มอบกิจกรรมดีๆให้กับผู้ป่วยจิตสังคม


โดยสถานการณ์ปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมากมาย เช่นสถานการณ์โควิดที่เข้ามา ทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต ผู้คนอยู่แต่บ้าน เด็กนักเรียนต้องเรียนออนไลน์ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ทำให้บางคนเกิดความเครียดและความเครียดมันเริ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆจนเกิดความเครียดสะสม บางคนถึงขั้นเกิดภาวะทางจิตขึ้นได้เลย เราเลยจะมาหาวิธีการแก้ไขปัญหาความเครียดของผู้ป่วยจิต หรือ เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า “ผู้มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิต” อย่างไรนั้นติดตามรับชมได้เลยค่ะ

อาจารย์ของเราก็ให้โจทย์มาว่า “นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไรในนศ.กฎหมาย    ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา”

ก่อนอื่นเลยเป้าหมายหลักของเราคือการช่วยให้ผู้รับบริการมี Hopeful(ความหวัง) Empowered(เสริมสร้างพลังชีวิต) Skiled(ได้รับการฝึกทักษะ) Supported(ได้รับการสนับสนุน)

ผู้ป่วยทางจิตเราต้องช่วยเหลือในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาการใช้ชีวิตเป็นส่วนใหญ่พอคิดมากจะไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรงจูงใจทำกิจกรรมต่างๆเราเลยเริ่มแก้ปัญหาในส่วนของตรงนี้ก่อน วิธีที่ช่วยในเรื่องนี้คือวิธี “Psychosocial Rehabilitation”

3เรื่องหลักๆที่เราจะช่วยได้คือ Work , Housing , Relationship

Work การทำงาน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตเมื่อผู้รับบริการสามารถที่จะทำงานได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ผู้รับบริการเองก็จะมีสุขภาวะทางจิตที่ดี และมีความสุขในการทำงาน

Housing ผู้รับบริการจะสามารถอยู่บ้านได้อย่างปลอดภัย คนในบ้านคือพลังหรือกำลังใจที่สำคัญต่อผู้รับบริการ ให้ไม่ต้องวิตกกังวลหรือหว่าเหว่เหมือนว่าอยู่ตัวคนเดียว

Relationship ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เขาจะต้องเข้าร่วมกับสังคมได้ดีมีสัมพันธ์ไมตรีที่ดี  ทุกคนคือมิตรภาพที่ดี

หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถศึกษาได้ที่นี้https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796

นักกิจกรรมบำบัดจะใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวก “PERMA” เป็นทฤษฎีความอยู่ดีมีสุข ซึ่งมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบด้วยกัน

 

  1. P- positive emotion (อารมณ์เชิงบวก) 
  2. E- engagement (ความผูกพัน)
  3. R- relationship (ความสัมพันธ์เชิงบวก)
  4. M- meaning and purpose (คุณค่าและเป้าหมาย)
  5. A- accomplishment (ความสำเร็จ)

ต่อไปจะเป็นการทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เช่น ผู้รับบริการไม่รู้ความต้องการของตัวเอง รู้แค่ว่าตัวเองทำไม่ได้ไม่มีความมั่นใจ ผู้บำบัดก็จะหาวิธีการหรือกิจกรรมมาเสริมความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ

กิจกรรมแรกคือเปลี่ยนความเครียดลบให้เป็นเครียดบวกภายใน6นาที เราจะเปลี่ยนยังไงไปดูกันเลยยยย

หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่นี้https://www.setsocialimpact.com/Article/Detail/77236 

https://www.youtube.com/watch?v=DO4gZX78jgg

และมีอีกหลายกิจกรรมดีๆที่เราอยากจะนำมาให้ผู้อ่านได้ลองนำไปทดลองฝึกค่ะ

จะมีกิจกรรม ปั้นดินฝึกสมองและวาดดอกไม้คลายเหงา

https://www.youtube.com/watch?v=Hg5761jI6Q0&t=12s 

https://www.youtube.com/watch?v=S8l_YZ08Syc&t=12s 


 

#ทุกกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆอยากให้ทุกท่านลองฝึกทำดูนะคะ เพื่อสุขภาวะจิตที่ดีของเราค่ะ

หมายเลขบันทึก: 695769เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท