การส่งผลงานเพื่อเลื่อนระดับ..สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม


การเผยแพร่ผลงาน ในการส่งผลงานเลื่อนระดับของพยาบาล

 ประสบการณ์การส่งผลงาน การเขียนคู่มือการพยาบาลระดับเชี่ยวชาญ

  • ก่อนส่งผลงานจะต้องเผยแพร่ในวงกว้าง แม้ว่าจะเป็นคู่มือการพยาบาลฯ 
  • ต้องขอคำนิยมจากแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรค 
  • คำนิยมของหัวหน้าพยาบาลฯ แนบส่งผลงาน
  • เผยแพร่ในห้องสมุดต่างๆทั้งหอสมุดกลาง ห้องสมุดประจำคณะฯและห้องสมุดคณะพยาบาลฯ เป็นต้น
  • เผยแพร่ในเวปไซด์ฝ่ายการพยาบาลหรือเวปไซด์ gotoknow เป็นต้น
  • ต่อมาคู่มือการพยาบาลฯได้พิมพ์ในโรงพิมพ์ มี ISBN จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
  • เผยแพร่ในวงกว้าง เป็นคู่มือฯการพยาบาล สำหรับพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดทั่วประเทศ

         

ประสบการณ์การเป็นพี่เลี้ยงขอผลงาน  

  • ในช่วงต่อมา ผลงานที่ขอเลื่อนระดับจะมี คำรับรองการนำคู่มือการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน ให้หัวหน้าฯเซ็นต์รับรองผลงานตามขั้นตอน ผู้ทรงคุณวุฒิก็ถือว่าผ่าน
  • บางผลงาน ผู้ทรงคุณวุฒิต้องการให้ผลงานมีการเผยแพร่ในวงกว้างและมีหลักฐานการนำไปใช้จริง

 

               ดังนั้นการส่งคู่มือการพยาบาลและงานวิเคราะห์ของพยาบาล ชนก /การส่งผลงานเชิงวิเคราะห์ ระดับ ชนพ และ ชช ควรมีการเผยแพร่ด้วย/ การส่งผลงานวิจัย ระดับ ชนพ และ ชช มีข้อเสนอแนะดังนี้

 

การเผยแพร่คู่มือการพยาบาลฯ สำหรับผลงานระดับ ชนก

  • น่าจะเผยแพร่ระดับงานบริการพยาบาล โดยเผยแพร่ให้หอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยนั้นๆนำไปใช้ และขอใบตอบรับจากแผนกฯนั้นๆด้วย
  • เผยแพร่ให้กับผู้ศึกษาดูงานและให้เซ็นต์ใบขอนำไปใช้ด้วยและให้ตอบผลการนำไปใช้เพื่อสรุปรายงานผลอีกครั้งแนบในภาคผนวกของคู่มือฯ
  • เผยแพร่ในเวปไซด์ของงานบริการพยาบาล 
  • เผยแพร่ให้กับศูนย์เรียนรู้ของงานบริการพยาบาลฯและมีใบตอบขอบคุณ
  • เผยแพร่ไปยังห้องสมุดต่างๆ  ต้องมีบันทึกข้อความตอบขอบคุณจากห้องสมุดนั้น

 

การเผยแพร่ผลงานเชิงวิเคราะห์ที่ส่ง ชนพ และ เชี่ยวชาญ

  1.  เผยแพร่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิยอมรับ โดยขอคำนิยมจากแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่เราจัดทำผลงาน หัวหน้าพยาบาล รองฯคลินิก รองฯวิชาการ เป็นต้น
  2. ส่งผลงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่ให้บริการผู้ป่วยฯในสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องและมีใบตอบขอบคุณด้วย
  3. เผยแพร่ให้พยาบาลที่มาศึกษาดูงาน ควรมีใบตอบขอบคุณให้เซ็นต์รับไปเลย
  4. เผยแพร่ไปยังห้องสมุดต่างๆ  ต้องมีบันทึกข้อความตอบขอบคุณจากห้องสมุดนั้น
  5. เผยแพร่ในเวปไซด์ของงานบริการพยาบาล คล้ายคู่มือการพยาบาลฯของ รพ ศิริราช เป็นต้น
  6. สามารถทำ web blog ของตนเองใน gotoknow แล้วเผยแพร่ด้วยตนเองได้

 

ผลงานวิจัย

  1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้น 
    อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
  2. เผยแพร่เป็นรายงานการวิจัย (manuscript) ในหนังสือรวบรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ เช่น การนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการพยาบาลฯสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วมีการตีพิมพ์ให้ในวารสารทางการพยาบาล เป็นต้น

 

สรุป

      ดังนั้นการส่งผลงานเพื่อเลื่อนระดับ..สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม จะต้องเผยแพร่และมีหลักฐานการเผยแพร่รวมทั้งมีหลักฐานการนำไปใช้ประโยชน์ โดยต้องแนบไว้ในภาคผนวกของคู่มือฯหรือผลงานเชิงวิเคราะห์ฯด้วยก่อนส่งขอผลงานตามลำดับขั้นค่ะ

……………………..

แก้ว

28-02-2565

หมายเลขบันทึก: 698358เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2022 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2022 05:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีเลยครับ ถ้ามีแฟนพยาบาลจะบอกให้มาอ่านที่นี่ 555

ไม่มีแฟนพยาบาล ก็ให้เพื่อนอ่านได้ค่ะ 55

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท