Teacher Academy


 

ในวง online PLC coaching ครั้งที่ ๔ (ครั้งสุดท้าย) เมื่อเช้าวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๖๕๖   ท่าน ผอ. สุจินต์ คำหล้า แห่งโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เสนอให้มีการส่งเสริมให้เกิด teacher academy   โดยท่านมองว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏในจังหวัดจะช่วยจัดได้   

ผมรีบสนับสนุนไอเดียนี้    โดยเสนอว่า ควรเป็น teacher academy ที่ดำเนินการโดยครู (by teachers),  เป็นของครู (of teachers), เพื่อผลประโยชน์ของศิษย์ (for students)    และ กสศ. ควรรวบรวมภาคี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน) เข้าไปสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายของ teacher academies   เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการทำหน้าที่ครูที่ก่อผลดีต่อศิษย์   และส่งเสริมการสร้าง innovative learning platform ขึ้นมาใช้อย่างกว้างขวาง   

เป็น teacher academy ที่เป็นกลไกให้ครูได้แสดงพลังเรียนรู้และสร้างสรรค์   มีการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากฝีมือครู   

มีผู้ใหญ่หลายท่านสนับสนุนแนวคิดนี้   ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่บอกว่า ท่านเคยไปดูงาน Singapore Teacher Academy  เขาก็ทำอย่างที่ผมเสนอ   จะเห็นว่า เขามีหลาย teacher academies  รวมตัวกันเป็นหนึ่ง Singapore Academy of Teachers   

ข้อที่ต้องย้ำคือ ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือครูต้องไม่เข้าไปจัดการให้  ต้องให้ครูริเริ่ม และจัดการการรวมตัวกันเอง    ฝ่ายที่มีทรัพยากร มีอำนาจ เข้าไป empower   ไม่ใช่เข้าไป organize ซึ่งจะกลายเป็น control    และเป็นการทำลายโอกาสริเริ่มสร้างสรรค์ของครูด้วยตัวครูเอง (ความเป็น agency ของครู)    

วิจารณ์ พานิช

๒๙ มี.ค. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 702452เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2022 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2022 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Autonomy usually comes with self-sufficiency. Funding issues involve some forms of control. So financial/revenue support is very important even as a not-for profit.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท