ผลกระทบ จากโครงสร้างอายุของกำลังคนสาขาสาธารณสุขต่อการสูญเสียกำลังคนและความต้อง การกำลังคนทดแทนของระบบบริการปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2551- 2570


ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์
วิทยาลัยการสาธารณสุขสุพรรณบุรี

วัตถุประสงค์
-เพื่อ ศึกษาผลกระทบจากโครงสร้างทางอายุของกำลังคนสาขาสาธารณสุข ต่อการสูญเสียกำลังคนและความต้องการกำลังคนในระบบบริการปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2551 – 2570

ผลการศึกษา
- จากโครงสร้างทางอายุของกำลังคนสาขาสาธารณสุข จะทำให้กำลังคนที่เข้าสู่วัยเกษียณอายุราชการ ในแต่ละปีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการสูญเสียกำลังคนเฉลี่ยต่อปีในช่วง 2551 – 2570 ซึ่งหากจำนวนการเพิ่มกำลังคนเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิในแต่ละปียังเท่ากับ ช่วงปี 2546 – 2550 ในขณะอัตราการสูญเสียและจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการเพิ่มอัตราส่วนกำลังคนต่อประชากร จาก 1:2,118 ในปี 2546 เป็น 1:2,279 1: 2,412 1: 2,675 และ 1: 3,161 ในช่วง พ.ศ. 2551 – 2555, 2556-2560, 2561 – 2565 และ 2566- 2570 ตามลำดับ ฉะนั้น หากต้องการคงอัตราส่วนกำลังคนต่อประชากรให้เท่ากับปี 2546 จะต้องเพิ่มกำลังคนในระบบบริการปฐมภูมิเฉลี่ยต่อปีในช่วงปีดังกล่าว เท่ากับ 703,846, 1,181 และ 1,272 คน แต่หากใช้อัตราส่วนกำลังคนต่อประชากรตามเกณฑ์การจัดบริการปฐมภูมิคือ 3: 5,000 จะต้องเพิ่มกำลังในระบบบริการปฐมภูมิเฉลี่ยต่อปีในช่วงปีดังกล่าว เท่ากับ 750, 891, 1,218 และ 1,306 คน ตามลำดับ ส่วนแผนการผลิตกำลังคนทดแทนการสูญเสียขณะศึกษาและหลังจบการศึกษาแล้ว โดยคงอัตราส่วนกำลังคนต่อประชากรเท่ากับปี 2546 แผนการผลิตในช่วงปีดังกล่าวจะเท่ากับ 808, 973, 1,358 และ 1,463 คนต่อปี และหากใช้อัตราส่วนกำลังคนต่อประชากรตามเกณฑ์หน่วยบริการปฐมภูมิ แผนการผลิตจะเท่ากับ 863, 1,025, 1,402 และ 1,502 คน ตามลำดับ




จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร


หมายเลขบันทึก: 69690เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท