Job Description งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


Job  Description

 

ส่วนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของตำแหน่งตามโครงสร้างขององค์กร

 

ชื่อตำแหน่ง  (ภาษาไทย) หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อตำแหน่ง (ภาษาอังกฤษ) The head of  School Children Counseling
กลุ่มงาน บริหารงานทั่วไป
ฝ่าย งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือทีมงาน จำนวน  10 คน  

 

ส่วนที่ 2  วัตถุประสงค์  (Objective  Purpose)

          

  1. เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือที่มีคุณภาพ และมีหลักฐานการตรวจสอบได้
  2. เพื่อส่งเสริมให้ครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆได้อย่างฉลาดและเหมาะสมกับตนเอง
  3. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือพัฒนาเต็มศักยภาพเป็นคนที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

 

ส่วนที่ 3  ความรับผิดชอบหลัก (Responsibilities)

 

หน้าที่หลัก

(Key Responsibilities)

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก

                              (Key Activities)

ร่องรอยหลักฐาน

(Trace evidence)

ผลที่คาดหวัง

(expected result)

1.การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

 

    ศึกษาข้อมูลและจัดทำระบบสารสนเทศข้อมูลนักเรียนด้านต่าง ๆ ได้แก่

1.1 ด้านความสามารถ  การเรียนและ ความสามารถอื่น ๆ

1.2 ด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม 

1.3 ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน

1.4 ด้านอื่นๆ 

สารสนเทศนักเรียนรายบุคคล

1)ระเบียนสะสม

2) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก(SDQ)

3)อื่นๆ เช่น

 -   แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์(E.Q.)

 -แบบสัมภาษณ์นักเรียนแบบ 

 -แบบสังเกตพฤติกรรม  นักเรียน   

 - แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองและเยี่ยมบ้านนักเรียน   ฯลฯ           

ระบบสารสนเทศข้อมูลนักเรียนรายบุคคลที่ครอบคลุมทุกด้าน

2.การคัดกรองนักเรียน

 

คัดกรอกนักเรียนออกเป็นกลุ่ม  3 กลุ่ม คือ

2.1กลุ่มปกติ

2.2กลุ่มเสี่ยง

2.3 มีปัญหา

โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากหน้าที่  1 แล้วคัดกรองนักเรียนตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน

1.เกณฑ์การคัดกรอง

2.แบบสรุปผลการคัดกรองและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล

3.แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นห้อง

 

จัดกลุ่มนักเรียนได้สอดคล้องกับสภาพปัญหา

3.ส่งเสริมนักเรียน

(สำหรับนักเรียนทุกกลุ่ม)

3.1 จัดกิจกรรมโฮมรูม

(Homeroom)

3.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามความถนัด 

3.3 จัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน

(Classroom meeting)หรือ

3.4 จัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่ครู   พิจารณาว่าเหมาะสมในการส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น

1. แนวทางในการจัดกิจกรรมโฮมรูมของโรงเรียน

2. แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามความถนัด

3. แนวทางการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนของโรงเรียน

4. แบบบันทึก /สรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิต

การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน และ อื่นๆ

 

-นักเรียนทุกกลุ่มได้รับการส่งเสริมตามศักยภาพ  

-เกิดระบบการทำงานเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมของนักเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและครู

         

 

 

 

หน้าที่หลัก

(Key Responsibilities)

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก

                              (Key Activities)

ร่องรอยหลักฐาน

(Trace evidence)

ผลที่คาดหวัง

(expected result)

4.การป้องกันการแก้ไขปัญหา

 

4.1 ให้บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

4.2 จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

4.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีรอบด้าน

4.4 กิจกรรมแนะแนว

4.5 กิจกรรมเพื่อช่วยเพื่อน

4.6 กิจกรรมซ่อมเสริม

4.7 กิจกรรมทักษะการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลานวัยรุ่น

4.8 การประชุมสหวิชาชีพเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียนที่ประสบปัญหา (case conference) 

 

1. บันทึกการให้บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

2. แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

3. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีรอบด้าน

4. แนวทางกิจกรรมแนะแนว

5. แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเพื่อน

6. แผนการจัดกิจกรรมซ่อมเสริม

7. แนวทางการจัดกิจกรรมทักษะการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลานวัยรุ่น

8. บันทึกการประชุมสหวิชาชีพเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียนที่ประสบปัญหา (case conference) 

8. บันทึก/สรุป การให้บริการให้คำปรึกษา,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน,กิจกรรมแนะแนว,กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน,กิจกรรมซ่อมเสริม กิจกรรมการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลานวัยรุ่น และผลผลิตจากการประชุมสหวิชาชีพเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียนที่ประสบปัญหา (case conference)

-นักเรียนได้รับคำปรึกษาเบื้องต้นทันถ่วงทีทั้งจากครูและเพื่อนและผู้ปกครอง

-นักเรียนมีความรู้และทักษะชีวิต เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

- ลดช่องว่างการสื่อสารระหว่างนักเรียนครูและผู้ปกครอง

-นักเรียนได้รับการแก้ปัญหาได้อย่างทันถ่วงที

- เครือข่ายความร่วมมือสหวิชาชีพในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5.การส่งต่อ

   5.1ส่งต่อภายใน

   5.2ส่งต่อภายนอก

5.1 การส่งนักเรียนไปยังครูที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือนักเรียนต่อไป  เช่น ครูแนะแนว ครูปกครองครูประจำวิชา ครูพยาบาล เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งต่อภายใน

5.2 การส่งนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอกโดยครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการซึ่งเป็นการส่งต่อภายนอก

1.บันทึกการส่งต่อของโรงเรียน

2. รายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน

นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

 

ส่วนที่ 4 ความยากง่ายของงาน  (Major Challenge)

          

  1. เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานักเรียนหลากหลายรูปแบบ
  2. ต้องประสานความร่วมมือกับบุคคลหลายส่วนบุคคลภายในได้แก่ ครูประจำชั้น ครูฝ่ายปกครอง

และครูคนอื่นๆ บุคคลภายนอกหลากหลายคนหลายอาชีพ ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อนและบุคคลอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน

  1. ต้องทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
  2. ต้องทำงานเชิงรุกและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  3. ต้องมีทักษะการทำงานด้านการให้คำปรึกษา การพัฒนาเยาวชนเชิงบวก การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย 
  4. ต้องมีความรู้เข้าเข้าใจบริบทและวัฒนธรรมของท้องถิ่น 

 

ส่วนที่ 5  ขอบเขตของผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinate  Responsibilities)

 

ตำแหน่ง จำนวนคน ขอบเขตงานโดยย่อ
1.เจ้าหน้าที่จัดการระบบสารสนเทศ 2 1.1 ออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนให้รอบด้าน
1.2 อบรมผู้เกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูลนักเรียน
1.3 บันทึกข้อมูลนักเรียน และสร้างเป็นฐานข้อมูล
1.4 ให้บริการข้อมูลนักเรียน
1.5 คัดกรองนักเรียน กลุ่มเสี่ยง
2.เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา 2 2.1 การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล
2.2 การให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่ม
3.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิต 3 3.1 ออกแบบและติดตามการจัดกระบวนการ Homeroom
3.2.กำหนด ออกแบบและติดตามการประชุมผู้ปกครอง
3.3 จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
3.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีรอบด้าน
3.5 ร่วมออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในกิจกรรมแนะแนว
3.6 จัดกิจกรรมเพื่อช่วยเพื่อน
3.7 จัดกิจกรรมซ่อมเสริม
3.8 กิจกรรมทักษะการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลานวัยรุ่น

 

ตำแหน่ง จำนวนคน ขอบเขตงานโดยย่อ
4.  เจ้าหน้าที่ประสานการให้ความช่วยเหลือ 1 4.1 พัฒนาเครือข่ายสหวิชาชีพเพื่อระบบการส่งต่อ
4.2.จัดการประชุมสหวิชาชีพเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียนที่ประสบปัญหา (case conference)
4.3 ส่งต่อการให้ความช่วยเหลือภายในสถานศึกษา
4.4 ส่งต่อการให้ความช่วยเหลือภายนอกสถานศึกษา เครือข่ายสหวิชาชีพ
4.5 ติดตามความก้าวหน้าการให้การช่วยเหลือ

 

 

 

ส่วนที่ 6 ผังโครงสร้างการบริหาร (Organization  Chart)

                        

                        

 

ส่วนที่ 7   ผังโครงสร้างการบริหารงาน  ( Administration Chart )

 

ส่วนที่ 8  การทำงานร่วมกับฝ่ายงาน หน่วยงานอื่น

 

หน่วยงาน/ตำแหน่งงานที่ติดต่อ

(Organization/Business Unit)

เรื่องที่ต้องติดต่อ

(task)

ความถี่

(Frequency)

1.ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา

1.1 จัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล

1.2 ร่วมคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

1.3 จัดกิจกรรม Homeroom

1.4 จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้น

1.5 จัดกิจกรรมซ่อมเสริม

1.6 สังเกตพฤติกรรมนักเรียน

1.7 ให้การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

ขึ้นอยู่กับ 

สถานการณ์ปัญหา

 

หน่วยงาน/ตำแหน่งงานที่ติดต่อ

(Organization/Business Unit)

เรื่องที่ต้องติดต่อ

(task)

ความถี่

(Frequency)

2.งานปกครอง

2.1 สร้างการเรียนรู้แนวคิดการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก

2.2 ร่วมคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

2.3 สังเกตพฤติกรรมนักเรียน

2.4 ให้การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

ขึ้นอยู่กับ 

สถานการณ์ปัญหา

3. งานแนะแนว

3.1 จัดกิจกรรมแนะแนว

3.2 ส่งต่อการให้คำปรึกษา

3.3 ร่วมคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

3.4 สังเกตพฤติกรรมนักเรียน

3.5 ให้การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

ขึ้นอยู่กับ 

สถานการณ์ปัญหา

4. งานเครือข่ายผู้ปกครอง

4.1 ประสานงานผู้ปกครองเข้าร่วมอบรมการสื่อสารกับลุกหลานวัยรุ่น

4.2 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ปกครองกับลูกหลานวัยรุ่น
4.3 ร่วมพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังพฤติกรรมนักเรียน

ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

 

5. ฝ่ายวิชาการ

5.1 ร่วมคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

5.2 พัฒนาเกณฑ์การวัดประเมินผลนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องสติปัญญา และการเรียนรู้

5.3 ให้การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จัดการเรียนการสอนซ่อมเสริม

ขึ้นอยู่กับ 

สถานการณ์ปัญหา

6. สหวิชาชีพ

5.1 ประชุมประชุมสหวิชาชีพเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียนที่ประสบปัญหา (case conference)

5.2 ให้การช่วยเหลือนักเรียนผ่านระบบการส่งต่อ

ขึ้นอยู่กับ 

สถานการณ์ปัญหา

7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนางานวิจัยเชิงปฏิบัติการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตลอดปีการศึกษา

 

ส่วนที่ 9 คุณสมบัติประจำตำแหน่ง (Job  Specification)

 

          9.1 วุฒิการศึกษา (Education Background)

                ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี  สาขาวิชาแนะแนว หรือสาขาจิตวิทยา หรือมีประสบการณ์การทำงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

          9.2  ประสบการณ์การทำงาน (Profession Experience)

                มีประสบการณ์ด้านการสอนวิชาแนะแนวหรือปฏิบัติงานแนะแนวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี

          9.3  ความสามารถประจำตำแหน่ง (Key Experience )

                9.3.1  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

                9.3.2  มีทักษะการพูดโน้มน้าวจิตใจ และการจูงใจ

                9.3.3  มีทักษะการบริหารความขัดแย้ง

                9.3.4  มีทักษะการประสานงาน

                9.3.5  มีทักษะการจัดทำแผนงานโครงการ

                9.3.6  มีทักษะการคิดเชิงระบบ

                9.3.7  มีการทำงานเชิงรุก

                9.3.8  มีความรู้เรื่องจิตวิทยา

                9.3.9 มีทักษะการสื่อสาร

9.4 คุณสมบัติอื่นๆ  (Other)

9.4.1 มีทักษะคอมพิวเตอร์ 

      9.4.2 มีทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

      9.4.3 มีทักษะการถอดบทเรียน 

      9.4.5 มีประสบการณ์การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

ส่วนที่ 10 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน      

          ขั้นตอนการปฏิบัติงานส่งเสริมทักษะอาชีพ  (Process  Flowchart) โดยทุกขั้นตอนยึดแนวคิดการทำงาน แบบ Deming Cycle

 

 

 

ส่วนที่ 11  ลงนาม

 

ผู้จัดทำ

(Prepared  By)

ผู้อนุมัติ

(Approved  By)

ผู้ดำรงตำแหน่ง

(Acknowledged  By)

(………………………………………….) (…………………………………………..) (…………………………………………)
วันที่.........../.............../.............. วันที่.........../.............../.............. วันที่.........../.............../..............
หมายเลขบันทึก: 693310เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2021 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2021 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท