จิตร ภูมิศักดิ์ และภาพลักษณ์ในบริบททางการเมือง ตอนที่ 3


ชีวิตและผลงาน

คนที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยย่อมรู้ว่าจิตรเป็นนักวิชาการฝ่ายซ้าย และนักเรียนทางวรรณคดีและภาษาศาสตร์ จะรู้ว่าจิตเป็นกวีที่มีพรสวรรค์ในการเป็นตัวแทนกับชาวนาและกรรมกร แต่เหนือสิ่งอื่นใด เขาจะถูกจดจำว่าเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองและสังคมนิยม ที่เป็นนักคิดที่ก้าวหน้าและรักการปฏิวัติ ที่กล้าที่จะวิพากษ์กษัตริย์และพุทธศาสนา

จิตรเกิดในเดือนกันยายน วันที่ 25 ปี 1930 ในครอบครัวชนชั้นกลางไทย พ่อของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ทำการเก็บภาษี และแม่ของเขาเป็นเพียงแม่บ้านธรรมดา เขาเกิดในจังหวัดปราจีนบุรี ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย เพราะหน้าที่การงานของพ่อ เขาจึงย้ายที่บ่อยๆตอนเด็กๆ เขาย้ายมาอยู่กรุงเทพฯตอนอายุ 16 ปี

จิตรสนใจในการเขียนตอนเรียนอยู่มัธยม เขาเขียนกลอนไว้หลายบท โดยมากจะเป็นความรัก การจีบกัน และการเดินทาง ในตอนเด็กๆ เขาอาศัยอยู่ในพระตะบอง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนของประเทศไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ตอนนี้จะอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ที่นั่น เขามีความรู้เกี่ยวกับภาษาเขมร, ประวัติศาสตร์, โบราณคดี, และสามารถอ่านจารึกโบราณได้ ซึ่งในที่สุดจะนำมาสู่วรรณกรรมคลาสสิกของไทย เมื่อเขายังเป็นเด็ก เขาเขียนว่า “ฉันมีความหวังที่จะเป็นนักวิชาการวรรณกรรม แต่ในชีวิตจริงฉันอากจนสุดประมาณ ฉันต้องการซื้อหนังสือ แต่ไม่มีเงินซักกะบาท” ถึงแม้ว่าบทกวีที่เขาเขียนในช่วงนี้จะเป็นเรื่องความรักและการจีบหญิง แต่มีอยู่ 1 ชิ้นที่เขาเขียนในปี 1346 ที่แสดงให้เห็นถึงความรักชาติ เมื่อไทยสูญเสียพระตะบองให้แก่ฝรั่งเศส ในบทกวี เขากล่าวว่าหากประเทศไทยมีความเข้มแข็งและมีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง บรรดาดินแดนที่เคยสูญเสียไปจะกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง

เพราะความมีอัจฉริยะด้านภาษาศาสตร์ และเป็นนักอ่านที่อ่านแบบไม่หยุด เขาสมัครในคณะอักษรศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 1950 ในช่วงระหว่างเรียน เขารับอุดมการณ์แบบมาร์กซิสต์มา และเขียนบทความทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย มี 2 บทความที่เขาเขียนในหนังสือประจำปีของจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเขาเคยเป็นบรรณาธิการในปี 1953 ก่อให้เกิดการโต้เถียงครั้งยิ่งใหญ่ในมหาวิทยาลัย ผลก็คือเขาถูกถีบจากเวทีโดยนักเรียนอนุรักษนิยม เหตุการณ์ต่อมาเรียกกันว่า การโยนบก ในหนังสือประจำปีที่เขาเขียนบทความที่วิจารณ์พระสงฆ์เพราะว่านิสัยเห็นแก่วัตถุและตะกละตะกราม และบทกวีที่ก่นด่าหญิงรักสนุกที่กำลังท้อง โดยการบอกว่าเธอไม่สมควรได้รับคำยกย่องว่าแม่เลย บทความเหล่านี้ทำให้เขาต้องหยุดพักการเรียนในมหาวิทยาลัยปีครึ่ง และตำรวจก็มองว่าเขาเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย การที่เขาถูกตำรวจเพ่งเล็งเพราะการวิจารณ์พุทธศาสนาและผู้หญิง ซึ่งเป็น 2 สิ่งที่เป็นคุณค่าหลักในสังคมไทย จะถูกถือว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม ระหว่างและหลังจากการพักการเรียน จิตรยังคงผลิตงานที่วิพากษ์ศักดินาไทย, อาณานิคม, และการเขียนประวัติศาสตร์โดยยึดกษัตริย์เป็นศูนย์กลางเหมือนเดิมและมากขึ้น ในรูปแบบของบทกวี บทความ การทบทวนวรรณกรรม และการแปลนวนิยายสังคมนิยม

จาก Piyada Chonlaworn. Jit Phummisak and His Image in Thai Political Contexts.

หมายเลขบันทึก: 692752เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท