Breathing Exercises กับสถานการณ์โควิด19ในประเทศไทย


Breathing Exercises กับสถานการณ์โควิด19ในประเทศไทย

ทางผู้จัดทำได้ทำวิดีโอไว้ทั้งหมด 3 คลิป ซึ่งมีหัวข้อดังนี้

        คลิปที่ 1 หัวข้อการฝึกการหายใจสำคัญยังไงกับโรคโควิด19

        คลิปที่ 2 วิธีการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)

        คลิปที่ 3 ประโยชน์และวิธีการวัดสัญญาณชีพเพื่อดูผลของการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)     

 

คลิป1 หัวข้อการฝึกการหายใจสำคัญยังไงกับโรคโควิด19

        ปัจจุบัน COVID-19 มีการแพร่ระบาดในประเทศไทยอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ซึ่งเห็นได้จากยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตที่ยังคงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนจำนวนมากในทุกเพศและทุกวัยทั้งในด้านกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป รายได้ที่ลดลงในขณะที่รายจ่ายยังคงเท่าเดิมหรืออาจเพิ่มมากขึ้นในบางครอบครัว คนบางกลุ่มมีสุขภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปจากการติดเชื้อ COVID-19 ในขณะที่คนบางกลุ่มมีสุขภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว หรือจากการได้รับข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียและยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจของทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และบุคคลอื่นๆในสังคมที่ได้รับข่าวสาร

         Frame of reference ที่ทางผู้จัดทำได้เลือกใช้ในการจัดทำวิดีโอ ได้แก่

  • Rehabilitative Frame of reference 

                  ใช้กับผู้รับบริการ COVID-19 ในกลุ่มสีเขียวที่ต้องได้รับการฟื้นฟูของปอด เนื่องจากปอดถูกทำลายทำให้เกิดการเหนื่อยล้าที่ขัดขวางกิจกรรมการดำเนินชีวิต

        ทำไมถึงใช้ Frame นี้ ?

                - สามารถฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพของโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถหายได้ถาวร และช่วยให้ผู้รับบริการที่มีความสามารถเคลื่อนไหวตัวลดลง ช่วยเพิ่มการเข้าถึงกิจกรรมจากการปรับที่ตัวบุคคล

                - ลดอาการเหนื่อยล้า โดยใช้การฝึกการหายใจ

        

  • Occupational Adaptation Frame of reference

                สำหรับผู้รับบริการที่ไม่ติดเชื้อ และติดเชื้อ COVID-19 ที่มีความวิตกกังวลและความเครียดจากสถานการณ์ในปัจจุบัน 

        ทำไมถึงใช้ Frame นี้ ?

                Frame นี้จะพูดถึงความสัมพันธ์(interaction)ระหว่าง person และ occupation environment ถ้าส่วนไหนขาดไปก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้ต้องปรับตัว 


person : ผู้รับบริการทุกเพศทุกวัยที่ไม่ป่วยและป่วยโควิด

occupation environment : สถานการณ์โควิด 19 ในไทยที่มีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวาง 

interaction : ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ มีความวิตกกังวลและความเครียด

 

วิธีการประเมิน

  • Fatigue and Leisure management สอบถามจากผู้รับบริการ ประเมินความอ่อนล้าในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและกิจกรรมยามว่าง
  • Functional assessment
  • ADL assestment สอบถามกิจกรรมการดำเนินชีวิตอะไรที่ส่งผลกระทบกับตัวผู้รับบริการ
  • ประเมิน Psychosocial โดยการสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินสุขภาพจิต
  • ประเมิน Role and performance expectation โดยการสัมภาษณ์
  • ประเมินสัญญาณชีพ คือ ความดันและชีพจร โดยใช้เครื่องวัดความดัน
  • ประเมินค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด โดยใช้ Oximeter


คลิปที่ 2 วิธีการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)

Intervention

        เนื่องจากไวรัส COVID-19 เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำลายปอดและระบบหายใจ ส่งผลให้มีความสามารถในการทำงานของปอดลดลงและมีค่าออกซิเจนในเลือดลดต่ำลงตามไปด้วย ซึ่งจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University : JHU) พบว่าสมรรถภาพของปอดหรือความสามารถของปอดนั้นสามารถฟื้นฟูกลับมาได้โดยจำเป็นต้องมีผู้บำบัดเป็นผู้ให้กิจกรรมการรักษาอย่างต่อเนื่องหลังเข้ารับการรักษา

        Peiting Lien นักกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลจอนส์ ฮอปกินส์ได้กล่าวว่า “การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดควรเริ่มจากการเพ่งความสนใจไปที่การหายใจ” Peiting Lien ยังแนะนำอีกว่าการฝึกการหายใจ (Breathing exercise) สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กับผู้ป่วย COVID-19 และผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้ โดยได้เสนอการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)

Ref. : Coronavirus Recovery: Breathing Exercises | Johns Hopkins Medicine


        งานวิจัยเพิ่มเติมซึ่งเป็นงานวิจัยของ International Journal Of Reseaech In Pharmaceutical Sciences เพื่อดูประสิทธิภาพของการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลมระยะเวลาสั้นๆ ในคนที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้านจากการ lockdown ของสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศอินเดีย

        จากงานวิจัยพบว่าการใช้กระบวนฝึกการหายใจก่อนเข้าร่วมและหลังเข้าร่วมกิจกรรม 3 สัปดาห์ ผลการประเมินจาก DASS 21 questionare ระบุว่าระดับภาวะซึมเศร้าความกังวล และความเครียดลดลง ตามตารางด้านล่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing) มีผลช่วยลดภาวะซึมเศร้า ความกังวล และความเครียด

Ref. : Effectiveness of short-term belly breathing training in individuals who work-from-home during the COVID-19 lockdown in India

 

วิธีการฝึกการหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing) หรือ การฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Belly breathing)

การเตรียมตัวก่อนการฝึกการหายใจ

  1. งดสูบบุหรี่ก่อนฝึก
  2. งดดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนฝึก
  3. ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนการฝึก
  4. ควรนอน นั่ง และยืนในท่าที่สบาย


ไม่ควรเริ่มฝึกการหายใจหากมีอาการ ดังนี้ 

  1. มีไข้
  2. มีอาการหายใจสั้นๆ หรือหายใจลำบากขณะพัก
  3. มีอาการเจ็บหน้าอกหรือใจสั่น
  4. มีอาการบวมที่ขา

 มีทั้งหมด 4 ระยะ 

*โดยผู้รับบริการที่ติดเชื้อ COVID - 19  ใช้การฝึกการหายใจใน ระยะที่ 1 ซ้ำๆ จนกว่าจะไม่มีอาการหายใจแรง เร็ว และเหนื่อยหอบในขณะฝึก จึงจะสามารถทำระยะต่อไปได้

*ผู้รับบริการที่ไม่ติดเชื้อ COVID-19 สามารถฝึกการหายใจได้ 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 การหายใจลึกๆ ในท่านอนหงาย
  1. นอนหงายและชันเข่าขึ้นโดยให้ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างวางราบอยู่บนเตียง
  2. ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างวางไว้ที่บริเวณใต้ลิ้นปี่
  3. ปิดริมฝีปากและใช้ลิ้นแตะบริเวณเพดานปาก
  4. สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ทางจมูก โดยให้ฝ่ามือสัมผัสถึงท้องที่ป่องออก
  5. ผ่อนลมหายใจออกช้าๆทางจมูก โดยให้ฝ่ามือสัมผัสถึงหน้าท้องที่ยุบลง
  6. สูดลมหายใจเข้าและผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำเช่นนี้จนครบ 1 นาที
  • ระยะที่ 2 การหายใจลึกๆ ในท่านอนคว่ำ
  1. นอนคว่ำและวางศีรษะไว้บนหลังมือมือเพื่อให้มีพื้นที่ในการหายใจระหว่างหน้าอกและเตียง
  2. ปิดริมฝีปากและใช้ลิ้นแตะบริเวณเพดานปาก
  3. สูดลมหายใจเข้าช้าๆทางจมูก โดยให้ท้องป่องออกจนสัมผัสกับเตียง
  4. ผ่อนลมหายใจออกช้าๆทางจมูก
  5. สูดลมหายใจเข้าและผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำเช่นนี้จนครบ 1 นาที
  • ระยะที่ 3 การหายใจลึกๆ ในท่านั่ง
  1. นั่งตัวตรงบนขอบเตียงหรือบนเก้าอี้ที่แข็งแรงและมั่นคง
  2. ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างวางไว้ที่บริเวณใต้ลิ้นปี่
  3. ปิดริมฝีปากและใช้ลิ้นแตะบริเวณเพดานปาก
  4. สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ทางจมูก โดยให้ฝ่ามือสัมผัสถึงท้องที่ป่องออก
  5. ผ่อนลมหายใจออกช้าๆทางจมูก โดยให้ฝ่ามือสัมผัสถึงหน้าท้องที่ยุบลง
  6. สูดลมหายใจเข้าและผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำเช่นนี้จนครบ 1 นาที
  • ระยะที่ 4 การหายใจลึกๆ ในท่ายืน
  1. ยืนตัวตรง
  2. ใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างวางไว้ที่บริเวณใต้ลิ้นปี่
  3. ปิดริมฝีปากและใช้ลิ้นแตะบริเวณเพดานปาก
  4. สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ทางจมูก โดยให้ฝ่ามือสัมผัสถึงท้องที่ป่องออก
  5. ผ่อนลมหายใจออกช้าๆทางจมูก โดยให้ฝ่ามือสัมผัสถึงหน้าท้องที่ยุบลง
  6. สูดลมหายใจเข้าและผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำเช่นนี้จนครบ 1 นาที


ข้อควรระวังในการฝึกการหายใจ

ควรหยุดฝึกการหายใจทันทีหากมีอาการ ดังนี้

  1. มีอาการเวียนศีรษะ
  2. มีอาการหายใจสั้นกว่าปกติ
  3. มีอาการเจ็บหน้าอก
  4. มีผิวหนังแตกลอก
  5. มีอาการเหนื่อยมากเกินไป
  6. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  7. อาการที่เห็นว่าเป็นอันตรายหรือเป็นภาวะฉุกเฉิน

* ควรโทร 1669 ทันที หากพักแล้วอาการดังกล่าวไม่ลดลง หรือมีสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ


คลิปที่ 3 ประโยชน์และวิธีการวัดสัญญาณชีพเพื่อดูผลของการฝึกกา่รหายใจแบบใช้กระบังลม (Diaphragmatic breathing)     

การประเมินซ้ำ

วิธีการประเมิน

  • Fatigue and Leisure management สอบถามจากผู้รับบริการ ประเมินความอ่อนล้าในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและกิจกรรมยามว่าง
  • ADL assestment สอบถามกิจกรรมการดำเนินชีวิตอะไรที่ส่งผลกระทบกับตัวผู้รับบริการ
  • ประเมิน Psychosocial โดยการสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินสุขภาพจิต
  • ประเมิน Role and performance expectation โดยการสัมภาษณ์
  • ประเมินสัญญาณชีพ คือ ความดันและชีพจร โดยใช้เครื่องวัดความดัน
  • ประเมินค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด โดยใช้ Oximeter

ประโยชน์

        นอกจากจะช่วยฟื้นฟูความสามารถของปอดแล้ว ยังช่วยให้ผู้ฝึกการหายใจความวิตกกังวลและความเครียดลดลง มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่อเนื่องได้ยาวนานขึ้น ความจำดีขึ้น มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้น และมีสมองแจ่มใส คิดแก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่าเดิม

 

ผู้จัดทำ

6223007 นางสาวชาลิสา สวรรค์พร

6223016 นางสาวกรกนก อนุวรรตน์วร

6223024 นางสาวนันทิชา สรเวชประเสริฐ


 

คำสำคัญ (Tags): #Breathing exercises#COVID19
หมายเลขบันทึก: 692355เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2021 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2021 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท