ธมฺมนีติ ๑๑๙ ทุชฺชนกถา


ธมฺมนีติ ๑๑๙ ทุชฺชนกถา

ภาษิตของพ่อ

มูฬฺหสิสฺโสปเทเสน  กุนารีสรเณน จ
ขลสตฺตูหิ สํโยคา  ปณฺฑิโต ปยฺวสีทติ ฯ

โคลงสอง

มีลูกศิษย์โง่เหง้า  สอนทุกค่ำเย็นเช้า  ไป่ได้เข้าใจ

อยู่กับหญิงถ่อยถ้อย  ราวปากมีสักร้อย  พร่ำล้วนคำระคาย

อยู่ในหมู่อริแล้  ส่ำพวกพาลแท้  อยู่เพี้ยงใจพัง

สามสภาวะแต่ต้น  บัณฑิตตกฤๅพ้น  ต่ำต้อยลงพลัน

อธิบายศัพท์

โง่เหง้า : โง่เง่า ในที่นี้ต้องการคำที่มีรูปวรรณยุกต์ โท จึงใช้เป็นคำโทโทษ ความหมายคือ โง่มาก

ถ่อย : ชั่ว เลว ทราม

ระคาย : กระทบกระเทือนกายใจให้เกิดรำคาญไม่เป็นสุข

อริ : ข้าศึก คนที่ไม่ถูกกัน ศัตรู

ส่ำ : หมู่ พวก เหล่า

เพี้ยง : เท่า เสมอ เหมือน แผลงมาจากคำว่า เพียง

ถอดความ

มีศิษย์ที่โง่มาก พร่ำสอนตลอดเวลาก็ไม่อาจเข้าใจได้

อยู่กับหญิงปากร้าย เหมือนมีร้อยปากที่กล่าวถ้อยคำทำให้ไม่สบายใจ

อยู่ท่ามกลางศัตรูซึ่งเป็นพวกคนพาล อยู่ไปก็มีแต่ยุ่งยากลำบากใจ

ทั้งสามเหตุการณ์ที่กล่าวนี้ แม้บัณฑิตผู้มีปัญญาได้ประสบก็มีแต่จะตกต่ำลง

ดอกทับทิม

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

หมายเลขบันทึก: 693157เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2021 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2021 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความหมายหนึ่งของบัณฑิต ที่ใช้ในพระไตรปิฎก หมายถึงพระอรหันต์. กรณีถ้าเป็นท่านเหล่านั้น สิ่งภายนอกไม่ระคายจิตใจพวกท่านเลยครับ.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท