นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม


สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน  วันนี้ได้มีโอกาสกลับมาเขียนบทความอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายกันไปนาน เนื่องจากครั้งนี้ได้รับข้อคำถามจากอาจารย์ป๊อบหรืออาจารย์ศุภลักษณ์ เข็มทอง ในการเรียนการสอนในรายวิชา PTOT 239 ซึ่งอาจารย์เองก็เป็นนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นั่นเองค่ะ ซึ่งคำถามมีอยู่ว่า “นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไร ในนศ.กฎหมาย ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา”

ภารกิจสำคัญของกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตสังคม

   กิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตเวชนั้นจะทำร่วมกันระหว่างการฟื้นฟูและการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมี Well-being และ recovery จากการเจ็บป่วย เพิ่มความหวัง (Hope) และ ทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิต และดำเนินกิจกรรมการใช้ชีวิตต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทยเพิ่งมีการทำงานเชิงรุกเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้นกว่าเดิม โดยพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น ส่งเสริมการฟื้นฟูกับชุมชนของผู้รับบริการ เน้นให้ผู้รับบริการใช้ชีวิตในบริบทสังคมให้มากขึ้น แต่การทำงานลักษณะนี้อาจยังมีไม่มากพอโรงพยาบาลจิตเวชส่วนใหญ่ยังทำงานแยกกัน ขาดการติดต่อสื่อสารประสานงานกัน

กลยุทธ์สำคัญในกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคม

   การเข้าถึงความรู้สึกผู้ป่วย ความเข้าใจ เป็นผู้ฟังที่ดี ด้วยความใส่ใจ เห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจและทำให้ผู้ป่วยอุ่นใจกล้าที่จะปรึกษาปัญหา ถือเป็นสิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดควรมี (Therapeutic Relationship&Therapeutic Listening) นอกจากนี้ การเข้าถึงชุมชนและครอบครัวของผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างอย่างเต็มที่    ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อที่จะนำมาใช้ค้นหาปัญหา นำมาเป็น Clinical Reasoning เพื่อนำไปวางแผนและดำเนินตามขั้นตอนต่อไป

ใครๆก็อยากมีความสุข เพราะความสุขส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการเรียน,ทำงาน เป็นต้น ช่วยให้ทำผลงานได้ดีมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้ดีขึ้น

นักกิจกรรมบำบัดจะใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวกหรือที่เรียกว่า ”PERMA” (Positive Emotion, Engagement, Positive Relationships, Meaning and Purpose, Achievements/Accomplishments) ในการจัดการตนเอง ให้มีอารมณ์ดี มีส่วนร่วมและเข้าร่วมกิจกรรม สร้างสัมพันธภาพที่ดีและมีความหมายและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การตระหนักถึงรูปแบบของ PERMA ช่วยให้พิจารณาความหมายและการเติมเต็มให้กับชีวิตของผู้รับบริการได้ ขั้นตอนต่อไปคือการรวมโมเดลนี้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้รับบริการ ค้นหาสิ่งที่ทำให้มีความสุขและสามารถทำให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และยังสามารถกำหนดเป้าหมายในการท้าทายตัวเองในกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ ค้นหาความหมายต่อชีวิตของผู้รับบริการและสิ่งที่ให้ความรู้สึกถึงจุดมุ่งหมาย มันแตกต่างกันสำหรับทุกคน

หรืออาจจะให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวหรือไม่มีกรอบความคิด เช่น การทำศิลปะบำบัด (visual art) การได้ทำกิจกรรมอะไรที่ผู้รับบริการชื่นชอบ หรือถ้าไม่มีก็อาจจะให้ทำการวาดภาพระบายสี เพื่อที่จะให้ผู้รับบริการได้แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดออกมาผ่านทางภาพวาดระบายสีนี้ แสดงเรื่องราวของผู้รับบริการออกมามากมาย เป็นการทำให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ซึ่งความภูมิใจในตนเองสามารถลดการติดพนันได้ เพราะคนที่ติดพนัน เกิดจากสารสื่อประสาททำให้มีความภาคภูมิใจในตนเองลดต่ำลง

ในการช่วยเหลือในการหูแว่ว ซึ่งเกิดจากผู้รับบริการมีวามผิดปกติทางความคิด การรับรู้ ทำให้มีการแสดงออกด้านอารมณ์ พฤติกรรมที่ผิดปกติ ส่งผลให้ผู้รับบริการไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข ได้รับหรือสะสมประสบการณ์ ความคิดที่เป็นลบมาตั้งแต่อดีต นักกิจกรรมบำบัดจะใช้หลักการของ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นจิตบำบัด (psychotherapy) ชนิดหนึ่งที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับอารมณ์ในทางลบของมนุษย์ (เช่นเศร้า กังวล โกรธ ฯลฯ) ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด (cognitive) และพฤติกรรม (behavioral) การบำบัดมีลักษณะเน้นที่ปัจจุบัน เจาะจงปัญหาที่ชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมายในการบำบัดอย่างเป็นรูปธรรม เน้นความร่วมมือของผู้รับการบำบัดเพื่อนำไปสู่การฝึกฝนทักษะในการจัดการกับปัญหาของตนเองให้ได้ดียิ่งขึ้น

https://www.nhs.uk/mental-health/talking-therapies-medicine-treatments/talking-therapies-and-counselling/cognitive-behavioural-therapy-cbt/overview/

การบำบัดโรคซึมเศร้าอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจคือการที่ได้พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ ก็เป็นการช่วยระบายความเศร้าที่รู้สึกวิตกกังวลในจิตใจได้อีกวิธี อย่างเช่นเพื่อนสนิท รวมถึงคนในครอบครัว ก็สามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน

การบำบัดที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้รับบริการ เพื่อที่จะนำไปเป็นรากฐานในการทำกิจกรรมอื่นๆในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่นเรื่องการที่ผู้รับบริการสอบตกทุกวิชา ถ้าผู้รับบริการรู้วิธีการจัดการกับความเครียดในตอนนั้น ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดซึมเศร้าหรือวิตกกังวลมากไปกว่านี้ ผู้รับบริการก็จะทราบว่าควรที่จะเตรียมตัวในการสอบให้มากกว่านี้ มีการวางแผนจัดการตารางในการอ่านหนังสือ และไม่ลืมว่าอย่าเครียดจนเกินไป หาเวลาในการพักผ่อน ออกกำลังกายหรือหาอะไรทำหรือสิ่งที่ชอบกิน มาทำให้ตัวเองมีความสุข เพื่อลดความเครียด และความกดดันในตัวเองลง

 

https://www.youtube.com/watch?v=TN0Fok5eEcI

https://www.youtube.com/watch?v=8Oirfv0mcKk

อัญชลี กุมภาศรี 6323008 ชั้นปีที่ 2

 

 

หมายเลขบันทึก: 695713เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท