การวัดและประเมินผลทางภาษา(11)


ยากจังเลยนะคะ ที่จะนำไปปฎิบัติ แต่ถ้าลองนำไปใช้ดู และเริ่มสิ่งละอันพันละน้อยก่อน กรุงโรมยังไม่ได้สร้างวันเดียวเลยค่ะ ลองดูนะคะ ส่งกำลังใจไปช่วยค่ะ
บันทึกที่แล้ว  ครูอ้อยได้เขียน ถึง การประเมินแนวใหม่  ที่ครูผู้สอนควรรู้  ไม่เพียงแต่ครูเท่านั้นที่ควรรู้  คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองของนักเรียนทุกท่านก็ควรรู้ไว้  เพื่อประโยชน์ของบุตรหลานของท่านด้วย  เรียนเชิญอ่านที่บันทึกนี้  การวัดและประเมินผลทางภาษา(10) เพื่อความเข้าใจต่อไป
เป้าหมายของการประเมินแนวใหม่นี้  ต้องการประเมินนักเรียนทางด้านการคิดสร้างสรรค์  การคิดอย่างไตร่ตรองรอบคอบ  การแก้ปัญหาและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ  การรู้จักใช้คำถามที่น่าสนใจและมีคุณค่า  ซึ่งครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  เพื่อนำมาปฏิบัติให้ถูกต้อง  ตรงตามประเด็นที่ต้องการและเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง
ครูอ้อยเขียนเรื่องนี้  ช่างน่าเบื่อนะคะ  ไม่น่าอ่านแบบบล็อกอื่นๆเลย
แต่ครูอ้อยก็ต้องเขียน..เพื่อประโยชน์หนึ่งรูปแบบของการเรียนรู้ค่ะ
การประเมินความสามารถรวบยอดสุดท้าย  เพื่อตรวจสอบเป้าหมายของการศึกษา  สำหรับการผ่านช่วงชั้น  การจบการศึกษาภาคบังคับ  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หรือการให้ประกาศนียบัตร  ผู้สอนจึงควรเลือกลักษณะการประเมินตามจุดมุ่งหมายต่างๆ  และนำมาใช้ให้สอดคล้อง  เหมาะสมกับกระบวนการเรียนการสอน  และกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย 
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  สำหรับแนวทางในการวัดและประเมินผล  ครูอ้อยนำเสนอ..ในสิ่งที่นิยมปฏิบัติ  ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1.  แบบทดสอบมาตรฐานวัดผลสัมฤทธิ์  มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
     1.1  มีตัวคำถามที่มีความยอดเยี่ยมในทางเทคนิค  ผ่านการตรวจสอบหาความเบี่ยงเบนโดยผู้เชี่ยวชาญ
     1.2  มีข้อมูลทางเทคนิคอยู่อย่างกว้างขวาง  มีการกำหนดเกณฑ์  ความตรง  และความเชื่อมั่น
     1.3  ประหยัดค่าใช้จ่าย 
     1.4  ให้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้ง่าย  แบบทดสอบแบบมาตรฐานจะมีแบบบันทึกที่แยกทำให้สำหรับชั้นเรียน  แบบรายงานสำหรับนักเรียนแต่ละคน  และรายงานสำหรับให้ผู้ปกครอง  รวมทั้งประโยชน์อื่นๆ  ที่จัดทำไว้โดยเฉพาะ  สำหรับใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียน  แต่ละคนกับคะแนนของกลุ่ม   นอกจากนั้นยังมีคะแนนที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญหรือไม่เชี่ยวชาญในทักษะหรือจุดประสงค์การเรียนเฉพาะ
      1.5  สะดวกในการจัดใช้และให้คะแนน 
      1.6  สามารถทำให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ใช้ได้ 
2.  การประเมินทางเลือก   มีลักษณะต่างๆกัน  ดังนี้
      2.1  การประเมินการปฏิบัติจริง  (Performance Assessment)  ในชั้นเรียน  เป็นการประเมินที่ต้องการให้นักเรียนได้แสดงความสามารถพิเศษที่เขารอบรู้และความสามารถที่สำคัญ  ด้วยการปฏิบัติหรือผลิตผลงานภายใต้บริบทที่ถูกจัดขึ้น  ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถโดยตรงตามเนื้อหาสาระของหลักสูตร  ประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถต่างๆ จากหลักสูตร  รูปแบบที่ใช้ในการประเมินมีหลายรูปแบบ  เช่น  การเขียนเรียงความ  การเขียนบทวิจารณ์  การเขียนคำประพันธ์หรือเรื่องสั้น  ซึ่งต้องการให้นักเรียนได้คิดสังเคราะห์  หรือนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้  การสอบปากเปล่า  การพูดต้อหน้าสาธารณชนตามโอกาสต่างๆ  การสาธิตการใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคต่างๆ  อย่างมีประสิทธิภาพ  การสร้างแบบจำลองต่างๆ  การเล่นดนตรี  การพัฒนาทักษะทางกีฬา  การพัฒนาแฟ้มผลงาน (Portfolio)  ที่เน้นสภาพแวดล้อมของการจัดการเรียนการสอน

   
         2.2  การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)  เป็นการประเมินที่ต้องการเน้นการประเมินทักษะการคิดแบบซับซ้อน ของนักเรียนในการทำงาน  ความพยายามในความร่วมมือกันแก้ปัญหา  การประเมินตนเอง  ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโลกของการทำงานจริงๆ  สะท้อนให้เห็นถึงสภาพงานปัจจุบันของนักเรียนและสิ่งที่นักเรียนสามารถปฏิบัติหรือทำได้จริง  เป็นการนำนักเรียนไปผูกติดกับภาระงานในชีวิตจริง  ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีแรงกระตุ้น  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน  มีการถ่ายโยงความรู้อย่างมีความหมาย  ต้องอยู่ในบริบทของความเป็นจริง 
ดังนั้น  การประเมินตามสภาพจริงจึงต้องมีการกำหนดให้นักเรียนมีเวลาอย่างเพียฃพอต่อการวางแผน  การลงมือทำงานเพื่อให้ได้ผลงานสำเร็จสมบูรณ์  ได้ประเมินผลการทำงานด้วยตนเอง  ได้ปรึกษาหารือร่วมกับนักเรียนด้วยกัน  เช่น  การประเมินโครงงาน
        2.3   แฟ้มผลงาน (Portfolio)  คือการรวบรวมผลงานหรือชิ้นงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยมุ่งแสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงาน  ความพยายาม  ความรู้  ความสามารถ  ความก้าวหน้า  จุดแข็งจุดอ่อน  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และความสำเร็จตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  ภายในขอบเขตที่กำหนดให้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  การเก็บรวบรวมผลงานดังกล่าว  จะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดเลือกเนื้อหา  กำหนดแนวทางในการคัดเลือกผลงาน  กำหนดเกณฑ์ในการตัดสิน  และมีลหักฐานสะท้อนตนเองของนักเรียนและเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ
ยากจังเลยนะคะ  ที่จะนำไปปฎิบัติ  แต่ถ้าลองนำไปใช้ดู  และเริ่มสิ่งละอันพันละน้อยก่อน   กรุงโรมยังไม่ได้สร้างวันเดียวเลยค่ะ  ลองดูนะคะ  ส่งกำลังใจไปช่วยค่ะ
ยังมีต่ออีก  ในเรื่อง  ของแบบประเมินที่ครูทุกท่านพึงปรารถนาค่ะ  รอบันทึกต่อไปค่ะ...ขอบคุณ...สวัสดีปีใหม่ค่ะ
หมายเลขบันทึก: 70280เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท