มายาคติต่อสตรีคนพิการกับความรุนแรงในมิติอนามัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ผู้หญิงพิการ
ไม่ควรต้องสวย เพราะ.....
ไม่ควรต้องมีแฟน  เพราะ......
ไม่ควรต้องมีครอบครัว เพราะ.....
ไม่ควรต้องออกนอกบ้าน เดินทางไกลๆเพราะ.......
ไม่ควรต้องเล่นเฟส เล่นไลน์ เพราะ..........
ฯลฯ


ผู้หญิงพิการ
ควรต้องทำหมัน เพราะ.......
ควรอยู่กับพ่อแม่ ญาติพี่น้องไปตลอด เพราะ.......
ฯลฯ


ควร/ไม่ควร ใครเป็นคนกำหนด?
เสียงจากส่วนลึกของผู้หญิงพิการ เคยถามพวกเธอบ้างไหม?
เราเคยตั้งคำถามกับสิ่งที่สังคมบอกว่าใช่ มันเหมาะกับผู้หญิงพิการแบบนี้แล้วไหม? 

 


เขาก็คน เราก็คน
มีแต่การเรียนรู้ที่บกพร่อง และคนที่จิตใจพิการ ที่มองไม่เห็นคนพิการว่า เค้าก็คน
ยังมีการถูกคุกคามทางเพศ ล่วงละเมิด ทั้งคำพูดและการกระทำ จากคนแปลกหน้า รวมถึงคนใกล้ชิด
เสียงเงียบที่ยังถูกกลบมิด


เวทีวันนี้ ขอเปิดใจ
ด้วยความห่วงใย และนับถือในความกล้าหาญที่พวกเธอเปล่งประกายออกมา
ความรุนแรงในมิติอนามัยเจริญพันธุ์ต่อสตรีพิการ
อีกเรื่องสำคัญที่สังคมมองข้าม
ด้วยวิธีคิดแบบให้อำนาจผู้ชายนำ บวกกับมายาคติที่มีต่อคนพิการ
เราจึงแทบไม่เคยได้ยินหรือรู้สึกรู้สาว่า ผู้หญิงพิการก็มีประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาเฉพาะ
ที่นับวันเพิ่มมากขึ้น

 


ความรุนแรงในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ เป็นเรื่องที่มีที่มาที่ไป
เป็นวงจรที่มีความซับซ้อน ดูเหมือนเป็นปัญหาส่วนตัว แต่จริงๆก็เป็นปัญหาเชิงระบบ
ถ้าผู้ได้รับความรุนแรง ไม่ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา
ผู้ถูกกระทำก็อาจจะกลายเป็นผู้กระทำความรุนแรงกลับไป
เป็นการระบาดทางสังคมที่ไม่จบสิ้น


ทางโครงสร้าง ระบบ ก็ผลักดันกันไป
แต่เราจะเริ่มที่ตัวเองได้อย่างไร
เริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความรุนแรง

 
 

ฝึกมองปัญหาด้วย “สภาวะใหม่” 
-ด้วยความมีสติ สงบ เยือกเย็น
-วิเคราะห์เหตุการณ์ สร้างเข้าใจถึงเหตุ ปัจจัย แวดล้อม อย่างเป็นระบบ
-รักและเมตตา (Emphathy) ทุกฝ่าย ทั้งผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำ
-ทั้งตัวเอง ไม่ถูกอุดมการณ์ ความมุ่งมั่นที่อยากช่วย อยากแก้ไขนั้นกัดกิน 
-ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูตัวเอง สร้างสมดุลชีวิต ในฐานะผู้ดูแลตนเอง ดูแลคนพิการ ดูแลครอบครัว สังคมไปพร้อมกัน

 


ขอบคุณ และขอนับถือในคุณค่า ความเข้มแข็งจากภายในของสตรีพิการ รวมถึงผู้ดูแล 
ตลอดจน ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้มีส่วนค้ำจุนกันและกันทุกคน


#ความรุนแรงเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์
#ความรุนแรงต่อสตรีพิการ
#เวทีอบรมให้ความรู้สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในสตรีพิการและเด็กหญิงพิการ

หมายเลขบันทึก: 703059เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2022 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2022 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลักปรัชญามนุษยนิยม คือ ความเท่าเทียม

ชื่นชม ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท