อารยธรรมอินเดีย


อารยธรรมอินเดีย เริ่มกำเนิดขึ้นในบริเวณที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “อนุทวีป”หรือเอเชียใต้

  อารยธรรมเกิดจากการหล่อหลอม ผสมผสานความเจริญของชนชาติต่างๆที่เข้าครอบครองบริเวณนี้จนเกิดเป็นอารยธรรมของอินเดียที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นต้นแบบของอารยธรรมในภูมิภาคอื่นๆของเอเชีย

      อารยธรรมอินเดีย อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ชนชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมของอินเดีย ได้แก่ พวกดราวิเดียน (Dravidian)หรือทราวิฑหรือมิลักขะ  เป็นชนพื้นเมืองเจ้าถิ่นเดิม อาศัยอยู่ก่อน มีผิวดำ รูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ริมฝีปากหนา เชื่อว่าเป็นเจ้าของอารยธรรมสมัยสินธุ ต่อมาพ่ายแพ้ต่อผู้รุกรานชาวอารยันจึงถูกนำลงเป็นทาส ที่ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ทัสยุ” (Dasyus) เป็นที่ดูถูกในหมู่อารยันว่ามีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด หยาบคายและป่าเถื่อน

      อารยัน (Aryan) หรืออริยกะ เป็นพวกอินโด-ยุโรเปี้ยน ผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง ชำนาญการขี่ม้ายิงธนู ข้ามเทือก    เขาหิมาลัย คาราโครัม และฮินดูกูเข้ามารุกไล่เจ้าของถิ่นเดิม จนร่นถอยไปอยู่ปลายแดนแถบคาบสมุทรเดคคานและเขตทมิฬ แล้วตนเองเข้ายึดครองดินแดนตอนกลางไว้แทน

      อารยธรรมโบราณ                                                                                                                                                  เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenj Daro )และเมืองฮารัปปา(Harappa)บริเวณแม่น้ำสินธุ เมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ ประมาณ4,500 ปีมาแล้ว เรียกว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization)เป็นอารยธรรมโดยพวก

      ดราวิเดียน (Dravidian)หรือทราวิทเมืองทั้งสองแสดงให้เห็นถึงความเจริญแบบอารยธรรมเมืองมีการวางผังเป็นย่านใหญ่ๆ แต่ละย่านมีตรอกแคบๆ เป็นตัวเชื่อมมีป้อมหรือมีที่หมั่นประจำเมือง มีที่อาบน้ำสาธารณะ แสดงให้เห็นความเชื่อในการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนประกอบพิธีกรรม มีระบบการระบายน้ำ มีย่านการค้าและยังพบรูปปั้นที่ทำจากดินเผา ประชากรพื้นเมือง เชื่อว่าเป็นชนเผ่าดราวิเดียน (Dravidian) เป็นชนเผ่าดั้งเดิมก่อนที่พวกอารยันจะอพยพเข้ามา

                                                                     เมืองโมเฮนโจดาโร

                                                                    เมืองฮารัปปา

สมัยประวัติศาสตร์

1.สมัยมหากาพย์  (อินโด-ยุโรเปียน) เกิดมหากาพย์ 2 เรื่อง คือ รามายณะของฤษีวาลมิกิ   เป็นเรื่องพระรามและนางสีดา

       มหาภารตะของฤษีวยา  สะท้อนในเรื่องการปกครอง เศรษฐกิจและความเชื่อมหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ  จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก  กล่าวกันว่านี่คือ    การต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ผลทำให้เกิดการปกครองแบบราชาธิปไตยจากกษัตริย์เป็นราชา ได้เปลี่ยนไปเป็นสมมติเทพ

 

                                                                  รามายณะของฤษีวาลมิกิ

                                                                         มหาภารตะของฤษีวยา 

2.สมัยจักรวรรดิ

              เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 สมัย

2.สมัยจักรวรรดิ  เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 สมัย

1) สมัยจักรวรรดิมคธ ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำคงคา เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากที่สุดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงสองพระองค์คือ พระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอชาตศัตรู พระพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นศาสนาของจักรวรรดิ

                                                                         พระเจ้าพิมพิสาร

                                       พระเจ้าอชาตศัตรู

2)สมัยจักรวรรดิเมารยะราชวงศ์เมารยะได้มีอำนาจขึ้นปกครองแทนราชวงศ์นันทะที่ปกครองแคว้นมคธ (พื้นที่ทางภาคเหนือของอินเดีย)กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง และทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังให้อิสรภาพในการเลือกนับถือศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ทรงยกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะ

                                                                          พระเจ้าอโศกมหาราช

3) สมัยแบ่งแยกและการรุกรานจากภายนอกความเสื่อมอำนาจของราชวงศ์เมารยะมีผลกระทบต่ออินเดีย 2 ประการอาณาจักรใหญ่น้อยแบ่งแยกออกเป็นอิสระเกิดการรุกรานจาก เปอร์เชีย กรีก ผลทำให้เกิดการทอดทางวัฒนธรรมจากผู้รุกราน

4) สมัยคุปตะได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอินเดีย เนื่องจากพระเจ้าจันทรคุปต์มีความพยายามทำให้อาณาจักรรุ่งเรืองเหมือนอาณาจักรมคธในอดีต   มหาวิทยาลัยนาลันทา  มหาวิทยาลัยพาราณสี  การแพทย์ในสมัยนี้มีวิธีการผ่าตัด เรียนรู้การทำสบู่และปูนซีเมนต์  ชาวลังกามาสร้างวัดพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทขึ้น

5) สมัยมุสลิม  (จักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) มุสลิมที่เข้ารุกรานอินเดีย มีเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางเข้าปกครองอินเดียภาคเหนือ ตั้งเมืองเดลี เป็นเมืองหลวง เมื่อเข้ามาปกครองมีการบีบบังคับให้ชาวอินเดียมานับถือศาสนาอิสลาม ราษฎรที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามจะถูกเก็บภาษี “จิซยา” ในอัตราสูง หากหันมานับถือจะได้รับการยกเว้น การกระทำของเติร์กส่งผลให้สังคมอินเดียเกิดความแตกแยกระหว่างพวกฮินดูและ มุสลิมจนถึงปัจจุบัน

ระบบวรรณะ ในคัมภีร์ 4 วรรณะ ดังนี้
1.วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์

               มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป              

              ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2.วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ  ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3.วรรณะแพศย์ เกิดจากโคนขา หรือ สะโพกของพระพรหมของพระพรหม

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ  ได้แก่ พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4.วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่นๆที่ไม่มีความสดใสมีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
๕. จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด

               คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดีย

ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย

อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน 

หลักคำสอนพระพุทธศาสนา และศาสนาเชน 

               เป็นผลมาจากการคิดไตร่ตรองทางปรัชญา เพื่อแสวงหาสัจจะการดำเนินชีวิตและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ส่วนหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีรากฐานมาจากคิดค้นสร้างระบบปรัชญา เพื่อสนับสนุนความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า  

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงพระเจ้า ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจเทพเจ้าของอินเดีย

 

หมายเลขบันทึก: 696159เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2022 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2022 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for sharing the history.

But somehow I feel that we need “references” and “image credits” to learn about the sources of information (so that we can think about the view points and evidence – time for memorizing what written is now gone). For examples:

“ข้ามเทือก เขาหิมาลัย คาราโครัม และฮินดูกู” – would benefit from English names (so we can look up maps) –Himalayan ranges are in the North, Aryan (Arab? Persian?) were in the West (of Pakistan, ancient India). Why did they come from the West but cross the Northern mountain ranges?

All images are obviously “lifted” from other websites. Not giving due credit to the sources of images (and information/ideas) is a bad practice and may breach copyright laws.

Please amend.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท