กิจกรรมบำบัดจิตสังคมและนักศึกษากิจกรรมบำบัดปีสองท่านหนึ่ง


สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน >0< กลับมาพบกันอีกครั้งในรอบหลายเดือนเลยนะคะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่งานเขียน (จริง ๆ ก็ข้อสอบ) ชิ้นใหม่ของพิชญาอร ถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหม่เลยก็ว่าได้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามคงต้องลองกันสักตั้ง วันนี้มาในโจทย์ที่ว่า

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skill Life Design + Supportive Engagement อย่างไรในนักศึกษากฎหมายซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย สอบตกทุกวิชา

.

.

ผู้ที่มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิต ไม่ได้เป็นผู้ที่ผิดปกติ แต่อาจจะเป็นเพราะปัจจัยส่วนตัวทั้งภายในและภายนอก อย่างสารเคมีในสมองที่ทำงานไม่สมดุลกัน สิ่งแวดล้อม หรือสังคมรอบข้างต่าง ๆ บีบบังคับให้เข้าสู่ภาวะที่มีความทุกข์นี้ ดังนั้น ผู้มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิตอาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการทำงาน การใช้ชีวิต สังคม และการเรียนรู้ แนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้คนจัดการกับอาการและปรับปรุงการทำงานได้ เรียกว่า Psychosocial Rehabilitation (PSR) หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม โดยเป้าหมายของการฟื้นฟูคือการสอนทักษะทางอารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะทางสังคมที่ช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสามารถดำรงชีวิตอย่างมั่นใจ เป็นอิสระ และมีความสุขมากที่สุด แนวทางปัจจุบันที่ใช้ใน Psychosocial Rehabilitation เน้นฟื้นฟูการทำงานของจิตใจซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลตามบริบท

 

 

ในขั้นตอนเริ่มแรกทางกิจกรรมบำบัด นักกิจกรรมบำบัดควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิตระหว่างการสัมภาษณ์ เน้นเข้าใจในมุมมองของผู้รับบริการ ให้โอกาสผู้รับบริการในการเล่าอธิบายเรื่องอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงคำถามชี้นำเน้นเป็นคำถามปลายเปิดแทน แสดงสีหน้าท่าทาง ใช้ภาษากายที่เหมาะสม ติดตามเรื่องราวต่อเนื่อง สำรวจ ทำความเข้าใจปัญหาแบบลงลึกอย่างเอาใจใส่ ไวต่อสังเกตพร้อมตอบสนองกับปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้รับบริการอย่างทันท่วงที และมีการสรุปประเด็นสำคัญตอนท้าย โดยใช้ Therapeutic use of self หรือการที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ตนเองเป็นสื่อการรักษาควบคู่ไปด้วย และใช้ Clinical reasoning ต่าง ๆ อย่าง Narrative reasoning, Scientific reasoning, TTM (Interactive, Conditional, Procedural reasoning) ร่วมด้วยเช่นกัน จะทำให้ได้รับมุมมองที่หลากหลายและสร้างความไว้ใจ เพื่อให้เกิด Therapeutic relationship (สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด) ที่ดีได้ โดยสิ่งที่สำคัญคือ นักกิจกรรมบำบัดต้องมี Empathy มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความตระหนักรู้ในตนเอง เชื่อมั่นในคุณค่าของผู้รับบริการ เคารพในความเป็นมนุษย์ ให้เกียรติ ท่าทีเป็นกลางไม่ตัดสินถูกผิด มีความยืดหยุ่น และเชื่อมั่นว่าบุคคลทุกคนมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองและเติบโตขึ้นอยู่เสมอเป็นหลัก

 

ในการตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์ สามารถใช้ PERMA เป็นแนวทางสำคัญได้ โดยเลือกบางหัวข้อที่เหมาะสมและเข้ากับเรื่องราวของผู้รับบริการ ตามความหมายของแต่ละตัวอักษรในย่อหน้าด้านล่างนี้

P- POSITIVE EMOTION หรือ สิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกดี หรือหนทางจัดการกับอารมณ์ตัวเองเมื่อเผชิญปัญหาหรือมีความเครียด สิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางบวกได้ อาจจะเป็นสิ่งเรียบง่ายอย่างการดูภาพยนตร์โปรด รายการวาไรตี้ การเล่นเกม ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก เป็นต้น

E- ENGAGEMENT กิจกรรมอะไรที่ผู้รับบริการมีส่วนร่วมแล้วทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้จดจ่อกับนาฬิกา ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เราสนใจให้เวลากับมันอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น เล่นบอร์ดเกม ตกแต่งสวน ทำขนม

R- RELATIONSHIPS ใครที่ทำให้ผู้รับบริการมีความสุข รู้สึกสงบลง และคอยสนับสนุนผู้รับบริการอยู่ ตามปกติแล้วบุคคลมักเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ควบคุม และรับมือกับอารมณ์ของตนเองผ่านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การมีส่วนร่วมทางสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อตัวบุคคลได้ เช่น การสังสรรค์กับเพื่อน พูดคุยกันทางโซเชียลมีเดีย เขียนโปสการ์ดถึงครอบครัว เป็นต้น

M- MEANING อะไรเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีความหมายสำหรับผู้รับบริการ หรือรู้สึกคุ้มค่าที่ได้ทำมัน ซึ่งสิ่งที่มีความหมายนี้อาจจะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคลได้ในช่วงที่มีความเครียด และเป็นทางออกที่ดีในการขจัดความกังวล ตัวอย่างเช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา ทำโครงการอาสา บริจาคเพื่อการกุศล ไปไหว้บรรพบุรุษ

A- ACCOMPLISHMENT เป้าหมายที่ตั้งไว้ของผู้รับบริการคืออะไร แล้วจะสามารถทำสำเร็จได้อย่างไร แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่ง การหาบางกิจกรรมทำตามความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปลูกฝังความหวัง และเพิ่มความภาคภูมิใจหากทำสำเร็จ สิ่งสำคัญในการรักษาภาวะซึมเศร้าคือการเพิ่มระดับความท้าทายของกิจกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไปแทนที่จะก้าวกระโดด เช่น การทำ To do list ประจำวัน โดยจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม ลองเรียนรู้สิ่งใหม่โดยฟังพอตแคสต์ วางแผนออกกำลังกายทุกอาทิตย์ เป็นต้น

 

untitled image

แผ่นภาพ PERMA

ในการประเมินเบื้องต้น ควรมีการสังเกตอาการของซึมเศร้า วิตกกังวล หูแว่ว และสอบถามเกี่ยวกับการทานยาอย่างต่อเนื่องกับการบันทึกผลข้างเคียงจากยาร่วมด้วย รวมถึงการทำแบบประเมินต่าง ๆ หากมีความจำเป็น โดยทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้รับบริการเกิดการตระหนักรู้อย่างแท้จริงถึงสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบในจิตใจ ด้านการเรียน และการติดพนันของตน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างถูกทางและเหมาะสม

 

 

หลังจากที่นักกิจกรรมบำบัดได้ทราบสาเหตุของเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หูแว่ว ติดการพนัน จนเกิดปัญหาด้านการเรียน ทั้งจากการสัมภาษณ์และแบบประเมิน จะทำให้เราทราบถึงปัจจัยส่วนบุคคลในบริบทต่าง ๆ ของผู้รับบริการ นำมาสู่การเลือกกิจกรรมที่เป็นวิธีฟื้นฟูที่เหมาะสมกับตัวบุคคลมากที่สุด โดยใช้แนวทาง Components of Recovery 10 ข้อดังต่อไปนี้ประกอบการวิเคราะห์

1. Self-Direction: การชี้นำตนเอง โดยกำหนดเส้นทางการฟื้นฟูของตนเองอย่างอิสระเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ตามกำลังและทรัพยากรที่มีอยู่

2. Individualized and Person-Centered: การมีบุคคลเป็นศูนย์กลาง มีหลายวิธีในการฟื้นฟูโดยพิจารณาจากจุดแข็งเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับความต้องการ ความชอบ ประสบการณ์ และภูมิหลังทางวัฒนธรรม 

3. Empowerment: การเสริมพลังชีวิต บุคคลมีอำนาจที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดที่จะส่งผลต่อชีวิต โดยได้รับการสนับสนุนทั้งทางข้อมูลและจิตใจจากสังคมรอบข้าง เพื่อปรับแก้หนทางฟื้นฟูได้ถูกจุด 

4. Holistic: การมองสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งชีวิตของบุคคล ซึ่งรวมถึงจิตใจ ร่างกาย ความสามารถทางสมอง จิตวิญญาณ การตระหนักรู้ในตนเอง รู้จุดแข็งของตัวเอง รวมถึงที่อยู่อาศัย เครือข่ายสังคม การศึกษา สุขภาพจิต การรักษาพยาบาล การสนับสนุนของครอบครัวและชุมชน โดยสังคมมีบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาโอกาสที่สำหรับการเข้าถึงการสนับสนุนนี้

5. Non-Linear: ในกระบวนการฟื้นตัวอาจมีการยอมแพ้ในบางครั้ง จึงเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ทำให้บุคคลตระหนักรู้ในตนเองได้และสามารถเดินหน้าต่อได้อย่างเต็มที่ระหว่างการฟื้นฟู

6. Strengths: การมองจุดแข็ง ข้อดีของตนเอง และสร้างความสามารถที่หลากหลายจากจุดแข็งเหล่านั้น เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาและนำมาปรับใช้ในกระบวนการฟื้นฟูได้

7. Peer Support: การสนับสนุนซึ่งกันและกัน รวมถึงการแบ่งปันความรู้ ทักษะจากประสบการณ์ด้วยกัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเนื่องจากเกิดความรู้สึกของการได้เป็นเจ้าของ (sense of belonging) เป็นการสนับสนุนทางจิตใจที่ดีและทำให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

8. Respect: ความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติและการตีตรา ยอมรับเขาในสิ่งที่เขาเป็น ปกป้องสิทธิของเขา ทำให้เขาได้มีส่วนร่วมในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการยอมรับตนเองและมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นตัว 

9. Responsibility: มีความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการดูแลตนเอง และระหว่างการฟื้นฟู 

10. Hope: ความหวัง ความหวังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี ซึ่งผู้คนสามารถเอาชนะอุปสรรคที่เผชิญอยู่ได้ จากความหวังภายในใจ โดยผู้คนรอบตัวสามารถช่วยส่งเสริมความหวังได้ ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่บุคคลที่มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิตเท่านั้น ความหวังยังช่วยส่งเสริมความสามารถในการดำรงชีวิต ทำงาน เรียนรู้ และมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในสังคมได้ด้วยเช่นกัน

Harm Reduction: Recovery-Oriented Care 

วงล้อ Components of Recovery

 

 

โดยสรุปแล้ว นอกเหนือจากที่กล่าวมาเบื้องต้น นักกิจกรรมบำบัดอาจจะจัดโปรแกรมพฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดในชีวิตให้ผู้รับบริการ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลและทรัพยากรที่มี ร่วมกับการติดต่อระบบช่วยเหลือในสถาบันศึกษา ทั้งเรื่องการเรียน เช่น โครงการพี่ติวน้อง และทางด้านสุขภาพจิตอย่างโครงการเพื่อนใส่ใจเพื่อน เป็นต้น เพื่อให้ผู้มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิตมีการจัดการอารมณ์ได้ดี เข้าใจในตนเอง คิดบวกมากขึ้น นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีและมีความสุขสมบูรณ์ต่อไปค่ะ ^^

 

 

 

จบเรียบร้อยแล้วค่ะ -///- หากมีข้อติชมหรือมีคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่างเลยนะคะ ขอบพระคุณที่ติดตามอ่าน ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะทำสิ่งใดอยู่ขอเป็นกำลังใจให้ แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้า ส่วนครั้งนี้พิชญาอรขอลาไปก่อน สวัสดีค่า ~~

 

 

พิชญาอร มังกรกาญจน์ 6323012 เลขที่ 11

 

 

 

แหล่งอ้างอิง 

PERMA: https://www.epinsight.com//post/flourishing-in-stressful-times-ideas-for-self-care-using-perma

Components of Recovery: https://namitm.org/10fcr/ , https://mentalhealth.vermont.gov/services/adult-mental-health-services/recovery/ten-components-recovery 

Psychosocial Rehabilitation: https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796#toc-who-can-benefit-from-psychosocial-rehabilitationhttps://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796 

หมายเลขบันทึก: 695670เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2022 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2022 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท