โรงเรียนวันครู (2504) อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์


อาคารเก่าหลังแรกเมื่อครั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาค ของครูประชาบาลทั่วประเทศ ในวันครู 2504 เงินบริจาคสร้างได้ส่วนหนึ่ง ส่วนที่ขาด ได้จากการร่วมกันบริจาคของชาวบ้าน ครู นายอำเภอ ผู้นำชุมชน และการลงแรงลงมือของประชาชน เลื่อยไม้ สร้างกันเองด้วยแรงงาน เพื่อมีโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น สำหรับจัดการศึกษาให้กับลูกหลานจากหลายชุมชน ชุมชนบ้านห้วยถั่ว บ้านตาลิน บ้านรังย้อย บ้านเตาอิฐ บ้านป่ารัง บ้านเหนือ วัดกลาง บ้านใต้

ก่อนหน้านั้น โรงเรียนสำหรับเรียนหนังสือของเด็กๆลุกหลานบ้านห้วยถั่ว จะอยู่ที่ศาลาวัดของวัดบ้านใต้ นักเรียนรุ่นแรกๆ ที่ไปเรียนหนังสือที่ศาลาวัดบ้านใต้ ก็เช่น แม่บุญมา คำศรีจันทร์ แม่สงกา เสียงสวัสดิ์ แม่สุดใจ สุขนาม แม่สุดใจ เกษาแสง เหลานี้เป็นต้น

ครูในยุคแรกๆ ก็คือ ครูพ่อใหญ่เรือง พินสีดา ครูมหาเสริญ บ้านป่ารัง ครูกิตติ เกตุยา สอนทั้งบ้านเหนือ วัดกลางสว่างอารมณ์ และวัดบ้านใต้

ภาพอาคารของโรงเรียนหลังแรกและบรรยากาศของโรงเรียน เชื่อว่าจะทำให้ครู นักเรียน ศิษย์เก่า ชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่ ญาติพี่น้อง ได้มีโอกาสย้อนรำลึกถึงหลายสิ่งอย่างของชีวิต ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลเรื่องราวต่างๆกัน รวมทั้งได้เป็นโอกาสน้อมรำลึกถึงคุณครู ครูอุปัชฌาจารย์ หลวงพ่ออ๋อย หลวงพ่อศิลา บุพการี บุพชน และผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาเพื่ออนุชนอีกเป้นจำนวนมาก

ในภาพ มีจักรยานของคุณครูทองหล่อ บุญเกิด บ้านเตาอิฐ และม้าของคุณครูมหาเสริญ ครูคนเดียวของโรงเรียนบ้านป่ารัง ที่บางครั้งก็จะถีบรถเวียนสอนตามศาลาวัดและตามโรงเรียนต่างๆ และบางครั้งก็จะขี่ม้า

มีควายของพ่อใหญ่ไหล บ้านเตาอิฐ พ่อใหญ่อิ้มบ้านรังย้อย ทำนาอยู่ติดกับโรงเรียน ขายที่ส่วนหนึ่งด้วยราคาถูกเพื่อช่วยกันสร้างโรงเรียนและวัดใหม่นิกร ประทุมรักษ์

คุณครูจะถือไม้เรียวอยู่ในมือแทบทุกคน เมื่อเข้าแถว บางวันก็จะมีการตรวจเล็บ ตรวจเหา ตรวจหิด ขี้กราก ชันตุ ! แทบจะไม่มีการตรวจเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเลย เพราะยุคแรกๆนั้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่แทบจะไม่มีเสื้อผ้านุ่ง ชุดนักเรียนส่วนใหญ่จะใช้ส่งต่อกันหลายรุ่น ขาดวิ่น ต้องใช้นุ่งเลี้ยงควายก่อนและหลังเลิกเรียนด้วย ผู้มีเสื้อผ้าดีๆสวมใส่ครบจะเป็นคนส่วนน้อย จึงไม่ต้องตรวจเครื่องแต่งกาย !

หมายเลขบันทึก: 702273เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2022 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2022 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท