เขียนผลงานเลื่อนระดับอย่างไร? ให้เข้าตากรรมการ


ทำผลงานเลื่อนระดับอย่างไรให้เข้าตากรรมการ

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 

เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปเป็นวิทยากร ร่วมกับน้องๆพยาบาลที่มีผลงาน สามารถยื่นขอกรอบตำแหน่งเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น 

รถไปถึงประมาณ 10.30 น แวะไปรับนายกสมาคมพยาบาลฯ ผ.ศ. ดร. เสาวมาศ เถื่อนนาดี เพื่อเข้าประชุมกรรมการสมาคมพยาบาลฯ

ตอนบ่ายแก่ๆประมาณ 15.00 น มาtest นำเสนอออนไลน์ โดยมี ดร.จงกลณึ เป็นผูนำสนทนา เย็นๆ 

เวลา 18.00 น พี่แป๋วและเจ็งมาพาทานอาหารเย็นและแวะกินเต้าฮวยน้ำขิง อร่อยมาก คุยกันสนุกสนาน กลับห้องพักที่โรงแรมสุนีย์ หลับสนิท ตื่นมาเช้ามาฝึกพูดให้สั้นกระชับ เพราะมีเวลาน้อยในการอภิปราย

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 

เช้า 7.00 แวะลงไปทานอาหารเช้า แล้วค่อยขึ้นมาอาบน้ำแต่งตัว ลงไปห้องประชุมประมาณ 08.30 น ฟังวิทยากรท่านอื่นๆบรรยาย จนถึงเที่ยง

ช่วงบ่ายเป็นคิวพวกเรา อภิปรายกัน เราพูดในนามกระทรวง อว แต่เราเน้นของพยาบาล รพ ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เลื่อนระดับ 

ตัวอย่างผลงานทางการพยาบาล

  •   วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติ (Practice Evaluation)
  •   วิเคราะห์และประเมินผลโปรแกรม (Program Evaluation) หรือแนวปฏิบัติ (CPGs)
  •   ผลงานการพัฒนาคุณภาพบริการในกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
  •  วิเคราะห์การประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบบริการ
  •  ผลงานการนำรูปแบบบริการใหม่ๆ ไปใช้เพื่อยกระดับผลลัพธ์ของบริการ
  •  เป็นโครงการที่ใช้ผลการวิจัยหรือหลักฐานเชิงประจักษ์(Research utilization / EBP)แสดงถึงประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้จัดทำในการปฏิบัติทางคลินิก กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ที่ลุ่มลึกในการมองปัญหาของการปฏิบัติ และแนวทางแก้ไข

Pitfall การจัดทำผลงาน

  • กำหนดชื่อผลงานไม่สอดคล้องกับขอบเขตของงานหลักที่ปฏิบัติ
  • ผลงานไม่ตรงตามมาตรฐานของตำแหน่งที่สูงขึ้น
  • ผลงานไม่แสดงถึงการพัฒนางานในหน้าที่
  • ไม่มีความรู้ ความชำนาญในงานที่ปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • ขาดทักษะการวางแผน การสืบค้นข้อมูล การคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร
  • ขาดทักษะการเขียน
  • มีอาการ Writer's block เป็นอาการเขียนไม่ออก กลัวเขียนไม่ดี กลัวคนอื่นวิจารณ์ วิจารณ์ตัวเองและตำหนิตัวเอง บางทีเขียนออกแต่เขียนไม่ดีตามความต้องการ
  • ผลงานเก็บย้อนหลัง ผลลัพธ์ไม่สมบูรณ์
  • ไม่มีการเผยแพร่ผลงานตามข้อกำหนด

 

Key success

  • ที่จริงไม่ใช่เรื่องยาก หากเรามุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง วางแผนทำงาน แล้วทำจริง นำเสนอ นำไปใช้ ก็ได้แล้วค่ะ
  • การพัฒนาหน่วยงาน หากหัวหน้าฯมีการมอบหมายงานอย่างเป็นระบบ มีการนิเทศ มีการ KM ทำผลงานตรงกับงานหลักที่ปฏิบัติ และนำงานในบทบาทหน้าที่ของพยาบาลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย ใช้แนวคิด หรือ กรอบทฤษฎีทางการพยาบาล มี nursing outcomes ชัดเจน ผ่านแน่นอนค่ะ
  • การทำผลงานให้สำเร็จขึ้นกับตัวผู้ทำผลงานเป็นอันดับแรก  ผู้บริหารสนับสนุนและนโยบายองค์กร

 

สำหรับพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข สามารถเลื่อนระดับเป็น ชนก ได้ทุกคน สำหรับ ชนพ พยาบาลสามารถขอกรอบตำแหน่งหากมีผลงาน ในตำแหน่ง ว 2 โดยเฉพาะกลุ่ม APN ที่อยู่ในหน่วยพัฒนางานวิจัย  ส่วนตำแหน่ง ชช เป็นตำแหน่งของ หัวหน้าพยาบาล 

แก้ว
 

ทีมวิทยากร

โปสเตอร์ เผยแพร่ ปชส มีผู้เข้าประชุมทั้งหมดเกือบ 900 คน

 



ความเห็น (4)

GAP ของน้องๆ ส่วนใหญ่…จะมอง Nursing ไม่ออก ทำงานจนเพลินจนเนียนเนื้อ ต้องย้ำกันบ่อยๆ ค่ะ ว่า…อะไรคือ Activity และ Process ของ Nurse ตลอดจน Outcome และ KPI ของ Nurse

ถ้าระดับ ชนพ และ ชช

เราควรใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล เพราะจะกล่าวหลักการนำโปรแกรมทางการพยาบาลมาใช้ ตามขั้นตอน และผลลัพธ์ที่เป็น Nursing outcome ชัดเจน สามารถหาถึง clinical outcome ก็ได้ ควรหาเครื่องมือที่มีพยาบาลสร้างไว้แล้ว เรามาหาแค่ reliabity ก็จะง่าย

ตัวอย่างผลงานทางการพยาบาล1. วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติ (Practice Evaluation)

  1. วิเคราะห์และประเมินผลโปรแกรม (Program Evaluation) หรือแนวปฏิบัติ (CPGs)

  2. ผลงานการพัฒนาคุณภาพบริการในกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง

  3. วิเคราะห์การประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบบริการ

  4. ผลงานการนำรูปแบบบริการใหม่ๆ ไปใช้เพื่อยกระดับผลลัพธ์ของบริการ

5 เป็นโครงการที่ใช้ผลการวิจัยหรือหลักฐานเชิงประจักษ์(Research utilization / EBP)แสดงถึงประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้จัดทำในการปฏิบัติทางคลินิก กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ที่ลุ่มลึกในการมองปัญหาของการปฏิบัติ และแนวทางแก้ไข

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท