ควบคุมต่างจากกำหนดอารมณ์อย่างไร?


Cited with Acknowledgement at https://childdevelopment.com.au/areas-of-concern/sensory-processing/self-regulation/ and https://bpac.org.nz/2020/bpsd.aspx

มุมมองกว้าง ๆ ที่คุ้ยเคยตามจิตวิทยาพัฒนาการ 7 ปี แรกแห่งชีวิต เจตจำนง หรือ เจตนารมณ์ ประกอบด้วย ตั้งใจมุ่งหมาย - กิจกรรมรอบตัวมีความหมายให้สำรวจ สังเกต สื่อสาร สร้างสรรค์ และเรียนรู้การไหลลื่นด้านอารมณ์สังคมจากต้นแบบผู้ที่อายุมากกว่าทุกคน เรียก Social Emotional Learning Flow ย่อว่า SELF จากนั้นเริ่มลงลึกถึงการควบคุมอารมณ์บวกลบจากกระบวนการทำงานสมองอารมณ์/ลิมบิกที่ควบคุมผ่านไฮโปทาลามัสแบบ “หนีหรือสู้” ในช่วง 14 ปีแรกต่อด้วย 21 ปีแรกเริ่มกำหนดอารมณ์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ผ่านการรู้คิดลงมือทำแบบ “ยอมรับหรือไม่ยอมรับ” ความผิดพลาดในการแก้ปัญหารอบ ๆ ด้วยจิตอิสระแบบเติบโตด้วยพลังใจในตัวเองหรือยึดติดด้วยแรงบังคับจากผู้ใหญ่

ในมุมมองลึก ๆ การควบคุมอารมณ์ของเด็กจะเริ่มจากการปรับพฤติกรรมตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกให้ทำในช่วงวัย 1-1.5 ปี จนถึง 2 ปีที่เด็กจะควบคุมอารมณ์ด้วยตนเองแบบไม่มีคุณพ่อคุณแม่กำกับ และเด็กจะอ่านใจทำตาม “ความต้องการ” ของคุณพ่อคุณแม่ตามประสบการณ์ที่ผ่านมาในการกำกับอารมณ์กลัว เศร้า โกรธได้ ตอน 3 ปี ประกอบด้วย

  • Sensory Regulation: เด็กตื่นตัวตอบสนองต่อสิ่งเร้าในปัจจุบันขณะ
  • Emotional Regulation: เด็กริเริ่ม ยับยั้ง ปรับปรุง อารมณ์ตามกติกาที่สังคมยอมรับ
  • Cognitive Regulation: เด็กใช้กระบวนการรู้คิดจิตจดจ่อสะท้อนอารมณ์มุ่งแก้ปัญหาให้สำเร็จอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีองค์ประกอบมากมาย เช่น การบริหารความคิดอย่างมีเหตุผล การวางแผนลำดับขั้นตอนทำงาน การทำความเข้าใจภาษาได้อย่างเร่งรัด การดึงคลังความทรงจำนำมาใช้งานทันที เป็นต้น

หากมีความตึงเครียดทางอารมณ์จนเกิดปัญหาทางพฤติกรรม นักกิจกรรมบำบัดจะออกแบบโปรแกรมฝึกทักษะการกำกับอารมณ์ในหลากหลายกรอบการทำงาน เช่น การใช้เรื่องเล่าเป็นภาพมีคติสอนใจ การแสดงบทบาทสมมติ การสื่อสารซ้อมสนทนา การปรับสื่อชี้นำการรับรู้สึกนึกคิด การเล่นผ่าน Motor-Oral-Respiration-Eye (M.O.R.E.) เป็นต้น

เมื่อวานมีสื่อมวลชนสอบถามว่า 

1.กิจกรรมให้เด็ก 2 ขวบเล่นสเก็ตซ์บอร์ด การที่พ่อ-แม่สนับสนุนให้ลูกเล่นกีฬาเอกสตรีมตั้งแต่วัย 2 ขวบ ถือเป็นหนึ่งในวิธีเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ 

ตอบ ถ้าต่ำกว่า 5 ระบบประสาททรงตัวป้องกันล้มบาดเจ็บไม่ดีนัก แต่ก็มี 3-5 ปีหลายคนฝึกยอมบาดเจ็บ ในคลิป 2 ขวบ ก็ต้องระวังอย่างยิ่ง จึงไม่ใช่วิธีเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เพราะเด็ก 2 ขวบต้องการเล่นด้วยอารมณ์สนุกสนาน ถ้าอารมณ์วิ่งเล่นเกมส์กีฬากับพ่อแม่จะเริ่ม 3-5 ปี ถ้าอารมณ์ฝึกฝนให้เป็นนักกีฬา คือ 12 ปีขึ้นไป  

2. อย่างคลิปสเก็ตบอร์ดของเด็ก 2 ขวบครึ่ง อาจารย์มองว่าความเหมาะสมในการเล่นควรอยู่ในระดับไหน 

ตอบ การเล่นทรงตัวบนสเก็ตแล้วรู้จักป้องกันล้มบาดเจ็บได้ดี คือ 5 ปีขึ้นไป โดย 5-10 ปี มีผู้ปกครองดูแล ใส่หมวกใส่ที่รองศอกเข่า ต่ำกว่า 5 ปีมีโอกาสบาดเจ็บที่สมอง 25% อีก 75% ข้อมือข้อเท้าแพลงหัก

3. คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่กำลังฝึกลูกวัย 2-3 ขวบ เล่นกีฬาเอกสตรีมทุกชนิด

ตอบ แนะนำผู้ปกครองสังเกตการเล่นสมวัยเพื่อสนุกสนานได้สังคม อารมณ์ดี การบังคับกีฬาเอกสตรีมก่อนวัยอันควรทำให้อารมณ์ใจร้อนใจเร็ว ควรมีผู้ใหญ่ดูแลความปลอดภัย สวมหมวกได้มาตราฐาน ฝึกเรียนรู้การล้มให้เกิน 1 สัปดาห์ แนะนำ 5-10 ปี บอร์ดกว้าง 7.5 นิ้ว ระวังอุบัติเหตุรถชน 25% อันที่จริงด้วยความเป็นห่วง เด็กวัย 1-3 ปี ต้องการเรียนรู้ผ่านการเล่นแบบจินตนาการจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เด็กวัย 3-5 ปี ต้องการเรียนรู้ความมีน้ำใจและการจัดการอารมณ์ดีด้วยการเล่นเกมส์กับพ่อแม่ผู้ใหญ่ใจดี ซึ่งบางส่วนของการกีฬามีหลายองค์ประกอบที่มีกติกาน่าสนใจทำเป็นเกมส์บางขั้นตอนได้ เด็กวัย 5-12 ปีต้องการเล่นเป็นเกมส์กีฬากับเพื่อนวัยเดียวกันด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา และเด็กวัย 12 ปี เป็นต้นไป ก็จะฝึกเป็นนักกีฬาได้ทุกประเภทรวมทั้งเอกสตรีม ยกเว้น กีฬาที่ค่อย ๆ เตรียมพัฒนาการทางกล้ามเนื้อการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความคล่องแคล่ว และความแข็งแรง จะเริ่มได้ในวัย 5 ปีขึ้นไป เช่น ยิมนาสติก ว่ายน้ำ เล่นสเก็ตส์บอร์ด เป็นต้น 

4. อยากชวนอาจารย์พูดคุยเรื่องการฝึกสมาธิ การฝึกประสาทด้วยกิจกรรมทำสองอย่างควบคู่ (ยกกรณีคลิปคนร้องเพลงไปด้วยทำอาหารไปด้วยเป็นกรณีศึกษา)

ตอบ งานวิจัยทางการแพทย์ พบ 58% รสชาดอาหารดีขึ้น แต่ควรเป็นเพลงที่เกิดสมาธิ ฟังแบบนิ่ง ขยับทำอาหารใช้ตาและมือที่ไม่มีของมีคม ไม่มีของไหม้ร้อนเกินไป จะอันตรายได้

5. มีกิจกรรมการทำสองสิ่งควบคู่กันกิจกรรมไหนที่อาจารย์อยากแนะนำให้คนทั่วไปลองทำกันหรือไม่

ตอบ อายุ 7-10 ปี เริ่มทำสองสิ่งพร้อมกัน Dual Task แบบ กิจกรรมใช้ตาหรือหูนิ่ง ๆ กับกิจกรรมใช้มือขยับเล็กน้อย จะอันตรายในวัย 70 ปี วัยเกิน 10 ปีที่มีอาการจิตเวช สมองเสื่อม และโรคเรื้อรัง

6. อาจารย์มีคำแนะนำการบริหารหรือการทำกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในยุคโควิด-19 หรือไม่ อาจารย์มองว่ากิจกรรมใดที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพของระบบร่างกายและระบบประสาทในผู้สูงวัยได้บ้างครับ 

ตอบ กิจกรรมสำหรับผู้สูงวัย 65 ปีขึ้นไปจะเน้นการผ่อนคลายอารมณ์ให้เพลิดเพลิน มีสมาธิจดจ่อเพียง 1 งาน ไม่ทำสองงาน ทำสิ่งที่เคยชอบอีกครั้งเป็นงานอดิเรก หรืออาจจะหารายได้บ้าง เช่น ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ขายของออนไลน์ ปลูกดอกไม้ พิมพ์เขียนจดหมายแต่งกลอน ฟังดนตรีแล้วร้องเพลงที่สร้างพลังใจ ชวนลูกหลานมาทำอาหารด้วยความรักความเข้าใจในครอบครัว

พอมาถึงวัยวุฒิภาวะทางสมองที่ 25 ปี ก็ต้องการดึงศักยภาพนั้นไปปรับใช้แก้ปัญหาให้ได้เชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน 4/7 ขึ้นไป เพื่อสะสมคุณค่าภายในตนเองเกิดเป็นการตอบสนองความภาคภูมิใจในช่วง 25-35 ปี หากไม่ได้ทำสิ่งใดท้าทายและสร้างสรรค์ตามบทบาทพลเมืองดีมีน้ำใจในช่วง 35-45 ปี ก็จะก้าวย่างสู่การรู้จักตนเองด้วยความรักความเข้าใจแท้จริงไม่เกิน 50 ปี แต่ถ้าบางท่านสะสมความคิดลบตลอดช่วง 20-50 ปี ก็มีแนวโน้มให้สมองเสื่อมก่อนวัยหรือทำงานหนักเกินไปด้วยความวิตกกังวลตั้งแต่ 40 ปีเป็นต้นมา แล้วเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมต่อมาในช่วง 70 ปีเป็นต้นไป ลองมาศึกษาเตรียมรับมือกับปัญหาพฤติกรรมจิตใจจากอาการสมองเสื่อม หรือ BPSD, Behavioral Psychological Symptoms Dementia ดังตัวอย่าง 

  • Agitation & Aggression 60%: กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข บ่นร้องปวด โมโห คุกคาม ต่อต้าน ตี ถุยน้ำลายใส่ เพราะเบื่อ ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ไม่ได้ดังใจต้องการ นักกิจกรรมบำบัดฝึกนวดมือ Hand under Hand ถุงมือสัมผัส หุ่นสัตว์เลี้ยง ดนตรีบรรเลง ลดความไวด้วยผิวสัมผัสละเอียดมากไปน้อย
  • Apathy 55-90%: คิดริเริ่มไม่ได้ แรงจูงใจต่ำ สีหน้าเฉยเมย ไม่มีเป้าหมาย ไม่เศร้า ไม่เครียด นักกิจกรรมบำบัดฝึกอ่านใจ กระตุ้นให้ถาม จัดกลุ่มเล็ก ๆ เล่นเกมส์สนุกสนาน
  • Anxiety 16-35%: วิตกกังวลจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก  เพิกเฉยต่อสิ่งรอบตัว นักกิจกรรมบำบัดค้นหา “สิ่งเร้า” มากกว่าควบคุมอาการ คงความสามารถในการทำกิจกรรมเป็นประจำ ลดการให้ตัดสินใจในสิ่งเร้าที่มากเกินไปจนไม่สงบ ดนตรีผ่อนคลาย
  • Depression 20%: น้ำตาไหล ร้องไห้ คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ถอยหนี เหนื่อยล้า อยู่เฉย ไม่ทำอะไร นักกิจกรรมบำบัดเพิ่มพฤติกรรมพลังบวกผ่านการรับรู้สึกที่หลากหลาย ดนตรีปรับอารมณ์ ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยง การขยับออกกำลังสมองผ่านการรับรู้สึกทีละอย่าง
  • Disinhibited Behavior: ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ ไม่เข้าใจผู้อื่น พูดจาหยาบ เหยียดเพศ ไม่รู้กาลเทศะ ตีความไปเอง ผลจาก Dopamine ที่มากเกินไปใน Parkinson's นักกิจกรรมบำบัดใช้ Distraction & Redirecting โดยกระตุ้นสิ่งที่ชอบ/สิ่งที่อยากรู้ ย้ำผู้ดูแลไม่วิ่งหนี แต่ให้สื่อสารให้ชัดเจนว่า “คนไข้กำลังต้องการอะไร”
  • Wandering: เดินคิดวน ระบุทิศทางการเดิน 2 จุดไม่ได้ นักกิจกรรมบำบัดปรับสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยแก่คนไข้ ในกรณีมี Sundowning ก็จะหลับบ่อยหลังกลางวัน ชวนขยับร่างกาย เดินในพื้นที่มีเป้าหมาย จำกัดของเหลวก่อนนอน 2 ชม. ลดแสงเสียงที่เร้าการนอน ประเมินว่า “อะไรทำให้คนไข้ตื่นตอนกลางคืน (Nocturnal disruption)
  • Psychosis 25%: หลงผิดเพราะสูญเสียความทรงจำ และ/หรือ ประสานหลอนจากภาพ/สัมผัส (ต่างจากจิตเภทที่มีหูแว่วกับหลงผิดเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นจริง) นักกิจกรรมบำบัดเน้น Matter of fact ถ่ายรูป/บันทึกเสียงให้เห็นข้อเท็จจริง และ ใช้ Distraction & Redirecting โดยกระตุ้นสิ่งที่ชอบ/สิ่งที่อยากรู้ แนะนำวิเคราะห์ Unmet Need ของคนไข้ให้ชัดเจน ศึกษาคลิปนี้

และมีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมหลายแห่งสนใจสอบถามนักกิจกรรมบำบัดถึงการเข้าหาให้อารมณ์ดี ผมเลยสรุปดังภาพข้างล่าง

อ้างอิงจาก Teepa Snow นักกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการณ์สมองเสื่อมดีต่อใจ

สำหรับวัย 12-25 ปี นักกิจกรรมบำบัดจะประเมินด้วยการอธิบายเหตุผลของ “ความกังวลที่พอดี” ดังรูปข้างล่าง

นักกิจกรรมบำบัดประเมินให้ชัดว่า คนไข้วิตกกังวลจากความคิดลบ อารมณ์อ่อนล้า-ไม่มั่นใจ 1-3/7-ไม่ให้อภัย ปวดตึงร่างกาย 

จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดเริ่มใช้ Color-Energy Healing คือ การผสมผสานหลักการ Energy Conservation เพื่อเพิ่มสมรรถนะทางใจ (Mental Fitness) รวมเป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง Cognitive Therapy ดังรูปข้างล่าง

การสร้างความไว้ใจให้คนไข้เรียนรู้คิดเป็นระบบด้วยอารมณ์ที่มั่นคงมากขึ้นหลังจากสนทนาจนเข้าใจต้นเหตุของความกังวล

 ขอบพระคุณอาสาสมัครนักศึกษากิจกรรมบำบัดสองท่าน ขออนุญาตสรุปกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดคลายกังวล ดังนี้

  • S: มือขวาจับหัวใจ ให้สัมผัสรับรู้เสียงหัวใจเต้นแรง ช้า พอดี นศ. บอกว่า เต้นแรง
  • O: เห็นศีรษะเอียงไปขวา ให้หายใจเข้านึกถึงสีเขียว (คิดเรื่องตนเอง) หายใจออกพูด Clear นำความกังวลออกไป จนหัวใจเต้นพอดี
  • A: มือซ้ายจับศีรษะ ปลายนิ้วโป้งชี้ติดกันวางไว้หน้าตัก หายใจเข้านึกถึงสีเหลือง (รับผิดชอบ) พูดในใจให้จัดลำดับความสำคัญของการบ้านจากง่ายไปยาก 5 งาน
  • P: Self-efficacy scale เปลี่ยนจาก 5 เป็น 6/7 ปล่อยวางความกังวลด้วยวิธี ค่อย ๆ ทำการบ้านและพักผ่อนให้พอ
  • S: มือขวาจับหัวใจ ให้สัมผัสรับรู้เสียงหัวใจเต้นแรง ช้า พอดี นศ. บอกว่า เต้นแรง นิ้วชี้ซ้ายระหว่างคิ้ว รับรู้สีม่วงดำ
  • O: เห็นศีรษะเอียงไปขวา ให้หายใจเข้านึกถึงสีม่วงอ่อน หายใจออกพูด Clear นำสีดำความกังวลออกไป จนหัวใจเต้นพอดี
  • A: นวดไทมัส ต่อด้วยนวดไทรอยด์ พูดบวกว่า “ให้แก้ปัญหาได้” และจับสมองออกเสียง EEE 5 รอบ
  • P: Self-efficacy scale เปลี่ยนจาก 4 เป็น 6/7 ปล่อยวางความกังวลด้วยวิธี ตั้งใจติดต่อเจ้าหน้าที่ตรงเวลาพรุ่งนี้

โดนสรุปคือ กระบวนการคลายกังวลด้วยการใช้สติแห่งตน (Therapeutic Use of Self-Conscious) เพื่อเพิ่ม Self-regulation ขณะแก้ปัญหาด้วยความเป็นจริงและอารมณ์เป็นอยู่ดี (Emotional Well-being) อย่างน้อยไม่เกิน 30 นาทีต่อเคส ดังรูป

จะลืมตาหรือหลับตาตามจริตของคนไข้ แต่แนะนำให้ถอดแว่นตาออกขณะสัมผัสร่างกายกับจินตนาภาพสี ถือเป็น Metacognition อย่างหนึ่งเรียก คิดใคร่ครวญ (Thinking of Thinking)

หากกัลยาณมิตรคิดบวกทุกท่านต้องการรับฟังรับชมคลิปบรรยายและสาธิตแบบย่อ คลิกที่ 

หมายเลขบันทึก: 692442เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2021 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2021 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท