วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน : ความก้าวหน้าการเขียนหนังสือ


ข้อทดสอบจึงน่าจะมี สัดส่วนเป็นการวัด ความรู้ความจำ : ความเข้าใจ :การนำไปใช้ : การวิเคราะห์ : การสังเคราะห์ และ : การประเมิน = 40 : 20 : 15 : 10 : 10 : 5

        วันนี้ตอนบ่ายโมงครึ่ง เลขานุการโครงการฯ ดร. ฤทธิไกร ไชยนาม ได้เชิญผู้ร่วมโครงการวิจัย การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน แบบบูรณาการทรัพยากร สำหรับนิสิตกลุ่มใหญ่ เพื่อแจ้งเรื่อง และ ติดตามความก้าวหน้าของการเขียนหนังสือประกอบบทเรียนในวิชานี้ ซึ่งแบ่งเป็น 6 บทประกอบด้วย

         บทที่ 1 ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์
         บทที่  2 เรียนรู้ตลอดชีวิต
         บทที่ 4  กินเป็นอยู่เป็น
         บทที่ 5  พลังงานกับการดำรงชีวิต
         บทที่ 6  ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       เรื่องที่นำมาแจ้งให้ทราบที่สำคัญประเด็นหนึ่งก็คือ การที่โครงการวิจัยฯ ทุกโครงการต้องประสานกับหน่วย CARD ในการดำเนินการจัดทำสื่อ e-learning ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน
       หลังจากการกำหนด ระยะเวลาการทำงาน เพื่อให้หนังสือเสร็จทันใช้จริงในภาคเรียนที่ 2/2550 แล้ว ก็ได้ปรึกษาตกลงกรอบ การเขียนเนื้อหาในแต่ละบท   กรอบการออกข้อทดสอบ และ อื่น ๆ
       สำหรับร่างหัวข้อเนื้อหาของแต่ละบท จะนำมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง ในการประชุมครั้งต่อไป (กำหนดไว้ วันพุธที่ 17 มกราคม 2550)
       ที่ประชุมตกลงกันว่า เนื่องจากเป็นวิชาศึกษาทั่วไป พื้นฐาน ข้อทดสอบจึงน่าจะมี สัดส่วนเป็นการวัด  ความรู้ความจำ : ความเข้าใจ  :การนำไปใช้ : การวิเคราะห์ : การสังเคราะห์ และ : การประเมิน = 40 : 20 : 15 : 10 : 10 : 5
        ท่านมีความคิดเห็นในสัดส่วนนี้อย่างไรบ้างครับ ?
              (ข้อทดสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก)

 

 

        

หมายเลขบันทึก: 69940เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอแสดงความชื่นชม กับโครงการวิจัยการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน แบบบูรณาการทรัพยากร    เป็นแนวคิดที่ทุกคนควรได้เรียนรู้  ผมคิดว่าวิทยาศาสตร์กับทรัพยากรกับชีวิตประจำวัน ถ้าทุกคนเข้าใจ  เข้าถึง และบูรณาการได้ ทั้งวิทยาศาสตร์ ทรัพยากร  และผู้คนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

  • ก็ถือเป็นแนวคิดที่เยี่ยมครับ แต่การออกข้อสอบในการวัดผลเพื่อให้ได้สัดส่วนของ ความรู้ความจำ : ความเข้าใจ  :การนำไปใช้ : การวิเคราะห์ : การสังเคราะห์ และ : การประเมิน = 40 : 20 : 15 : 10 : 10 : 5
     นั้นจำเป็นหรือไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลมาประเมินถึงคุณภาพของข้อสอบอีกครั้ง เพื่อให้เป็นอย่างข้อตกลง
  • สวัสดีปี 2550 ล่วงหน้านะครับ ท่านอาจารย์อรรณพ .. ด้วยความเคารพ
  • เพิ่งแวะมาสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังกับคุณแจ๊คครับ แต่พบกันและทราบดีว่าช่วงนี้ต้อง ทุ่มเทกับการหว่าน เมล็ดพันธุ์ KM ให้มากครับ
  • ขอบคุณ ท่าน ผอ. เม็กดำ มากครับที่แวะมา ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ
  • ขอสวัสดีปีใหม่ ย้อนหลังด้วยครับ
  • เรียนคุณแจ๊คเพิ่มเติมครับ เรื่องการประเมินข้อสอบ ก็ต้องหลังจากการใช้สอบไปแล้วครับ เราก็จะประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญการวัดและประเมินผลครับ ซึ่งมีอยู่ในทีมผู้ร่วมวิจัยแล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท