การรับมือกับความวิตกกังวลในการสอบออนไลน์


ในปีเดือนมีนาคม 2020 องค์การอนามัยโลก WHO ได้ประกาศการระบาดของโคโรน่าไวรัส ในฐานะการระบาดใหญ่และเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตมนุษย์ทั่วโลก วันที่ 25 มิถุนายน 2563 มีรายงานผู้ป่วย 9ล้านราย และผู้เสียชีวิตอีก ครึ่งล้าน จาก 204 ประเทศทั่วโลก

การlockdown ถูกประกาศใช้ทั่วประเทศ ซึ่งหยุดกิจกรรมเกือบทั้งหมด และโลก ก็มาถึงจุดที่หยุดนิ่ง พร้อมผลกระทบทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เริ่มปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่างๆ ทั้งความโกรธ ความสับสน ความวิตกกังวล และความเครียด ผลกระทบจากหลากหลายปัจจัย ส่งผลกระทบโดยตรงกับวิถีชีวิต ทั้ง สังคม เศรษฐกิจ และรวมไปถึง ภาคการศึกษา เช่นกัน 

 

ภาคการศึกษาได้รับผลกระทบอย่างมากจากการปิดสถาบันการศึกษา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก นั่นคือ การย้ายการเรียนการสอนไปสู่ online platform ปัญหาการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง จากหลากหลายปัจจัย นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเตรียมตัวรับมือได้ทัน ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลของนักเรียนนักศึกษาเป็นอย่างมาก

แล้วสาเหตุของความวิตกกังวลคืออะไร?

นักเรียนนักศึกษาอย่างเราต้องเผชิญกับการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลตามมา แต่ที่มากไปกว่านั้น นอกจากการเรียนออนไลน์แล้ว นักเรียนและนักศึกษายังต้องมีการสอบออนไลน์ ที่มีเกณฑ์ในการวัดผลรูปแบบเดิม แต่วิธีการสอบที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความวิตกกังวลที่มีอยู่เดิมจากการเรียน จะเพิ่มทวีคูณขึ้นในทุกๆครั้งที่มีการสอบ เป็นผลมาจากความมั่นไม่ใจในเรื่องความยุติธรรมในการสอบ เเละความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของการรับรู้ความสามารถสูงสุดของตนเอง (Self efficacy) ต่ำลง ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ผลกระทบของไวรัสโคโรน่าต่อความวิตกกังวลในการสอบออนไลน์และการรับรู้ความ

วิดิโอด้านล่างนี้จะอธิบายถึงสาเหตุของความวิตกกังวลในการสอบออนไลน์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

การรับมือกับความวิตกกังวล

เมื่อทราบถึงสาเหตุของความวิตกกังวลแล้ว ต่อมาเราจะมาเรียนรู้วิธีการจัดการความวิตกกังวลในบริบทการสอบออนไลน์ เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาได้อย่างตรงจุด ซึ่งงานวิจัยในปี 1997 ของ KONDO ได้กล่าวว่าวิธีที่ทำให้ความวิตกกังวลลดลงไว้ 5 วิธีด้วยกันคือ การคิดบวก การผ่อนคลาย การเตรียมตัวให้พร้อม การลาออก การทำสมาธิ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ กลยุทธ์ในการรับมือกับการสอบ ต่อมาในปี 2021 มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย พบว่า ปัจจุบันนักศึกษาส่วนมากใช้วิธีการจัดการกับความวิตกกังวลตามความสามารถเเละความสะดวกของตนเอง เช่น การทำโยคะและการนั่งสมาธิก่อนสอบเพื่อสงบอารมณ์ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ การรับมือกับความวิตกกังวลของการสอบออนไลน์ในสถานการณ์โรคระบาด ส่วนรายละเอียดของวิธีการต่างๆสามารถดูเพิ่มเติมได้ในคลิปต่อไปนี้

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

แต่ถ้าหากคุณจัดการกับความวิตกกังวลด้วยตนเองแล้ว ความวิตกกังวลยังคงอยู่จนกระทบกิจวัตรประจำวัน หนึ่งในวิชาชีพสามารถช่วยคุณได้นั่นก็คือ “นักกิจกรรมบำบัด” ซึ่งจะมีทั้งการประเมินความวิตกกังวล และออกแบบการรักษาร่วมกับคุณ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของคุณ โดยรายละเอียดต่างๆของบทบาทนักกิจกรรมบำบัดต่อการลดความวิตกกังวลมีดังต่อไปนี้

 

ผู้จัดทำ

  • นาย กฤษณพัชร์ น่วมมะสิงห์ 6223005
  • นางสาว ฑิตยา วชิระนภศูล 6223022
  • นางสาว สรัลพร กันภัย 6223030
  • นางสาว สู่ขวัญ ธรรมโม 6223033

นักศึกษาคณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล 








 

หมายเลขบันทึก: 692519เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2021 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท