@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

เหมือนจะถึงทางเลือกระหว่าง "การเป็นแม่" กับ "ผู้หญิงทำงาน"


เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก

ช่วงเวลาสามสี่เดือนมานี่ ดิฉันให้เวลากับงานมากกว่าลูก (ยอมรับตรงๆ) เพราะความเป็นคนที่ชอบทำงาน ถึงขั้นเรียกได้ว่า บ้างาน พอต้องรับภาระเป็นหญิงท้อง, แม่ลูกอ่อน อยู่หลายปี มันก็อึดอัด อัดอั้นมากจนกดดัน เครียดมากตอนที่เป็นแม่ลูกอ่อน จนเมื่อลูกเข้าโรงเรียน และดิฉันเริ่มปรับตัวได้ จากการแบ่งเวลารับส่งลูกเป็นช่วงๆ ในปีที่ 2 ที่ลูกเรียนหนังสือนี่เอง ดิฉันก็มีเวลาให้กับสิ่งที่รักมากขึ้นได้ .. นั่นก็คือ กลับมาการกลับมาบ้างาน

จากความบ้างานนี่เอง ลูกน้อยสี่ขวบกว่า ที่ยังอยู่ในวัยต่อต้าน ก็มีอาการต่อต้าน และทวีความต่อต้านขึ้นเรื่อยๆ จนวันนี้ ตั้งแต่เช้าไม่ว่าจะให้ทำอะไร ก็จะต้องขึ้นด้วยด้วย "ไม่" "ไม่" "โน" "โน" ตลอด กวนประสาท กวนอารมณ์หลากหลาย จนต้องถึงกับเอาไม้บรรทัดคู่ชีพออกมากำหราบลูก

ลูกซึ่งเป็นเด็กลูกครึ่ง ที่ต้องถูกฝึกให้เรียนรู้หลายภาษา เพื่ออนาคตและเพื่อจะได้สามารถสื่อสารกับญาติสองประเทศได้ วันนี้ถูกดิฉันกวนประสาทกลับว่า "ถ้าหากพูดไทยแล้วก็ยังไม่ฟัง (= อันที่จริง ไม่ฟังเพราะว่า อยู่ในวัยต่อต้าน) ก็ไม่ต้องอยู่เมืองไทยแล้ว ไปอยู่ประเทศมาเลเซียไปเลย ไม่ต้องพูดภาษาไทยแล้ว เพราะพูดไทยแล้ว ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เชื่อฟัง ก็ไม่ต้องฟังภาษาไทยอีกแล้ว"

ดูอาการ เค้าก็เสียใจ แกมเคืองที่ว่าอะไรกลับไม่ได้ แถมโดนไม้อีกหลายรอย ทำได้เพียงแค่ร้องไห้ แอบอยู่หลังพี่เลี้ยง (แต่จริงๆ เค้าพยายามสู้นะคะ ทั้งหนี ทั้งทิ้งตัวลงนอน พยายามไม่ให้จับขา เพราะปกติจะตีบริเวณ ก้นหรือน่องด้านหลัง)

หลังลงโทษลูกไป ดิฉันก็อดกลับมาชั่งใจไม่ได้ เราจะ weight living style อย่างไรดี จะบอกว่า ให้ออกมาเลี้ยงลูกอย่างเดียวก็เพ้อฝัน เพราะในชีวิตจริง ดิฉันต้องรับผิดชอบปากท้องตัวและลูก แถมยังมีลูกน้องที่บริษัทอีกหลายคน ไม่ได้เกิดมาเป็นลูกเศรษฐี หรือมีโชคลาภถูกหวย ยังมีความจำเป็น (และความสนุก) ที่ต้องทำงาน การต้องทำให้สมดุลจากอาชีพแม่ และอาชีพประจำ ยังแบ่งน้ำหนักให้ไม่ถูกต้องนัก เมื่อให้เวลากับงาน งานที่ทำ ได้ประสิทธิภาพดี แต่ให้เวลาลูกน้อย ลูกก็ทำตัวไม่น่ารัก

กดดันค่ะ

เคยแอบคิดแว๊บๆ หลายที ดิฉันไม่่ควรริจะมีลูกเลยนะ แล้วก็รีบปัดความคิดนั้นไป และก็ต้องยอมรับความจริง ยืนหยัดต่อสู้ต่อไป ...  

คำสำคัญ (Tags): #สจ#ลูก#ดื้อ
หมายเลขบันทึก: 69574เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาให้กำลังใจค่ะ และขอยืนยันว่า ภาวะที่พบนั้นเป็นธรรมชาติของคนเป็นแม่ใหม่ค่ะ

แต่วิธีช่วยง่ายๆก็คือ แบ่งภาคให้ได้ค่ะ (ใช้เวลาไม่มาก แต่ต้องหัดค่ะ) เวลาอยู่กับลูก ต้องคิดแทนลูก อย่าเป็นตัวเรา ถ้าเราลดตัวเราลงเป็นเขา ตอบสนองเฉพาะสิ่งที่เขาต้องการ คิดแทนว่า เขาจะไม่ เราก็เปลี่ยนเป็นทำสิ่งที่เขาจะ OK เสียก่อน จะเป็นการช่วยลูกให้มองโลกในแง่ดีค่ะ เริ่มจากบวก บอกสิ่งที่อยากให้ลูกทำ อย่าใช้ลบ ถ้าไม่จำเป็น (จริงๆก็ไม่มีอะไรจำเป็นเลยนะคะ) เด็กยิ่งเล็กยิ่งโลกเล็กค่ะ เราคิดแทนเขา มองจุดเล็กๆจะเข้าใจและเข้าถึงเขาได้แน่นอนค่ะ

เอาใจช่วยนะคะ ไม่มีใครเข้าใจลูกเรามากไปกว่าเรา เริ่มตั้งแต่วินาทีนี้ได้เลยค่ะ

พักนี้ เค้าพูดวันเว้นวันเลยค่ะว่า อยากให้หม่ามี๊มีเงิน หม่ามี๊จะได้ไม่ต้องไปทำงาน จะได้อยู่กับจู (ชื่อเค้า) เมื่อตอนที่ฟังครั้งแรกสะอึกเลยค่ะ .. เฮ้อ ..

ขอบคุณนะคะคุณโอ๋ ที่แวะมาให้กำลังใจ

น้องจู "อยากให้หม่ามี๊มีเงิน หม่ามี๊จะได้ไม่ต้องไปทำงาน จะได้อยู่กับจู" 

น้องทัต "พ่อไปทำงานได้แล้ว  ทำงานหาเงินให้เยอะๆ เลยนะพ่อ แล้วเอาเงินมาให้ทัต  ชื้อของเล่นใ้ห้หมดเลยนะ..." 

^_^'' 

  • ผมเป็นผู้ชาย แต่ชื่นชมและสรัทธาในสัญชาตญาณความเป็นแม่  ...ไม่ได้มองในมุมของเพศ  แต่มองในบทบาทของผู้ให้และผู้ดูแล
  • สังคมใหม่  ที่พบเห็น โดยเฉพาะสังคมไทย ผมเห็นว่าส่วนใหญ่ถึงแม้จะเป็นผู้หญิงที่เก่งในโลกของการทำงาน  และเมื่อกลับเข้าสู่ชายคาบ้าน ก็หนีวังวน ความเป็นแม่ ของลุก และ แม่บ้าน ไม่พ้น...

คุณ pat คะ แปลว่า แม่น้องจูถ้าไม่บ้างานมาก ก็อ้างเรื่องงานมากไป

ในขณะที่ พ่อน้องทัตสงสัยจะขี้เกียจ หรือไม่ก็ไม่ค่อยยอมให้น้องทัตซื้อของเล่น 

เอิ๊กๆ

ขอบคุณค่ะคุณแผ่นดินที่เห็นถึงความสำคัญของผู้หญิง (ที่เกิดมาแสนลำบาก - ขอบอกว่าดีใจจังที่มีลูกชาย - จะได้ไม่ต้องเหมือนแม่)

  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจคุณแม่น้องจูนะคะ
  • อยากจะบอกว่า  อิจฉาที่มีน้องจู ได้มีโอกาสได้เป็นคุณแม่เค้าไงคะ  ( จากคนไม่มีทั้งคุณพ่อและคุณลูกอ่ะค่ะ  ^__* )
ขอบคุณคุณหนิงมากค่ะ และขอส่งความส่งกลับด้วยค่ะ บ๋ายบายปี 2549 นะ เหลืออีกสองสามวัน เราจะไม่เจอกันแล้วเน้อ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท