Psychosocial rehabilitation ของนศ.กฎหมายผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต


     สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน  กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ ตอนนี้ดิฉันกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด เรื่องที่มาพูดวันนี้เกี่ยวกับนักศึกษากฎหมายทีมีประสบการณ์สุขภาพจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย  แต่สอบตกทุกวิชา นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

โดยจะนำ Psychosocial rehabilitation มาใช้ค่ะ เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายการใช้ชีวิตประจำวันขั้นพื้นฐาน และทักษะทางสังคม ช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวันช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสามารถกลับมาทำงาน หรือเรียนได้ กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข การฟื้นฟูสภาพจิตสังคมอยู่กับแนวคิดหลักที่ว่ามีแรงจูงใจที่จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างอิสระและสามารถปรับตัวเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ เป็นการเพิ่มจุดแข็งให้กับผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต การบำบัดทางจิตสังคมมุ่งเน้นเพิ่มความสามารถที่ช่วยสร้างรากฐานในการใช้ทักษะชีวิตที่สำคัญอื่นๆ สามารถพัฒนาได้ผ่านการสังเกต (Observation) การสร้างแบบจำลอง (Modeling) การศึกษา (Education) และการปฏิบัติ (Practice) 

นักกิจกรรมบำบัดจะมองแบบ holistic เป็นการมองภาพรวมสุขภาพของผู้รับบริการ เช่น ด้านร่างกาย ความสามารถทางด้านสมอง สมองที่เกี่ยวข้องการรู้คิดความรู้ความเข้าใจผู้รับบริการ ผู้รับบริการมีจิตสังคมคิดบวกลงมือทำสิ่งดีๆเลยไหม ต่อมาความสามารถทางสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ทำความดีต่อเนื่องได้เลยไหม ถามผู้รับบริการเกี่ยวกับรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง

การฟื้นฟูทางจิตสังคมเป็นแบบส่วนบุคคล ผู้รับบริการมีบทบาทในการตั้งเป้าหมายในสิ่งที่ผู้รับบริการหวังจะทำให้สำเร็จ และเป้าหมายของผู้รับบริการเป็นความต้องการรของผู้บริการอย่างแท้จริง นักกิจกรรมบำบัดไม่ได้เป็นคนตัดสินใจว่าเป้าหมายของผู้รับบริการควรจะเป็นอย่างไร ผู้รับบริการสามารถกำหนดสิ่งที่เป็นความต้องการของผู้รับบริการ จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดจึงมุ่งเน้นสนับสนุน ฟื้นฟูเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย

นักกิจกรรมบำบัดจะสร้างพลังชีวิตให้ผู้รับบริการ Empowerment นักกิจกรรมบำบัดมีการตั้งคำถามเพื่อที่จะเข้าใจผู้รับบริการ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกปัญหา แต่ต้องเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดต้องประเมินความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ (Needs assessment) ต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ (Therapeutic relationship) และจะสามารถเชื่อมโยงไปกับการทำกิจกรรมได้ เมื่อรู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ เราต้องตั้งคำถามเชิงให้ผู้รับบริการคิดบวก ถามเหมือนนักกิจกรรมบำบัดเป็นเพื่อนกับผุ้รับบริการ เช่น คุณอยากมีความสุขอย่างไร

โดยจะพูดคุยสร้างสัมพันธภาพเพื่อที่จะรู้ความต้องการที่แท้จริงของนักศึกษากฎหมาย ดังนี้

  • มีความต้องการอะไรที่อยากให้นักกิจกรรมบำบัดช่วยคะ
  • ลองบอกเหตุผลที่ทำให้ติดการพนันเพราะอะไร
  • คุณมีเป้าหมายอย่างไรในการก้าวผ่านเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิต
  • คุณจะทำอย่างไรให้ชีวิตตอนนี้มีคุณค่าคะ
  • อยากให้คุณลองคิดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อยากจะแก้ไขอย่างไรบ้างคะ
  • ช่วงนนี้คุณมีกิจกรรมอะไรที่อยากทำบ้างไหมคะ

นักกิจกรรมบำบัดให้กระบวนการรักษา ทราบแล้วว่ามีปัญหาการติดพนัน เรื่องเรียน สุขภาพจิต นักกิจกรรมบำบัดจะฟื้นฟูนักศึกษากฎหมายให้กลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีความสุข ขออนุญาตยกตัวอย่างสิ่งที่ช่วยฟื้นฟูนักศึกษากฏหมาย ดังนี้

  • นักกิจกรรมบำบัดรับฟัง ส่งเสริมให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมอื่นที่ต่างจากสิ่งแวดล้อมเดิม
  • ทำกิจกรรมครอบครัวบำบัด 3-4 เดือน ไม่เน้นหยุดเล่นการพนัน แต่เรียนรู้เล่นเกมโดยไม่กระทบผลการเรียน
  • นักกิจกรรมบำบัดแสดงความเห็นใจ ช่วยฝึกหายใจผ่อนคลายความเครียดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วนตามลำดับ เมื่อผู้รับบริการมีอาการวิตกกังวลมากเกินไป
  • พฤติกรรมบำบัดแบบการลดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ
  • ฝึกทักษะทางสังคม ซึ่งทำได้โดยการสอนทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเข้าอารมณ์
  • เพิ่มการประเมินด้านบทบาทการใช้ชีวิตที่มีความหมาย
  • ช่วยปรับรูปแบบความรับผิดชอบต่อการเข้าร่วมทำกิจกรรมด้วยความรู้สึกสำเร็จอย่างยั่งยืน
  • หากลยุทธ์แก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายการฟื้นคืนสุขภาวะ
  • เพิ่ม self-esteem เช่น ทำกิจกรรม "เปลี่ยนความคิดเชิงลบเป็นบวก" เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงคนที่วิจารณ์ในแง่ลบ ใช้เวลากับคนที่ปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วย ความเห็นอกเห็นใจ และให้เกียรติ เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกดีขึ้นกับตนเอง

     หลังจากให้นักศึกษากฎหมายทำกิจกรรม นักกิจกรรมบำบัดต้องถามความรู้สึกของผู้รับบริการ เช่น หลังจากลองทำกิจกรรมนี้แล้วบอกความรู้สึกให้นักกิจกรรมบำบัดฟัง และทวนซ้ำสิ่งที่ผู้รับบริการพูด สรุปประเด็นที่จะได้ไปประเมินและออกแบบกิจกรรมต่อไป ถามย้ำกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มสุขภาวะของคุณคืออะไร คุณคิดเห็นเป็นอย่างไร

จากทั้งหมดที่กล่าวมาสรุปได้ 4 แบบ ได้แก่

  1. มีหัวข้อวางแผน คิดก่อนที่จะลงมือทำ นักกิจกรรมบำบัดต้องถามเจตจำนงค์ ประกอบด้วยความต้องการที่แท้จริง สิ่งที่ผู้รับบริการสนใจจริงๆ สิ่งที่สำคัญมีคุณค่ามีความหมาย
  2. ให้ทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ เช่นสนใจในการวาดภาพระบายสี ก็ชวนผู้รับบริการมาวาดภาพระบายสี ดู Psychosocial performance assessment รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง รู้จักผู้อื่น
  3. ถามอารมณ์เศร้า ถ้าผู้รับบริการเศร้า คลายความเศร้าให้ผู้รับบริการก่อน ตรวจสอบความรู้สึกทางอารมณ์ การจัดการอารมณ์ 
  4. Mental state examination อาการของโรค อาการที่เคยเป็น ผลกระทบของอาการเหล่านี้ อารมณ์เป็นอย่างไร มีความคิดลบไหม มีพฤติกรรมแปลกๆไหม เรียนรู้ปรับตัวเองได้ไหม เกิดการเรียนรู้ระยะยาวได้ไหม เกิด Occupational performance ที่ต้องการและทำสำเร็จจริงไหม

 

เอกสารอ้างอิง

Kendra Cherry. (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796 (วันที่ค้นข้อมูล : 9 มกราคม 2565)

Mary Ellen Copeland. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.wellnessrecoveryactionplan.com/the-journey-to-self-esteem/ (วันที่ค้นข้อมูล : 9 มกราคม 2565)

 

หมายเลขบันทึก: 695721เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2022 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท