ฝึกจิตให้เป็นคนเก่ง ดี และมีไฟ


ขอมอบความรู้สู่ประชาชนด้วยความรักความเข้าใจในกิจกรรมบำบัดศึกษาด้วยความขอบพระคุณยิ่งครับ อ้างอิง พระริวโนะสุเกะ โคอิเกะ เขียน. ณิชากร อุปพงษ์ แปล. ฝึกให้ไม่คิด. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ; 2559.

คำถามชวนคิด: ฝึกจิตให้เป็นคนเก่งไปทำไม คนเก่งคืออะไร และฝึกอย่างไร

คำตอบชวนทำ

  • ฝึกจิตให้เป็นคนเก่ง เพราะ คนเก่งจะได้มีวินัยเลือกคิดในสิ่งที่จำเป็นที่สุดและเหมาะสมที่สุดในเวลาขณะนั้น ไม่มัวคิดเรื่องอื่นที่เห็นแก่ตัวจนไม่ใส่ใจหรือเบื่อหน่ายต่อคนดีรอบตัว
  • คนเก่ง คือ คนที่ชอบครุ่นคิด (คาดหวังในอนาคต) จนหมกมุ่น (ย้ำระลึกจมอดีต) ทำให้พลังสมาธิต่ำลง หงุดหงิด สับสน ไม่ค่อยใส่ใจรับฟังเรื่องราวชีวิตของคนอื่น
  • ฝึกฟังคำพูดของเพื่อน แล้วพูดทวนด้วยน้ำเสียง อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ให้เลียนแบบเหมือนเพื่อนมากที่สุด ให้เพื่อนสะท้อนกลับว่า มีจุดใดไม่เพื่อนให้หัก 1 คะแนนแล้วตอบกลับทันทีว่าเหลือกี่คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 
  • ฝึกเพ่งมองไปข้างหน้าในสิ่งที่อยู่นิ่งเป็นธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ดอกไม้ แล้วหายใจเข้าออกสบาย ๆ ผ่อนคลาย พูดถามตัวเองในใจว่า "ตอนนี้จิตของเรากำลังดูอะไร ฟังอะไร ได้กลิ่นอะไร กำลังคิดอะไรบ้าง แล้วแยกแยะว่า มีเรื่องใดไร้สาระ กับ มีเรื่องใดมีสาระ  
  • ฝึกถามเพื่อนว่า คุณเก่งเรื่องอะไร ระหว่าง ดนตรี กีฬา หรือ ศิลปะ แล้วหลับตารอให้เพื่อนพูดคำตอบเป็นเสียงภายในใจ หลับตาเพ่งสมาธิ ให้กระแสจิตเป็นคลื่นเสียงพูดในใจส่งไปที่เพื่อนผู้ถามว่า “ขอให้เพื่อนได้ยินคำตอบว่า … (เลือก 1 จาก 3 คำตอบ)” ไปเรื่อย ๆ จนกว่าเพื่อนจะตอบคำตอบออกมา หากคำตอบไม่ถูก ให้กระซิบคำตอบนั่นเบาที่สุด จนกว่าเพื่อนจะตอบคำตอบออกมาเป็นอันจบ

คำถามชวนคิด: ฝึกจิตให้เป็นคนดีไปทำไม คนดีคืออะไร และฝึกอย่างไร

คำตอบชวนทำ

  • ฝึกจิตให้เป็นคนดี เพราะการพูดดีมีการรู้คิดถูกต้องและมีอารมณ์ดีที่มั่นคง เป็นเรื่องไม่ง่าย
  • คนดี คือ คนที่สังเกตการออกเสียงแห่งตน มีสติรู้เท่าทันความจริง - แยกแยะว่า เรายิ่งอยากให้ผู้ฟังยอมรับมาก ก็จะยิ่งเสียงดัง ยิ่งพูดเร็วด้วยการอัดข้อมูลมากมายจนพูดอยู่ฝ่ายเดียว เราควบคุม - หยุดพูดกลางคัน ใจร่มเย็น สงบนิ่ง ไม่พูดโอ้อวด ไม่โน้มน้าวใจ แต่เปิดใจ ยอมรับ ปรับน้ำเสียงให้อ่อนโยน ช้าลง และตั้งใจรับฟังคู่สนทนาโดยไม่ตัดสินอย่างใจร้าย ไม่คิดแทนอย่างใจร้อน และไม่ด่วนสรุปอย่างใจเร็ว
  • ฝึกอัดเสียงพูดแนะนำสิ่งที่ดีมีอยู่ในตัวเราสัก 3 ประโยค แล้วเปิดทวนฟัง สะท้อนคิดว่า พูดเร็ว ช้า หรือพอดี น้ำเสียงนุ่มนวล ดัง ค่อย เนื้อหาฟังแล้วได้พลังบวก เฉย หรือลบ
  • ฝึกย้อนระลึกถึงอดีต ว่าเวลาที่เรารู้สึกอึดอัด ไม่อยากพูดโต้ตอบ จะทำอย่างไรดี เงยหน้า กลอกตามองเฉียงขึ้นไปทางซ้าย (ถ้าเป็นคนถนัดมือขวา) แล้วหลับตาให้เห็นภาพในอดีต นับในใจสัก 1-2-3-4 ลืมตาแล้ว เขียนลงบนกระดาษว่า ภาพชัด หรือ ไม่ชัด รับรู้สึกเป็นภาพใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร จากนั้นให้มองหน้าตรง กลอกตาไปทางหูซ้าย (ถ้าเป็นคนถนัดมือขวา) แล้วหลับตาให้ฟังเสียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต นับในใจสัก 1-2-3-4-5-6-7-8 ลืมตาแล้ว เขียนลงบนกระดาษว่า เสียงที่ได้ยินพูดว่าอะไร มีการปลดปล่อยความโกรธมาก น้อย พอดี และมีการระงับอารมณ์โกรธนั้นอย่างไร
  • ฝึกตั้งคำถามสะกิดใจให้ตอบทันที เริ่มจากยืนหลับตา มือขวาจับสัมผัสสักครู่หนึ่งจนพอได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ แล้วเพ่งสมาธิไปที่หูซ้ายโดยใช้มือซ้ายดึงติ่งหูซ้ายเบา ๆ แล้วนำมือซ้ายมาวางบนมือขวา หายใจเข้าลึก ๆ ค้างไว้แล้วถามตัวเองวนไปมาว่า “ทำไมเราจึงขอโทษ ทำไมเราจึงแก้ตัว” เมื่อมีคำตอบผุดขึ้นมาในใจก็ให้เป่าลมหายใจออกยาว ๆ แล้วตอบให้ตัวเองได้ยิน จากนั้นก็เขียนคำตอบนั้นลงบนกระดาษ แล้วพิจารณาถามตัวเองอีกครั้งเพื่อเขียนคำตอบทันทีว่า “ทำไมถึงตอบแบบนี้”

คำถามชวนคิด: ฝึกจิตให้มีไฟไปทำไม มีไฟคืออะไร ฝึกอย่างไร

คำตอบชวนทำ

  • ฝึกจิตให้มีไฟ เพราะไฟที่ว่านี้มีพลังงานความคิดบวกที่ป้องกันสมองเสื่อมก่อนวัย
  • คนมีไฟ คือ คนที่พูดจาดีมีน้ำใจกับผู้อื่น ไม่คิดเปรียบเทียบในอารมณ์หงุดหงิดหากพบความผิดพลาดหรือความไม่สมบูรณ์แบบจนวิพากษ์วิจารณ์ กดดัน ดูถูกคนอื่นในแง่ลบ ไม่โกหกหลอกลวงคนอื่น เปิดใจยอมรับเพื่อเรียนรู้ความผิดพลาดให้เป็นครูแห่งตน ได้คติชีวิตสอนใจจาก ความไม่รู้ หรือ ความหลงไปในเสียงคิดของตนเอง หมั่นเพิ่ม “ความเอาใจเค้ามาใส่ใจเรา” และรู้จักพูดขอบคุณอย่างจริงใจให้อ่อนน้อมถ่อมตนทำให้ดีต่อคู่สนทนา ไม่พูดขอบคุณมากจนเกินไปหรือพูดเพื่อป้องกันตนเอง 
  • ฝึกให้นั่งมองตรงหน้า ก้มคอมองเข่า เป่าลมหายใจออกทางปากยาว ๆ นับเสียงพอดี 10 ย้อนกลับมา 1 โดยไม่กังวลการหายใจเข้าทางจมูก (หายใจเข้าจะทำเองอย่างอัตโนมัติ) จากนั้นให้หายใจเข้าทางจมูกค้างไว้ 1-2-3-4 แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากยาว ๆ นับ 9 ย้อนกลับมา 1 ทำอีกรอบนับ 8 ย้อนกลับมา 1 เป็นอันจบ
  • ฝึกให้หลับตา สมาธิเพ่งไปที่หูขวา ย้อนระลึกถึงเสียงที่เราเคยได้รับการตำหนิติเตียน เมื่อเสียงเข้ามาชัดเจน ให้พูดทวนเสียงที่ไม่พึงพอใจนั่น 3 รอบ ให้รอบแรกเป็นเสียงใดให้รู้ตัวว่าเรากำลังได้ยินเสียงโกรธสุด ๆ ของตัวเอง รอบสองเป็นน้ำเสียงที่เราพูดพอดี ช้า ๆ ว่า “เราให้อภัยคนที่ตำหนิเรา ขอให้เค้าหายคิดลบ 3 รอบ” และรอบสุดท้ายเป็นน้ำเสียงกระซิบกับตัวเองว่า “เราขอบคุณที่สงบใจ 3 รอบ”
  • ฝึกให้สมองโล่ง ด้วยการลืมตาเงยหน้าไปทางขวา ให้นิ้วชี้ชูขึ้นไปในระดับเหนือกระหม่อม จงนึกถึงภาพอดีตของ “ความสุขสุด ๆ ในชีวิตที่เราน้ำตาไหล” เมื่อเห็นภาพคมชัด หายใจเข้าลึก ๆ แล้วอ้าปากตั้งใจหัวเราะดัง ๆ 3 รอบ ต่อด้วยการยิ้ม 3 ระดับถ่ายรูปบนมือถือของตนเอง ได้แก่ สีหน้ายิ้มไม่เห็นฟัน ยิ้มยิงฟัน และยิ้มสุด ๆ หลับตาปี๋ ให้มองภาพรอยยิ้มนั้นแล้วลง #ยิ้มสู้มีไฟกัน        
หมายเลขบันทึก: 693158เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2021 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2021 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ฝึกฟังคำพูดของเพื่อน ก็พอทำได้ค่ะ

ถ้าเพื่อพูดแต่เรื่องตัวเองนานเกินไป จะทำอย่างไรดีคะ

ขอบพระคุณมากครับคุณแก้ว ถ้าเราพูดเรื่องตัวเองนานเกินไป แนะนำว่า ก่อนพูดในวงสนทนา เราจะกำหนดเวลาให้พูดไม่เกิน 3-5 นาที ครับ โดยเพื่อนในวงช่วยกันเตือนได้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท