - แม่ ถูกสอนมาว่า ให้เป็นลูกผู้หญิงที่มีความงดงาม เยือกเย็นทางด้านจิตใจ กิริยา มารยาท มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ มีสัมมาคารวะต่อคนที่สูงวัย และต้องมีความเฉลียว ฉลาดด้วยสติปัญญาของตัวเองค่ะ…และมีความเข้าใจความรู้สึกของผู้ใหญ่ในสมัยนั้นว่าเพราะเหตุใดจึงต้องสอนลูก-หลานให้เป็นลักษณะที่ว่าข้างต้นนั้น เพราะนั่นคือ สิ่งที่ดีงาม งดงาม และสวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของคนไทยค่ะ…ขอบอกว่า “ชาติใด ๆ ก็ไม่เหมือนชาติไทยเราค่ะ” โดยเฉพาะการยิ้มแย้มแจ่มใสของคนไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของหญิงไทยค่ะ

คำร้อง/ทำนอง : จรัล มโนเพ็ชร

ดอกบัวตองนั้นบานอยู่บนยอดดอย
ดอกเอื้องสามปอย บ่เกยเบ่งบานบนลานพื้นดิน
ไม้ใหญ่ไพรสูง นกยูงมาอยู่กิน
เสียงซึงสะล้อ..จ๊อยซอเสียงพิณ
คู่กับแดนดินของเวียงเจียงใหม่
สาวเจ้าควรภูมิใจ บ่ลืมว่าเฮาลูกแม่ระมิงค์

* คนงามงามต้องงามคู่ความเด่นดี
ต้องฮักศักดิ์ศรีของกุลสตรีแม่ญ่าแม่ญิง
เยือกเย็นสดใส..เหมือนน้ำแม่ปิง
มั่นคงจริงใจ ฮักใครฮักจริง
สาวเอยสาวเวียงพิงค์…สาวเครือฟ้าเคยซมซาน
อีกแม่สาวบัวบาน..นั่นคือนิทานสอนใจ

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=RX3dzf5Onac

***************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาในบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท