มองClinical Reasoningผ่าน3พี่น้อง


การให้เหตุผลทางคลิกนิก หรือ Clinical Reasoning คือ กระบวนการคิดของผู้บำบัดที่ใช้เพื่อการตัดสินใจในการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ ซึ่งจะสื่อถึงว่าเพราะอะไรนักกิจกรรมบำบัด(Occupational Therapy)จึงจะใช้วิธีการรักษาเช่นนี้ ทำไมจึงใช้กิจกรรมนี้ในการบำบัดฟื้นฟู เพราะเหตุใดจึงเลือกปัญหานี้มาเป็นเป้าประสงค์ในการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งการให้เหตุผลในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้จะตอบข้อสงสัยของทั้งตัวผู้รับบริการรวมถึงทำให้OTกลับมาคิดทบทวนว่าสิ่งที่ตนได้คิด วางแผน เลือกกระทำกับผู้รับบริการนั้นมีเหตุผลมาจากอะไรอีกด้วย 

 

กรณีศึกษา 

พี่ชายคนกลางถูกวินิจฉัยเป็น High Function Asperger’s จบโทที่แคนาดา ทำงานมีครอบครัว มีภาวะย้ำคิดย้ำทำ หมกหมุ่นกับการทำงาน ไม่สนใจสังคม

น้องชายคนเล็กถูกวินิจฉัยเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger's จบโทที่แคนาดาเหมือนพี่ชายแจ่ปัจจุบันอยูาบ้านเฉย ๆ เล่นเกม ทำอาหารบ้าง 

พี่สาวคนโตถูกวินิจฉัยเป็น Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD) ชอบความคิดวางแผนสมบูรณ์แบบในการดูแลน้องชายคนเล็ก แต่ร่างกายปวดเดินไม่ไหว

 

  • Conditional Reasoning

1.นักกิจกรรมบำบัดต้องการให้ผู้รับบริการ High Function Asperger’s ที่มีภาวะย้ำคำย้ำทำ หมกหมุ่นกับการทำงาน ไม่มีกิจกรรมที่สนใจ ไม่มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นรวมถึงทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจเพื่อผ่อนคลายได้ โดยนักกิจกรรมบำบัดใช้วิธีประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินความต้องการ ความสนใจ การให้คุณค่าของผู้รับบริการ เพื่อค้นหาความต้องการความสนใจแท้จริงของผู้รับบริการ และใช้วิธีพูดคุยปรับความคิดให้ผู้รับบริการเห็นถึงความคิดที่อาจผิดเพี้ยนไปในเรื่องของการจัดการเวลาซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดพูดคุยสอบถามเชิงลึกเพื่อหาความสนใจแท้จริงของผู้รับบริการร่วมกับการใช้ Interest checklist หาความสนใจ และใช้กิจกรรมผ่อนคลายรวมถึงกิจกรรมกลุ่มให้ผู้รับบริการได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เช่น กิจกรรมทำอาหารกับครอบครัว 

2.นักกิจกรรมบำบัดต้องการให้ผู้รับบริการ Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD) มีอาการปวดเดินไม่ไหว สามารถทำกิจกรรมที่ต้องการได้อย่างอิสระ นักกิจกรรมบำบัดประเมินการทรงตัวขณะทำกิจกรรม (Balance Assessment) ประเมินทักษะการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน(ADLs & IADLs)เพื่อดูความสามารถของผู้รับริการและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดใช้วิธีการบำบัดฟื้นฟูคือจัดกิจกรรมบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น กิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย กิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ รวมถึงแนะนำวิธีการบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อให้ผู้รับบริการปรับใช้ในขณะทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น แนะนำท่าทางการนั่งที่ถูกต้องลดอาการปวด แนะนำว่าควรลุกขึ้นเดินไปมาบ้างขณะทำงาน เป็นต้น

3.นักกิจกรรมบำบัดต้องการให้ผู้รับบริการ Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD) ที่มีความชอบความคิดสมบูรณ์แบบในการดูแลน้องชาย จนเกิดอาการวิตกกังวลทำให้นอนไม่หลับส่งผลต่อคุณภาพในการนอน นักกิจกรรมบำบัดประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมินสภาพแวดล้อมของผู้รับบริการ ประเมินด้านการนอน(Sleep hygiene & Sleep safety)เพื่อดูถึงคุณภาพในการนอนหลับของผู้รับบริการ การบำบัดฟื้นฟูนักกิจกรรมบำบัดใช้วิธีพูดคุยปรับความคิดให้ผู้รับบริการเรียนรู้และตระหนักถึงระบบความคิดที่อาจผิดเพี้ยนไปซึ่งส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และปรับความคิดนั้นใหม่ ใช้ตนเองเป็นสื่อในการพูดคุยรับฟังร่วมกับการทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจและให้ความสำคัญเพื่อให้ผู้รับบริการมีอารมณ์ที่รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด

 

  • Procedural Reasoning 

1.ทำไมผู้รับบริการถึงมีภาวะย้ำคิดย้ำทำ(น้องชายคนกลาง) 

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น High Function Asperger’s เนื่องจากอาการแสดงของโรคทำให้มีภาวะย้ำคิดย้ำทำ มีอาการหมกมุ่นหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ มีความสามารถในการสื่อสารหรือการเข้าสังคมต่ำ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในความคิดของตนเอง โดยนักกิจกรรมบำบัดจะประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินความต้องการ ความสนใจรวมถึงประเมินผ่านการสังเกตจากการทำกิจกรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ค้นหาความสนใจ การให้คุณค่าแล้วนำไปจัดกิจกรรมที่ตรงตามความต้องการ โดยนักกิจกรรมบำบัดใช้ Interest checklist หาความสนใจของผู้รับบริการ และใช้กิจกรรมผ่อนคลายรวมถึงกิจกรรมกลุ่มให้ผู้รับบริการได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมาชิกในคนอื่น

2.เพราะอะไรผู้รับบริการ(พี่สาวคนโต)จึงมีอาการนอนไม่หลับ

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD) ที่มีความชอบความคิดสมบูรณ์แบบในการดูแลน้องชาย จนเกิดอาการวิตกกังวลทำให้นอนไม่หลับรวมถึงมีอาการปวดหลังร่วมด้วย นักกิจกรรมบำบัดประเมินด้านการนอนหลับและบำบัดฟื้นฟูโดยการหากิจกรรมลดความกังวล รวมถึงปรับสภาพแวดล้อมร่วมด้วย

3.ทำไมผู้รับบริการ(น้องชายคนเล็ก)จึงมีช่วงความสนใจสั้น

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger's ซึ่งอาการของโรคจะส่งผลให้มีภาวะ Low attention ไม่สามารถคงความสนใจจดจ่อได้นาน วอกแวกง่าย นักกิจกรรมบำบัดประเมินผ่านเครื่องมือประเมินมาตรฐาน เช่น LOTCA , Trail making test หรือ ประเมินผ่านการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความสนใจจดจ่อ

4.เพราะอะไรจึงผู้รับบริการ(พี่สาวคนโต)จึงต้องประเมินการทรงตัวขณะทำกิจกรรม (Balance Assessment) 

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD) รวมถึงมีอาการปวดเดินไม่ไหวซึ่งเป็นผลมาจากโรคที่เป็นที่ทำให้ผู้รับบริการมีความเครียด รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้รับบริการที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ ทำให้นักกิจกรรมบำบัดต้องประเมินการทรงตัวขณะทำกิจกรรม (Balance Assessment) ของผู้รับบริการเพื่อให้ทราบถึงระดับความสามารถแล้วจึงนำไปวิเคราะห์ในการจัดกิจกรรมต่อไป

5.ทำไมต้องจัดกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมเรื่องปฏิสัมพันธ์กับบุคคลให้กับผู้รับบริการ(พี่ชายคนกลาง)

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น High Function Asperger’s เนื่องจากอาการแสดงของโรคหมกหมุ่นกับการทำงาน ไม่มีกิจกรรมที่สนใจ ไม่มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นรวมถึงผู้รับบริการมีความต้องการที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนในครอบครัวแต่ไม่รู้ว่าต้องทำเช่นไร นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมในด้านนี้เพื่อให้ผู้รับบริการบรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ

  • ตัวเรามี Learn How to Learn เพื่อจะเรียนและทำงาน OT อย่างมีความสุขได้อย่างไร

การเรียนทุกสิ่งอย่างไม่ใช่เพียงแค่การเรียนสาขาวิชากิจกรรมบำบัด หรือ OT เพียงอย่างเดียวเราต้องใช้ความรักในสาขาวิชาชีพในการเรียนรวมถึงการทำงาน เมื่อเรารักเราก็จะตั้งใจและมีความสุขกับการทำสิ่งนั้น ๆ หัวใจสำคัญ คือ เราต้องหมั่นถามตัวเองว่าเราต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร บางครั้งเราอาจมีอาการเหนื่อย ท้อแท้ทั้งจากการทำงานหรือการเรียน ให้เราย้อนมาถามตัวเองว่าจริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นที่เราตั้งใจเรียนหรือเลือกทำงานเป็น OT คืออะไร อะไรคือ Goal ของเราที่แท้จริง หากเราย้อนถามแล้วคำตอบยังเป็นเช่นเดิมก็จะทำให้เราเห็นเป้าหมายที่เราตั้งต้นไว้ละทำให้เรามีแรงที่จะทำต่อไป  อย่างเช่น ในวันที่เรารู้สึกเหนื่อยกับการเรียน OT นั้นเราก็ย้อนมาคิดว่าจริง ๆ แล้วเรารักจะเรียนและทำงานในสาขาวิชาชีพนี้ใช่หรือไม่ ก็ได้คำตอบว่าเรารักและอยากทำงานในสายอาชีพนี้ในอนาคตทำให้เรามีพลังที่จะเรียนรู้ต่อไปได้ และนอกจากนี้การพักผ่อนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ 

การพักผ่อน(Rest) การที่เราเรียนและทำงาน OT อย่างมีความสุขเราก็ต้องมีการเว้นระยะให้ตัวเราเองได้พักผ่อนบ้าง การพักผ่อนนอกจากจะเป็นการให้เวลาตนเองในการทำสิ่งที่ชอบ ได้ผ่อนคลายแล้ว ยังทำให้เราได้เรียบเรียง จัดการกับสิ่งที่เราพบเจอมาว่าเรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นการให้สมองได้พักผ่อน เรียบเรียงความคิด ความรู้ที่เราเรียนรู้มา รวมถึงทำให้เราคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ อย่างเช่น เราพยายามที่จะทำความเข้าใจบทเรียนแต่ทำไม่ได้สักที เราก็ให้เวลาตัวเองได้พักก่อนให้ได้คิดทบทวนและลดความเครียดของเราลง แล้วเมื่อกลับมาลองทำความเข้าใจอีกครั้งจะรู้สึกว่าเรามีสมาธิมากขึ้น เรียนรู้ได้ดีขึ้น

แรงจูงใจ(Motivation) สร้างแรงจูงใจในการเรียนและการทำงาน บางอย่างในการเรียนหรือการทำงานอาจเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ชอบ ไม่อยากทำ เราก็ลองมองหามุมบวกสร้างแรงจูงใจให้เราเปิดใจ อย่างเช่น บางวิชาที่เรารู้สึกไม่ถนัดไม่อยากที่จะเรียนเราก็ลองนึกถึงว่าวิชานี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตตอนที่เราได้ทำงานเราต้องเรียนไว้ให้สามารถนำไปช่วยคนอื่นได้ ก็จะทำให้เรารู้สึกมีความสุขที่จะเรียนมากขึ้นจนบางที่อาจจะกลายเป็นสิ่งที่เราชอบไปเลยก็ได้

 

นางสาวอรุณี ดอกมะลิ นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่2 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 697019เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2022 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2022 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท