การสังเคราะห์แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาประเทศต่าง ๆ


แม้ว่าเป้าหมายสุดท้ายของ การปฏิรูปอุดมศึกษาของทุกประเทศก็คือการทําให้อุดมศึกษามีความเข้มแข็ง มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และสามารถเป็นที่พึ่งของสังคมได้ต่อไป การปฏิรูปอุดมศึกษาของไทย คงไม่สามารถยึดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของนานาประเทศที่ประสบความสําเร็จในการ ปฏิรูปอุดมศึกษาได้ เนื่องจากสังคมไทยมีรูปแบบวัฒนธรรม ค่านิยม และบริบทที่แตกต่างจากสังคมอื่น

การสังเคราะห์แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาประเทศต่าง ๆ           

จากการศึกษาวิจัยเอกสารการปฏิรูปอุดมศึกษาในประเทศต่าง ๆ ซึ่ง ประกอบไปด้วย ประเทศสิงคโปร์
ประเทศมาเลเซีย ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซี แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ อาจสรุปเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกับการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยได้ดังนี้

1. รูปแบบและภารกิจของอุดมศึกษา
            1.1 รูปแบบ/ประเภทสถาบันอุดมศึกษา

 

            รูปแบบใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาในหลายประเทศ ไม่จำกัดเพียงรูปแบบการศึกษาแบบปกติ ในรูปของมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยเท่านั้น แต่มีรูปแบบที่หลากหลายและเปิดกว้าง สอดคล้องกับความต้องการของคนในสังคม เช่น ระบบการเรียนใหม่ที่เน้นการประสานระบบการศึกษากับการทํางาน (work study program) ในประเทศอังกฤษ ให้ความสำคัญการฝึกอบรมและเพิ่มทักษะการทำงานแก่ผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว เป็นการศึกษาระบบเปิดที่เน้นการเรียนที่สอดคล้องกับระบบการทำงาน

             ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีความหลากหลายในการจัดรูปแบบสถาบันอุดมศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบ ปกติ ระบบทางไกล ระบบนอกเวลาเรียน (เรียนเสาร์-อาทิตย์

หรือเรียนตอนเย็น) และมีความร่วมมือกับต่างประเทศในการจัดการศึกษาอีกหลายลักษณะ

 

โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์มีสถาบันที่เรียกว่า “Institute of Technical Education” เพื่อจัดการศึกษาและฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่มีงานทําแล้ว โดยมีโปรแกรมการเรียนที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสนใจและศักยภาพของตนเอง

             ประเทศมาเลเซีย ให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษายืดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบได้ เพื่อเพิ่มโอกาสอย่างกว้างขวางให้กับประชาชนในวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงาน และยังให้วิทยาลัยเอกชนในประเทศให้

ประกาศนียบัตรและอนุปริญญาได้ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรทางไกล เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่เปิดโอกาศให้จูเนียร์คอลเลจเปิดสอนถึง หลักสูตรปริญญา มีการปฏิรูปวิทยาลัยเทคนิคโดยขยายสาขา วิชาเพิ่มมากขึ้น

 

            สําหรับประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เน้นความต่อเนื่องของการ ศึกษาในแต่ละระดับ โดยเฉพาะมีการเชื่อมโยงการศึกษาเทคโนโลยี อาชีวศึกษา และ การศึกษาต่อเนื่องเข้ากับระบบของมหาวิทยาลัย มีการรับรองวิทยะฐานะให้กับคนที่ทํางานและมีประสบการณ์ สามารถเทียบชั้นเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้

             นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ยังมีความร่วมมือกันในการจัดการศึกษาในหลายรูปแบบ เช่น ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในมาเลเซียกับ ต่างประเทศ ในลักษณะ Split Degree Arrangement และ Entire Degree Arrangement ความร่วมมือระหว่างประเทศสิงคโปร์กับมหาวิทยาลัยเปิดของประเทศอังกฤษ โดยผู้เรียน ไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นการเรียนในระบบการเรียนแบบปกติ แต่นําเอาระบบการเรียนการ สอนแบบมัลติมีเดียมาใช้ เป็นการเรียนด้วยตนเอง และยังได้รับปริญญาจาก มหาวิทยาลัยเปิดในประเทศอังกฤษ  

            1.2 พันธกิจและภารกิจของอุดมศึกษา (Mission and Function)

 

            พันธกิจและภารกิจของอุดมศึกษา คือ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการสังคมทั้งต่อตัวบุคคลและสังคม ตลอดจนการทำนุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศต่าง ๆ อาจให้ความสําคัญหรือมุ่งเน้นในพันธกิจที่แตกต่างกันไป เช่น

          ประเทศสิงคโปร์ ให้ความสําคัญกับการศึกษาระดับที่สาม หรือการศึกษาระดับเทคนิค ที่เน้นคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายในประเทศ และระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

             นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาประเทศ โดยมีนักวิจัยและอาจารย์จํานวนมากกว่า 2,600 คน ร่วมมือในการวิจัยกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ

รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนจํานวนมาก ตลอดจนมีโครงการที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ให้คําปรึกษาแก่ ภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 1,180 โครงการ ในปี ค.ศ. 1997 โดยงานวิจยและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มุ่งเน้นไปในด้านพาณิชย์

 

            สําหรับประเทศมาเลเซีย มีจุดมุ่งหมายให้จัดอุดมศึกษาเป็นอุตสาหกรรมด้วย และถือเป็นแหล่งรายได้ของการส่งออกอย่างหนึ่ง มีการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนชาวต่างประเทศเข้ามาศึกษาต่อในประเทศมาเลเซียอย่างกว้างขวางร่วมมือกับภาคเอกชนและบุคคลภายนอก ตลอดจนมีการจัดการในเชิงธุรกิจ โดยเปิดสอนโปรแกรมการศึกษาที่หลากหลาย สร้างหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานได้มีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น และให้ความสําคัญกับการศึกษาวิจัย มีอุทยานวิจัย (Research Park) โดยร่วมมือกับบุคลภายนอกและ บริษัทต่าง ๆ มีการจัดตั้งบริษัทในสถานที่ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีศูนย์ คอมพิวเตอร์ ศูนย์ธุรกิจมหาวิทยาลัย ให้คําปรึกษาแก่บริษัทต่าง ๆ หรือร่วมลงทุนกับ บริษัทต่าง ๆ เป็นต้น

 

            ประเทศอังกฤษ ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและสถาบันการศึกษาขนาดเล็ก และขนาดกลาง ทั้งของรัฐและเอกชน แต่เน้นคุณภาพการเรียนการสอนให้สามารถเทียบกับการศึกษาในระดับสูงหรือระดับมหาวิทยาลัย และให้ใช้ในการทํางานได้ จดุเด่นอย่างหนึ่งของอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ คือ การดึงบริษัทเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตด้วย เป็นการผสมผสานระหว่างงานกับการเรียนหรือที่เรียกว่าเป็นสูตรการเรียนและการทํางานให้การทำงานใช้ประโยชน์ในการเทียบเพื่อการเรียนต่อได้ด้วย

 

            พันธกิจหลักของอุดมศึกษาประเทศออสเตรเลีย คือการผลักดันให้การอุดมศึกษามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและตอบสนองได้โดยตรงต่อความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาและธุรกิจอุตสาหกรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเน้นในเรื่องของการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นธรรม

 

            สําหรับประเทศนิวซีแลนด์ มีเป้าหมายการปฏิรูปไม่แตกต่างจากออสเตรเลียมากนัก คือจะเน้นการสร้างความเป็นธรรมและการขยายโอกาสทางการศึกษา ตลอดจน การปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน การวิจัย และระบบข้อมูลข่าวสาร

 

            ทั้งประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ เสนอแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาในรูปของเอกสารที่เรียกว่า “Green Paper” และ “White Paper” โดยมีผลบังคับใช้ในปีการศึกษา 1999 เป็นต้นไป

             สถาบันอุดมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นมีความหลากหลายมาก จึงได้พยายามหาความชัดเจนระหว่างบัณฑิตศึกษาประเภทต่าง ๆ โดยการปรับปรุงการศึกษาระดับนี้ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่เน้นการฝึกฝนอย่างเข้มข้นและใช้ระยะเวลานาน เกินไปอย่างเช่นในอดีต มีการให้ทุนการศึกษาและการวิจัยเพิ่มขึ้นแก่นักศึกษา รับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนระดับนี้มากขึ้น และจัดการศึกษาต่อเนื่องระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดสรรงบประมาณถึงร้อยละ 3.0 ของ GDP เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิศวกรรมศาสตร์   

2. การบริหารจัดการอุดมศึกษา
    2.1 การระดมทรัพยากรเพื่ออุดมศึกษา

 

การอุดมศึกษาของประเทศสิงคโปร์ มี Higher Education Division ที่รับผิดชอบด้านงบประมาณและการใช้จ่าย การพัฒนา และติดตามความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาต่าง ๆ คือ โดยมีฝ่ายการเงินและการบริหาร รับผิดชอบเรื่องเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียน สนับสนุนเรื่องเงินก่อตั้งมหาวิทยาลัย กองทุนพัฒนามหาวิทยาลัย เงินสนับสนุน ต่อหัวนักศึกษา เป็นต้น ซึ่งเงินสนับสนุนเหล่านี้จะช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และช่วยในการพยุงซึ่งค่าเล่าเรียนให้คงอยู่ในระดับที่ผู้เรียนสามารถจ่ายได้ นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนทุนการศึกษาค่าเล่าเรียน  ประเทศสิงคโปร์ยังมีแผนยุทธศาสตร์ที่ก่อให้เกิดความเป็นหุ้นส่วน ระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ สําหรับการร่วมมือทาง การวิจัย ตลอดจนกระตุ้นคณาจารย์และนักศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ

 สําหรับประเทศมาเลเซีย ผลจากการปฏิรูปการศึกษาทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารจัดการ (governance) เช่น เปลี่ยนสภามหาวิทยาลัย (council) เป็น Board of Directors โดยเพิ่มจํานวนกรรมการที่มาจากภาคเอกชน และการบริหาร จัดการเน้นธุรกิจมากขึ้น ร่วมมือกับภาคเอกชนและบุคคลภายนอกเพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัย ของรัฐมีการแข่งขันในการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้รับเงินจากค่าลงทะเบียนเพิ่มขึ้น

 

          ประเทศมาเลเซียยังมีพระราชบัญญัติคณะกรรมการกองทุนอุดมศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 1997 เพื่อก่อตั้งกองทุนเงินยืมทางการศึกษา ช่วยเหลือให้ประชาชนมีโอกาสศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศและยังมีโครงการเงินออม เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเริ่มออมเงินตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และสามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาโดยไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน

 

ประเทศญี่ปุ่น จัดสรรเงินให้แก่อุดมศึกษาในสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับอัตราการเรียนต่อที่สูงขึ้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงแก้ปัญหาด้วยการจัดให้มีเงินทุนการศึกษาและเงินกู้เพื่อการศึกษาแบบไม่มีดอกเบี้ย สําหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเอกชน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 และให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้ยืมระยะยาวแบบดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการให้เงินอุดหนุนการวิจัยและให้สถาบันอุดมศึกษาค้นคว้าวิจัยโดย ร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น (Local Allocation Tax)  เพื่อนํามาใช้บริหารงานต่าง ๆ ซึ่งท้องถิ่นจะนํามาใช้เพื่อพัฒนาการ ศึกษามากกว่าด้านอื่น ๆ

 

ประเทศอังกฤษ มียุทธศาสตร์ในการปฏิรูปค่อนข้างชัดเจน สําหรับมาตร การทางด้านการเงินของรัฐ (public finance) นั้น ได้มีการส่งเสริมและกําหนดทิศทางของการอุดมศึกษา กรอบงบประมาณสนับสนุนอุดมศึกษา และการลงทุนด้านระบบสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งการบริหารการเงินแบบอังกฤษนั้น จะให้เป็นเงินก้อน มีการกํากับและติดตามน้อยลง แต่จะเน้นประสิทธิภาพและคุณภาพของการดําเนินงาน (performance based funding) และยังดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การฝึกงาน การใช้เป็นสถานที่ฝึกงาน เป็นต้น

 

สําหรับค่าใช้จ่ายในการศึกษาของประเทศอังกฤษนั้น จะเก็บจากผู้เรียนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมด แต่จะไม่ให้กระทบต่อผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนสามารถขอรับการสนับสนุนในรูปของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และเมื่อจบการศึกษาไป สามารถจ่ายคืนได้ในอัตราตามความสามารถของการหารายได้

 สําหรับประเทศออสเตรเลียนั้น การจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายให้กับ มหาวิทยาลัยในประเทศซึ่งมีจํานวนมาก จะมีลักษณะเป็นเพียงสัญญาทางธุรกิจ ซึ่งจะต้องดําเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด กล่าวคือมหาวิทยาลัยจะต้องผลิตบัณฑิตตามจํานวนที่กำหนดให้มีคุณภาพตามสาขาที่กําหนด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินก้อนหนึ่งที่รัฐบาลจัดสรรให้ นอกจากนี้ในแถลงการณ์จาก White  Paper ยังระบุว่า ให้สถาบัน

อุดมศึกษามีอํานาจในการควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และลดการแทรกแซงจากรัฐบาล ในการจัดสรรเงินทุน สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเรื่องลําดับความสําคัญของโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และสัมฤทธิผลในการดำเนินงาน อย่างไรก็ดีได้มีการยกเลิกสำนักงานการอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่เคยเป็นหน่วยงานประสานระหว่างมหาวิทยาลัยกับรัฐบาลกลาง แต่ให้สถาบันต่าง ๆ เจรจาต่อรองโดยตรงกับรัฐบาลในเรื่องเงินทุนสนับสนุน โดยผ่าน กระบวนการวิเคราะห์สถานภาพภาระการรับนักศึกษา (Education Profiles)

 

ในส่วนของประเทศนิวซีแลนด์ การจัดสรรงบประมาณทั้งในด้านการบริหาร การจัดการเรียนการสอนและการวิจัย จะพิจารณาจากจำนวนนักศึกษาที่เรียนเต็มเวลาหรือเทียบเท่า โดยรัฐได้นำระบบเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียนอุดมศึกษาทั้งระบบที่เรียกว่า Universal Tertiary Tuition Allowance มาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ซึ่งส่งผลให้นักศึกษานิวซีแลนด์ทุกคนที่เขาศึกษาในหลักสตรที่ได้รับอนุมัติ สามารถได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาล สามารถได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาลโดยทั่วกัน แต่มีข้อแม้ว่า สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องปรับปรุงการบริหารจัดการให้เป็นแบบเอกชน ปรับปรุงคุณภาพวิชาการให้ได้มาตรฐาน และให้ข้อมูลโดยเปิดเผยต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 สําหรับการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่สถาบันอุดมศึกษา จะใช้จํานวนนักศึกษาที่ทะเบียนจริงเป็นตัวกําหนด เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จแก่สถาบันที่ประสบความสําเร็จในการดึงดูดนักศึกษา นอกจากนี้นักศึกษาในสถาบันเอกชนยังได้รับเงินอุดหนุนตาม ระเบียบและเงื่อนไขเดียวกับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ   

    2.2 โครงสร้างการบริหารอุดมศึกษา

 

การกํากับดูแลสถาบันอุดมศึกษาประเภทต่าง ๆ ของประเทศสิงคโปร์จะมี Higher Education Division ซึ่งจําแนกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเงินและการบริหาร รับผิดชอบด้านงบประมาณและการใช้จ่าย การพัฒนาและติดตามความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียน ฝ่ายการศึกษาระดับเทคนิค ดูแลด้าน นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาระดับโพลีเทคนิคและเทคนิค ประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกและภายในเกี่ยวกับทางด้านเทคนิคศึกษา และฝ่ายมหาวิทยาลัย ทําหน้าที่ ประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกและภายในเกี่ยวกับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย

 

            อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์จะมีบทบาท เพียงเป็นผู้ประสานงาน ให้ทุนอุดหนุนเท่านั้น สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับอิสระในการปกครองตนเอง มีคณะกรรมการบริหารของสถาบันของตนเอง มีพระราชบัญญัติของตนเอง สําหรับโครงสร้างการบริหารและการจัดการของมหาวิทยาลัยและโพลีเทคนิคจะ ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยมีสภามหาวิทยาลัย (Council) ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีของประเทศสิงคโปร์ สภามหาวิทยาลัยนี้จะประกอบไปด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหรือผู้อํานวยการสถาบันโพลีเทคนิค และผู้แทนจากฝ่ายบริหาร คณาจารย์ของ มหาวิทยาลัย/สถาบัน ผู้แทนจากรัฐบาล และผู้แทนจากภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีสภาวิชาการ (Senate หรือ Academic Board) ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลและกำหนดทิศทางของการเปิดโปรแกรมการศึกษา การวิจัยและการสอบไล่ และยังมีอํานาจในการให้ปริญญาบัตร อนุปริญญา และประกาศนียบัตรได้เอง สถาบันอุดมศึกษาสามารถดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้เอง ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกและรับนักศึกษา พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอน การจัดการเกี่ยวกับด้านการเงิน ภายใต้นโยบายที่กำหนดโดยรัฐ

 

            ประเทศมาเลเซีย มีโครงสร้างในการบริหารคล้ายคลึงกับประเทศสิงคโปร์คือ มีกระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบดูแลการศึกษาทุกระดับ แต่มีบทบาทไม่มากนัก จะเน้นทางด้านนโยบาย ด้านการจัดการและการเงิน โดยในส่วนของการอุดมศึกษาจะมี Higher Education Department ดูแลทางด้านการเงิน การบริหารจัดการและการวางนโยบายอุดมศึกษา ประสานงานการสมัครเข้าศึกษาในอุดมศึกษาของรัฐ ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาจะมีอิสระโดยตรง มีคณะกรรมการบริหาร ได้แก่ Council ทําหน้าที่เกี่ยวกับการออกกฎ ระเบียบ การบริหารบุคคล สาธารณูปโภค ส่วน Senate จะดูแลในเรื่องวิชาการ เช่น การควบคุมและทิศทางการเปิดโปรแกรมการเรียน การสอน การวิจัย การสอบ การให้ปริญญา เป็นต้น

             ประเทศญี่ปุ่น ระบบบริหารการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนจังหวัด และส่วนท้องถิ่น โดยมีกระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬาและการวัฒนธรรม รับผิดชอบในส่วนกลาง เช่น กําหนดหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา อนุมัติ ตําราเรียน (ไม่ได้แต่งตําราเรียน) อนุมัติการจัดตั้งวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ตลอดจนให้คําแนะนำและจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการศึกษาแก่จังหวัดและเทศบาล ในส่วนของการบริหารและการจัดการอุดมศึกษานั้น จะมีหน่วยงาน 3 ประเภท คือ รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และนิติบุคคล ที่สามารถจัดตั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและวิทยาลัยเทคนิคได้ 

            การบริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ ให้เสรีภาพในการดําเนินการแก่สถาบันอุดมศึกษาสูง มีคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายต่างๆ และมี vice chancellor ทําหน้าที่ทางการบริหาร ซึ่งปลอดจากผลกระทบทางการ เมือง การให้หรือตัดงบประมาณการดําเนินงานจะต้องอธิบายแก่สาธารณะได้

 

            การปฏิรูปอุดมศึกษาของออสูเตรเลียช่วงที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างการบริหารอุดมศึกษาอย่างขนานใหญ่ กล่าวคือ มีการถ่ายโอนอำนาจการบริหารมหาวิทยาลัยจากรัฐบาลกลางไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากขึ้น เพิ่มอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบแก่คณบดีและหัวหน้าภาควิชา เพิ่มความแข็งแกร่งและบทบาทของสํานักงานอธิการบดี และบทบาทของรองอธิการบดี มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากร ในตําแหน่งผู้บริหารระดับสูงในระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากขึ้น ตลอดจนลดขนาด ของสภามหาวิทยาลัย โดยให้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ และมีตัวแทนนักศึกษาและ คณาจารย์ด้วย ในขณะเดียวกันมีการพัฒนารูปแบบการบริหารไปในแบบธุรกิจเอกชนมากขึ้น แนวโน้มที่สําคัญอย่างหนึ่งของการอุดมศึกษาออสเตรเลีย คือ การก้าวไปสู่ ระบบมหาวิทยาลัยมวลชนมากขึ้น

             สําหรับประเทศนิวซีแลนด์ แม้จะมีการปฏิรูปการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา แต่จํานวนมหาวิทยาลัยก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเพียง 7 แห่ง และยังคงรูปแบบวิทยาลัยทคนิค  วิทยาครู   มีวิทยาลัยเทคนิคอยู่จํานวน 25 แห่ง วิทยาลัยครู 4 แห่ง วิทยาลัยของชนกลุ่มน้อย 3 แห่ง และสถานฝึกอบรมทั้งของรัฐและเอกชน 700 กว่าแห่ง อย่างไรก็ตามคาดว่าสถาบันอุดมศึกษาของนิวซีแลนด์ มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้เป็นแบบเอกชนมากขึ้น เช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลีย  

3.  การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา

     3.1 คุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา

 

ประเทศสิงคโปร์ มีการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นศูนย์การศึกษาที่มีคุณภาพ มีการทบทวนโครงสร้างวิชาการ เพื่อเอื้ออํานวยต่อการสอน และการวิจัยข้ามคณะ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศต่าง ๆ เพื่อให้คําแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับทิศทางและ กลยุทธ์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยในอนาคต และได้มีการนําหลักสูตรร่วม (core curriculum) มาใช้ในการขยายและปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี มีการนําเทคโนโลยีข่าวสารมาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโครงการ The  Talent  Development  Programme สําหรับนักศึกษาที่มีความสามารถสูง โดยมีความเชื่อว่า นักศึกษาที่เก่งควรจะได้รับการกระตุ้น ได้รับคําปรึกษา ฝึกอบรมที่ดีที่สุด เพื่อเตรียมให้มีบทบาทผู้นําในอนาคต

 

            ประเทศมาเลเซีย จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการ รับรองวิทยฐานะแห่งชาติ ค.ศ. 1996 ก่อให้เกิดองค์กรควบคุมคุณภาพ และรับรองวิทยฐานะของโปรแกรมและวิชาที่จัดสอน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าวิชาที่สอนในสถาบันอุดมศึกษาจะมีคุณภาพอย่างแท้จริง โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สําหรับในระดับสถาบัน จะมีคณะกรรมการบริหารที่เรียกว่า Senate ดูแลทิศทางการเปิดสอนโปรแกรมวิชาการสาขาต่าง ๆ งานวิจัย การสอบไล่และการให้ปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตร

 
หมายเลขบันทึก: 70059เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท