Pain management วิธีลดความปวดจากโรค RA CVD Cancer


   ปัจจุบันประชากรชาวไทยที่ถูกโรคร้ายคร่าชีวิต โดยหลักๆ 4 โรคที่สามารถพบได้บ่อย คือ โรคมะเร็ง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ วิธีการจัดการความเจ็บปวด / Pain management มีมากมายหลากหลายวิธีตามโรคต่างๆ ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงเสนอวิธีผ่านตัวอย่างกรณีศึกษา 3 โรค คือ โรคข้ออักเสบ/รูมาตอยด์(Rhuematoid arthritis, RA), โรคมะเร็งปอด(Lung cancer), โรคหลอดเลือดสมอง (Cardiovascular duseases, CVD) ตามลำดับ เพื่อให้ผู้ที่อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น และยังมีการให้ความรู้เพิ่มเติมเช่น การประเมินโรคอย่างไร, ประโยชน์ของการจัดการความเจ็บปวดมีอะไรบ้าง สามารถอ่านและรับชมคลิปวิดีโอจากบันทึกนี้ได้ครับ

    โรคที่ 1 RA

Case Scenario

    นาย A ชายไทย อายุ 65ปี สติปัญญาปกติ มีอาการปวดตามข้อนิ้วที่มือทั้ง2ข้าง สภาพจิตใจแย่ลงเนื่องจากมีความเครียด กังวล จึงได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นรูมาตอยด์ได้5 ปีแล้ว นาย A อาศัยอยู่กับภรรยาและลูกสาว 1คน(31ปี) ลักษณะบ้านที่อาศัยเป็นบ้าน 2 ชั้น

เศรษฐานะทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจุบันนาย A ไม่มีงานประจำ โดยความชอบส่วนตัว A มีความสามารถ และชอบทำอาหารไทย แต่เมื่อเป็นรูมาตอยด์ ก็ไม่สามารถทำกิจกรรมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานได้

PEOP Model

P : นาย A ชายไทย อายุ 65 ปีที่เป็นรูมาตอยด์มา 5 ปี สติปัญญาปกติ สภาพจิตใจแย่ลงเนื่องจากมีความเครียด, กังวล, เจ็บปวดจากพยาธิสภาพที่มือทั้ง 2 ข้าง

E : อาศัยอยู่กับภรรยา และลูกสาว 1 คน(31 ปี) ลักษณะบ้านเป็นบ้าน 2 ชั้น เศรษฐานะทางการเงินปานกลาง

O : ไม่มีงานประจำ ชอบทำอาหารไทย

P : มีความสามารถในการทำอาหารไทย แต่ไม่สามารถทำได้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน

Problem list

ไม่สามารถทำอาหารเป็นเวลานานได้ เนื่องจากปวดบริเวณมือ

มีอาการปวดบริเวณมือขณะทำกิจกรรม

สภาพจิตใจแย่ลงเนื่องจากมีความเครียด, กังวล, เจ็บปวด

Assessment

-Pain scale 1-10

-Joint assessment เช่น Larsen score, Sharp2van de Heijde score

-X-ray

-Ultrasound

-MRI scan

-ตรวจน้ำไขข้อ

-ประเมินความวิตกกังวล เช่น GAD-7, Spielberger, The State Anxiety Inventory Form X-l

ประเมินความเครียด โดย

1. ใช้เครื่อง Oximeter : ดูตัวเลขออกซิเจนและชีพจร ถ้าชีพจรเต้นเกิน 90ครั้ง/นาที จะประเมินว่าเครียดมาก ให้จดตัวเลขที่วัดครั้งแรก และทำการวัดครั้งถัดไปโดยนำ Oximeter มาไว้ที่หัวใจ และให้หายใจเข้าแล้วเป่าลมออกทางปากนับถอยหลังจาก 30-1 แล้วนำตัวเทียบก่อนและหลังทำมาเทียบกัน(ถ้าชีพจรลดลงออกซิเจนเพิ่มขึ้นแสดงว่าเครียดลดลง)

2. ประเมินผ่าน 5 กิจกรรมแต่ละกิจกรรมนับเป็น1คะแนน(ถ้าทำได้)

0-1 คะแนน= อารมณ์ตึงเครียดสูงมาก มีแนวโน้มซึมเศร้า(ต้องไปคัดกรองอีกที)    

2-3 คะแนน = ร่างกายตึงเครียดสูง(เครียดบวกครึ่งนึง เครียดลบครึ่งนึง)

4-5 คะแนน = สมองตึงเครียดปานกลาง(เครียดบวก)

2.1 หายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ นับ10วินาที ต่อด้วยออกเสียง “อา” ยาวนับ10วินาที

2.2 หลับตา ยกสองมือขึ้นมาห่างกันหนึ่งฝ่ามือ แล้วแตะนิ้วก้อย นาง กลาง ชี้ โป้ง 1 รอบ

2.3 บอกเลขโทรศัพท์มือถือ ระบุเลขท้าย 5 ตัวจากเลขท้ายสุดไปข้างหน้า

2.4 ตอบ 5 คำถามภายใน5วินาที ได้แก่ คำชมครั้งแรกในชีวิตของคุณคืออะไร, ใครเป็นคนชม,ชมตอนอายุเท่าไหร่, ร้องไห้ล่าสุดเรื่องอะไร, สาเหตุอะไรที่ทำให้ร้องไห้

2.5 หัวเราะให้ดังและนานที่สุด

Pain management

1.รับประทานยากลุ่ม Celecoxib ร่วมกับกลุ่มDMRDsและยายับยั้ง TNF-alpha

2.รักษาด้วยวิธี Psycho Neurobics คือพลังงานทางจิตวิญญาณ ทำให้เกิดคลื่นพลังงานที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ เยียวยาร่างกายและจิตใจ ดึงศักยภาพภายในมาใช้บำบัดตนเอง มีทั้งหมด 2 วิธี มีขั้นตอนดังนี้

2.1 ทำ Peaceful Psycho Neurobics(พลังแห่งความสุข)

นั่งท่าสบายๆบนเก้าอี้ แขนอยู่ข้างลำตัว วางฝ่ามือไว้ที่หน้าขา หงายมือเสมือนรับพลัง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน ตั้งแต่ศีรษะจนถึงเท้า วางความคิดจากโลกภายนอก คืนตนเองสู่จิตนิ่งสงบ พร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มเล็กน้อย และยิ้มในใจ

ทำมือท่า วายุมุตรา Vayu Mudra โดยพับนิ้วชี้ลงให้ปลายนิ้วชี้(ธาตุลม) อยู่ที่โคนนิ้วโป้ง(ธาตุไฟ) พร้อมเหยียดนิ้วที่เหลือ และทำเหมือนกันทั้งสองมือ

หายใจเข้า นึกถึงลำแสงสีฟ้าจากเบื้องบน ลงมาชำระร่างกายและอวัยวะภายใน ตั้งแต่กระหม่อม ศีรษะใบหน้า ต้นคอ หัวไหล่ แขนจนถึงปลายนิ้ว และลำตัว ช่องท้อง เชิงกราน ต้นขา หัวเข่าจนถึงปลายนิ้วเท้าเมื่อหายใจเข้าลึก ท้องป่อง กลั้นลมให้ได้นานที่สุด แล้วค่อยปล่อยลมหายใจออก โดยนึกถึงควันเทาดำเปรียบเสมือนพิษ ออกมากับลมหายใจ พร้อมนึกถึงคำว่า “สบาย” เป็นการขับพิษทั้งกายและใจออกไป

ทำประมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 21 ครั้ง ระหว่างทำให้นึกเสมอว่า “ร่างกายของฉันถูกทะลวงสิ่งที่ปิดกั้นการไหลเวียนของพลังชีวิต โดยคลื่นสีฟ้าแห่งความสงบ ฉันรู้สึกว่าได้กลืบคืนเข้ามาสู่ความสงบ ซึ่งอยู๋ในภายในดวงจิตนี้ได้อย่างเบาสบาย”

2.2   ทำ Empowering Psycho Neurobics(พลังแห่งความแข็งแรงของกระดูก

กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น(ธาตุดิน)

เริ่มจากนั่งในท่าสบายบนเก้าอี้หรือยืน วางแขนไว้ด้านข้างลำตัวและค่อยๆยกแขนเหนือศีรษะโดยเหยียดแขนตรงและฝ่ามือขนานกัน

หายใจเข้าลึกๆ คิดถึงแสงสีแดงที่สดใสในใจ เมื่อสูดลมหายใจเข้าและไปทำให้เกิดจุดปวดลึกเต็มที่พร้อมที่จะกลั้นใจไว้แล้วให้ทำมือท่า มหาวีระมุตรา(Mahaveer Mudra) หรือท่าหนุมาน โดยกำหมัดไว้แน่นพร้อมลดมือลงมาระดับหัวไหล่ (โดยพับข้อศอกเอาไว้) ขณะเดียวกันให้งอหัวเข่าเล็กน้อยขณะกำลังลดแขนลงมาพร้อมกับให้มีความรู้สึกว่า แสงสีแดงแห่งความเข้มแข็งได้ซึมเข้าไปในกระดูกและกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายที่ปวด

เคล็ดลับคือ ขณะกลั้นลมหายใจอยู่พร้อมกำหมัดไว้แน่นให้เกร็งกล้ามเนื้อทุกส่วนอย่างแรงเหมือนกับว่ากล้ามเนื้อพองโตขึ้นภายใน มีคลื่นแสงสีแดงกระจายออกไปทุกส่วนของร่างกายเหมือนกับ มหาวีระหนุมาน (เจ้าแห่งพลัง สามารถยกภูเขาได้ ตัวสีแดงก่ำ)

เกร็งกล้ามเนื้อให้นานที่สุด แล้วหายใจออกอย่างรวดเร็วคลายมือออก สะบัดมือและนำแขนลงมาอยู่ด้านข้างลำตัว ยืดหัวเข่าขึ้นกลับมาในท่ายืนตรงพร้อมคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และผ่อนคลายลมหายใจออกขณะที่หายใจออกให้รู้สึกเหมือนแสงสีเทาออกไปกับลมหายใจ

3.ลดปวดและข้อติดในช่วงเช้าโดยการออกกำลังกายโดยทำท่า ดังนี้

3.1 ท่าที่ทำขณะนอนบนเตียง

-เหยียดงอนิ้วโป้งเท้าไปมา

-เหยียดงอข้อเท้าแล้วหมุน

-เหยียดงอเข่าไปมาช้าๆ

-จับเข่าสองข้างงอเข้าหาหน้าอก

-ค่อยๆเหยียดงอนิ้วขยับไปมา

-กำมือแล้วเหยียดงอข้อมือ

-เหยียดงอข้อศอกช้าๆ

-เหยียดงอข้อไหล่ขึ้นลง

3.2 ลุกขึ้นนั่งบนเตียง

-หมุนไหล่ไปหน้าหลัง

-หมุนเอวไปด้านตรงข้าม

-พยักหน้าและส่ายหน้า

-เอียงหูเข้าหาไหล่ข้างเดียวกันช้าๆ

-ก้มตัวลงแตะเข่า

-ลุกขึ้นยืน ยืดตัวและแขน

-แขนดันกำแพง

-ยกขาเหมือนเดิน

-เหยียดแขนไปด้านข้างซ้าย-ขวา
 4.Square Breathing 4-4-4 เพื่อคลายกังวล และความตื่นตระหนกตกใจ เนื่องจากผู้รับบริการมีความเครียดและวิตกกังวล นั่งในท่าที่ผ่านคลาย ไม่ก้มคอ ไม่ไขว้ขา

ใช้นิ้วชี้วาดรูปสี่เหลี่ยมกลางอากาศ โดยหายใจเข้าพร้อมลากขึ้นนับเบาๆ 1-2-3-4 หายใจออกพร้อมลากไปทางขวานับ1-2-3-4 ต่อมาหายใจเข้าพร้อมลากลงนับ1-2-3-4 และหายใจออกพร้อมลากไปทางซ้ายนับ1-2-3-4

5.Deep breathing 4-7-8 เพื่อลดซึมเศร้า ลดหายใจตื้น เพิ่มสมาธิ เนื่องจากผู้รับบริการมีความเจ็บปวดที่เรื้อรั้ง หากไม่ได้รับการเยียวยาด้านจิตใจจะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

-ให้ผู้รับบริการดันลิ้นแตะเพดานแล้วปิดปาก

-หายใจเข้าค้างไว้ 4 วินาที

-ดันลมหายใจไปที่ท้อง/กลั้นลมหายใจค้างไว้ 7 วินาที

-เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 8 วินาที

-ทำ 4 รอบ

ประโยชน์ของ Pain management

-การใช้ยาเพื่อรักษาเฉพาะเจาะจงกับโรคเพื่อลดการอักเสบ ควบคุมการลุกลามของโรค และยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด หรือยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยไม่ให้ผู้ป่วยต้องเจ็บปวดทรมานจากโรค

-ไซโคนิวโรบิคช่วยแก้ไขโรคปวดข้อ ไขข้ออักเสบโดยทำให้เกิดความสุขช่วยเยียวยาจิตใจอารมณ์ ทำให้ลดอาการทุกข์ทรมานของโรค

-การออกกำลังกายเพื่อลดปวด สามารถช่วยให้ผู้รับบริการเปลี่ยน Lifestyle ในการใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถลดอาการปวดเพื่อให้ผู้รับบริการยังคงความสามารถในการทำกิจกรรมได้

-ผู้รับบริการลดความเครียดและวิตกกังวล

-ผู้รับบริการลดความซึมเศร้า หายใจตื้น และเพิ่มสมาธิให้มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

ปารวี สุวรรณาลัย.(ม.ป.ป).  ข้ออักเสบรูมาตอยด์. สืบค้น 21 สิงหาคม 2564,  จากhttps://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Rheumatoid%20arthritis.pdf

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

เนื่องด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปารวี สุวรรณาลัย เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสมาคมโรครูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยในหัวข้อDrug Survival and Reasons for Discontinuation of Biological Disease Modifying Antirheumatic Drug in Thai Patients with Rheumatoid Arthritis: Analysis from the Thai Rheumatic Disease Prior Authorization (RDPA) Register และเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ Imunomodulation for DMRSจึงนำข้อมูลจากหัวข้อข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรับประทานยา Celecoxib และDMRDs ของผู้ป่วยในกลุ่ม Rheumatoid

กรพินทุ ปานวิเชียร. (2564).  ผลของไซโคนิวโรบิคส์ ในการลดอาการปวดเฉียบพลันในผู้ปวยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์.  วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 4(1), 1-14. สืบค้นจากhttps://www.yrh.moph.go.th/wp-content/uploads/2020/12/korapin30122020.pdf

BJC Health. (20 ตุลาคม 2562). Morning exercises tips for Rheumatoid Arthritis! [Videofile]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=1VGLio2R6Og&feature=youtu.be

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

เนื่องด้วย Rhianne Kerr ที่เป็นผู้อธิบายในคลิป ทำงานเป็น Neurological Exercise Physiologist จึงนำคลิปวิดีโอ Morning exerxises tips for Rheumatoid Arthritis มาประกอบการอ้างอิง เพื่อใช้เป็นวิธีการลดปวดและข้อติดในช่วงเช้าโดยการออกกำลังกาย

Mahidol channel. (19 ส.ค. 2564)บำบัดความเครียด ห่างไกลซึมเศร้าช่วง COVID-19 l 19 ส.ค. 64 [Videofile] สืบค้นจาก https://youtu.be/Ugt4nFgZTUg

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

เนื่องด้วยผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง เป็นนักกิจกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตสังคม(Psychosocial specialist) และวิทยากรและกระบวนการสื่อสารจิตสังคมเพื่อสุขภาวะคนไทยในรายการ Mahidol Channel รายการรู้เท่ารู้ทัน Thai PBS ฯลฯ จึงนำคลิปวิดีโอบำบัดความเครียด ห่างไกลซึมเศร้าช่วงCOVID-19 มาประกอบการอ้างอิง เพื่อใช้เป็นวิธีการประเมินความเครียดอย่างง่าย

อมรรัตน์ มังษา และคณะ. (2554). ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่ทางรังสีของโรงพยาบาลศรีนครรินทร์ คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้น 23 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.thaiscience.info/journals/Article/SRMJ/10690098.pdf

 

   โรคที่ 2 Cancer

Case scenario

นาง B อายุ 61ปี สถานภาพสมรส เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ อาชีพแม่บ้าน มีบุตร 3 คน

ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว

ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน

6 เดือนก่อน : มีอาการหายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จึงมาโรงพยาบาล แพทย์ได้ให้การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด

3 เดือนต่อมา : ระหว่างรักษาด้วยเคมีบำบัด มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนัดลดลงเรื่อยๆ และหายใจไม่สะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ

1 เดือนต่อมา : มีอาการหายใจไม่สะดวก และอ่อนเพลียมากจึงได้มาโรงพยาบาล ตรวจเลือดพบว่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ แพทย์จึงให้นอนรักษาในหอผู้ป่วย เมื่ออาการอ่อนเพลียทุเลา จึงวางแผนการดูแลแบบประคับประคอง และประเมินการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนที่บ้าน พร้อมส่งข้อมู,ให้ทีมเยี่ยมบ้านติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นจึงจำหน่ายกลับบ้าน

1 วันก่อนมาโรงพยาบาล : มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ปวดทั่วๆบริเวณหน้าอก จึงมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

ปัจจุบันวินิจฉัยโรคว่าเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลาม

  ประวัติเจ็บป่วยในอดีต

มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง ประมาณ20ปี

มีภาวะไขมันในเลือดสูง มาประมาณ15ปี

มียารับประทาน ได้แก่ HCTZ, Enalapril 1เม็ดหลังอาหารเช้า รักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

ปฏิเสธการแพ้ยาและสารเคมี

ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา

ไม่เคยผ่าตัดใดๆมาก่อน


  ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว

-มารดาป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

-บิดาเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ เมื่อ10ปีก่อน

-  ครอบครัวและที่อยู่อาศัย: มีบุตรกับสามีเก่า3คน สามีเก่าเสียชีวิต ปัจจุบันอาศัยอยู่กับสามีใหม่ด้วยกันเพียง2คน ไม่มีบุตรด้วยกัน รักใคร่กันดี บ้านเป็นบ้านสองชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้ บ้านของลูกสาวคนแรกอยู่ห่างจากบ้านปัจจุบัน1กม. เดินทางโดยรถจักรยานยนต์ของตนเอง

-  ความสามารถในการทำกิจวัตรของผู้ป่วย: มีความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง ไม่สามารถทำงานบ้านได้ต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นบางครั้ง ความสามารถในการทานอาหารลดลงบ้าง การรับรู้ปกติดีหรือสับสน

  PEOP Model

P : นาง B อายุ61ปีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ อาชีพแม่บ้าน พบประวัติเจอก้อน เนื้อเป็นจำนวน2ก้อนเป็นมะเร็งที่ปอดเมื่อ6เดือนก่อน การรับรู้ปกติดี ปกติเป็นคนอารมณ์ดีแต่พอเจ็บป่วยก็วิตกกังวลเรื่องการจัดการอาการต่างๆ กลัวความตาย

E : มีบุตร3คนกับสามีเก่า อาศัยอยู่บ้านกับสามีใหม่ บ้านเป็นบ้านสองชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้บ้านห่างจากบ้านลูกสาวคนโต1กม. เดินทางไปหาได้โดยรถจักรยานยนต์ และเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากเวรกรรมที่เคยทำ

O : ชอบทำงานบ้านและทำสวน ทำบุญเป็นประจำ

P : ไม่สามารถทำงานอดิเรกหรืองานบ้านได้ ต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นบางครั้ง ความสามารถในการทานอาหารลดลง

 Problem list

ไม่สามารถทำงานบ้านได้

มีอาการรบกวน ได้แก่ ปวดทั่วหน้าอก หายใจเหนื่อย เบื่ออาหาร

วิตกกังวลในเรื่องการจัดการอาการเจ็บป่วย

กลัวความตาย

  Assessment

-Pain scale 1-10

-Chest X-ray

-CT scan

-MRI scan

-Ultrsound

-PET scan

-Bone scan

ประเมินความวิตกกังวล เช่น GAD-7, Spielberger, The State Anxiety Inventory Form X-l

  Pain management

1.วิธีรักษาอาการปวดโดยใช้ยา

ยาที่ใช่สำหรับอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง

ยกตัวอย่างเช่น พาราเซตามอล, ยาแก้อักเสบ(NSAIDS)

**ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา ยาแก้อักเสบทำให้เลือดแข็งตัวช้า โดยเฉพาะผู้รับบริการที่ได้รับเคมีบำบัดอยู่ด้วย

ยาที่ใช่สำหรับอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง

ยกตัวอย่างเช่น มอร์ฟีน, เฟนทานิล, โคเดอีน

**แพทย์ต้องเป็นผู้ออกใบสั่งยาเท่านั้น, อาจใช้ร่วมกับยาบรรเทาปวดที่ไม่ใช่อนุพันธ์ฝิ่น

สำหรับอาการปวดระหว่างมื้อยา ยกตัวอย่างเช่น มอร์ฟีน

สำหรับอาการปวดแสบปวดร้อน หรือรู้สึกผิดปกติ

ยกตัวอย่างเช่น ยาคลายกังวล(Antidepressants), ยากันชัก(Anticonvulsants)

สำหรับอาการปวดจากการบวม ยกตัวอย่างเช่น สเตียรอยด์ โดยให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาให้

ยาบรรเทาปวดชนิดอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น ยาแก้ซึมเศร้า(Antidepressants), ยาแก้แพ้(Antihistamines), ยาแก้วิตกกังวล(Anti-anxiety drugs), แอมเฟตามีน(Amphetamines), ยากันชัก(Anticonvulsants), สเตียรอยด์(Steroids)

2.วิธีรักษาอาการปวดโดยไม่ใช้ยา

**วิธีลดความวิตกกังวล

ปรึกษาผู้บำบัดในวิธีการอยู่กับโรคมะเร็ง

Cognitive Behavior Therapy (CBT) จัดการความคิด ลดความวิตกกังวล

**วิธีลดปวด (ควรศึกษาวิธีที่ได้ผลสำหรับตัวเอง หากรู้สึกปวดเพิ่มขึ้นควรหยุด, พยายามใช้ควบคู่กับยา)

วิธีผ่อนคลาย ทำได้โดย: หายใจช้าๆ ผ่อนคลายส่วนอื่นของร่างกาย เริ่มจากเท้าไปที่ศีรษะ คิดถึงคำ เช่นหนัก, เบา, อบอุ่น, ผ่อนคลาย แต่ละครั้งที่หายใจออกให้เพ่งไปที่ส่วนเฉพาะของร่างกายและรู้สึกว่าผ่อนคลาย พยายามคิดว่าความตึงเครียดไหลไปจากส่วนนั้น

การเบี่ยงเบนความสนใจ ไปที่สิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาการปวด: อาจเป็นภายใน เช่น การนับ ร้องเพลงในใจ สวดมนต์หรือพูดซ้ำๆกับตัวเอง เช่น ฉันสามารถหาย หรือเป็นวิธีภายนอก เช่น ทำงานฝีมือ, ต่อแบบจำลอง, วาดรูป, อ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังเพลง หายใจช้าๆ, ไปเยี่ยมญาติพี่น้อง

การนวด: นวดช้าๆ สม่ำเสมอ วนเป็นวงตรงที่ปวดหรือใกล้กัน โดยใช้มือเปล่าหรือน้ำมันอุ่น, แป้ง, โลชั่น(ถ้าผู้ปวยฉายรังสี ให้หลีกเลี่ยงนวดที่บริเวณแดง, ปวด, บวม)

การจัดท่าเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวกขณะมีการหอบเหนื่อย

 ประโยชน์ของ Pain management

การรับประทานยาช่วยลดอาการปวดจากพยาธิสภาพได้

วิธีรักษาโดยไม่ใช้ยา ผู้ป่วยสามารถลดขนาดยาเมื่อใช้ร่วมกับวิธีต่างๆ ลดความกังวล มีความเข้าใจและยอมรับความเจ็บป่วยมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี. (ม.ป.ป.).  คู่มือการควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว. สืบค้น 23 สิงหาคม 2564,  จาก http://www.thatoomhsp.com/userfiles/คู่มือการควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว.pdf

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

เนื่องจากนายแพทย์ชัยพร กันกา ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง ลพบุรี และคณะได้ทำการแปลและเรียบเรียงจาก  Pain Control “A GUIDE FOR PEOPLE WITH CANCER AND THEIR FAMILIES” National Institutes of Health, National Cancer Institute และได้ทำเป็นคู่มือการควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว จึงได้นำคู่มือนี้มาประกอบการอ้างอิง เพื่อใช้ในการจัดการความเจ็บปวดในผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพเป็นมะเร็ง


 Chula Cancer รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. มะเร็งระยะลุกลาม. สืบค้น 23 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=238

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

เนื่องจากข้อมูลในเว็บ chulacancer.net นี้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ การนำไปใช้รักษาผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สาขารังสีรักษา  จึงนำบทความ Chula Cancer รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. มะเร็งระยะลุกลามมาประกอบการอ้างอิงเพื่อใช้ในการประเมินโรคมะเร็ง

ไลทอง ภัทรปรียากูล. (2562).  กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามแบบประคับประคองที่บ้าน.  วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2 (2), 83-98. สืบค้นจาก        https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/download/195436/146783/

เหตุผลที่นำมาอ้างอิง

เนื่องจาก ไลทอง ภัทรปรียากูล ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ได้เขียนกรณีศึกษาของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามแบบประคับประคอง ลงในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี จึงได้นำข้อมูลนีมาอ้างอิงเป็นกรณีศึกษา

อมรรัตน์ มังษา และคณะ. (2554). ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่ทางรังสีของโรงพยาบาลศรีนครรินทร์ คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้น 23 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.thaiscience.info/journals/Article/SRMJ/10690098.pdf


 

    โรคที่ 3 CVD

Case scenario

    นาย C ชายไทย อายุ 68ปี นับถือศาสนาพุทธ สถานภาพสมรส  เป็นหัวหน้าครอบครัว จบการศึกษาระดับ ป.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Hemorrhagic stroke (โรคความดันโลหิตสูงเส้นเลือดในสมองแตก และอัมพาตซีกขวา) ทำให้แขนขาอ่อนแรงข้างขวา ยืนและนั่งไม่ได้ ปวดต้นแขนและขาข้างขวาส่งผลให้นอนไม่หลับและมีภาวะเครียดจากการเจ็บป่วย และมีการกินยา HT stroke ปัจจุบันอาศัยอยู่กับภรรยา ลูกสาวและลูกชาย  มีสิทธิบัตรทอง สามารถทำกิจกรรมและช่วยเหลือตนเองบนเตียงได้บ้าง นาย C มักใช้แขนและขาข้างซ้ายในการช่วยพยุงแขนและขาข้างขวาเพื่ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ ลักษณะสภาพบ้านเป็นบ้านสองชั้น ชั้นล่างทำด้วยปูน ชั้นบนทำด้วยไม้มีความแข็งแรงมั่นคงภายในบ้านสะอาด เรียบร้อย เป็นระเบียบ จัดของเป็นสัดส่วน แบ่งห้องชัดเจน แสงสว่างสามารถเข้าได้อย่างเพียงพอ บริเวณหน้าบ้านมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งสวยงาม มีสัมพันธภาพกับเพื่อนบ้านดี


PEOP Model

    P :ชายไทยอายุ 68 ปีนับถือศาสนาพุทธ สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับชั้น ป.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีโรคความดันโลหิตสูงเส้นเลือดในสมองแตกและอัมพาตซีกด้านขวา มีภาวะเครียดจากอาการเจ็บป่วย

    E : ครอบครัวเดี่ยว มีสมาชิก 4 คน ผู้สูงอายุ2คน ผู้ใหญ่2คน มีภรรยาคอยดูแล สัมพันธภาพกับเพื่อนบ้านดี บ้านเป็นบ้าน2ชั้น ชั้นล่างทำด้วยปูนชั้นบนทำด้วยไม้ สะอาดเรียบร้อย มีแสงสว่างเพียงพอ

    O :ออกกำลังกายโดยพยุงแขนด้านขวา นอนไม่หลับเนื่องจากปวดต้นแขนและขาขวา

    P : สามารถทำกิจกรรมและช่วยเหลือตัวเองบนเตียงได้บ้าง แขนขาอ่อนแรงข้างขวา ยืนและนั่งไม่ได้

Problem list

-มีอาการปวดที่ต้นแขนและขาข้างขวา

-นอนไม่หลับและมีภาวะเครียดจากการเจ็บป่วย

-ไม่สามารถยืนและนั่งได้

-สามารถทำกิจกรรมและช่วยเหลือตัวเองบนเตียงได้ไม่เต็มที่

 Assessment

-Pain scale 0-10

-Barthel index

-Joint assessment

-Manual Muscle Testing

-Sensory evaluation

-Vital sign

-Endurance and Fatigue assessment

-Fugl-Meyer Assessment

-Perceptual evaluation โดยประเมินและสังเกตผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต

-ประเมินความเครียด โดย

1. ใช้เครื่อง Oximeter : ดูตัวเลขออกซิเจนและชีพจร ถ้าชีพจรเต้นเกิน 90ครั้ง/นาที จะประเมินว่าเครียดมาก ให้จดตัวเลขที่วัดครั้งแรก และทำการวัดครั้งถัดไปโดยนำ Oximeter มาไว้ที่หัวใจ และให้หายใจเข้าแล้วเป่าลมออกทางปากนับถอยหลังจาก 30-1 แล้วนำตัวเทียบก่อนและหลังทำมาเทียบกัน(ถ้าชีพจรลดลงออกซิเจนเพิ่มขึ้นแสดงว่าเครียดลดลง)

2. ประเมินผ่าน 5 กิจกรรมแต่ละกิจกรรมนับเป็น1คะแนน(ถ้าทำได้)

0-1 คะแนน= อารมณ์ตึงเครียดสูงมาก มีแนวโน้มซึมเศร้า(ต้องไปคัดกรองอีกที)    

2-3 คะแนน = ร่างกายตึงเครียดสูง(เครียดบวกครึ่งนึง เครียดลบครึ่งนึง)

4-5 คะแนน = สมองตึงเครียดปานกลาง(เครียดบวก)

2.1 หายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ นับ10วินาที ต่อด้วยออกเสียง “อา” ยาวนับ10วินาที

2.2 หลับตา ยกสองมือขึ้นมาห่างกันหนึ่งฝ่ามือ แล้วแตะนิ้วก้อย นาง กลาง ชี้ โป้ง 1 รอบ

2.3 บอกเลขโทรศัพท์มือถือ ระบุเลขท้าย 5 ตัวจากเลขท้ายสุดไปข้างหน้า

2.4 ตอบ 5 คำถามภายใน5วินาที ได้แก่ คำชมครั้งแรกในชีวิตของคุณคืออะไร, ใครเป็นคนชม, ชมตอนอายุเท่าไหร่, ร้องไห้ล่าสุดเรื่องอะไร, สาเหตุอะไรที่ทำให้ร้องไห้

2.5 หัวเราะให้ดังและนานที่สุด

 Pain management

-ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการเพื่อลดความเครียด

-การจัดท่าของผู้ป่วยโดยเมื่อผู้ป่วยนอนควรจัดให้ผู้ป่วยกางไหล่ออกและหมุนแขนออกและควรใช้หมอนมารองบริเวณส่วนปลายของด้านที่อ่อนแรงเพื่อลดอาการเกร็งและปวด

-การออกกำลังกายในลักษณะPROM โดยจัดแนวแรงให้กระดูกสะบักออกจากแนวกระดูกสันหลังเพื่อลดอาการเกร็งและติดรั้งของข้อเพื่อลดอาการปวดโดยการจับมือและชูขึ้นทั้ง2ข้างและค่อยๆหมุนเล็กน้อย

-ใช้อุปกรณ์เสริม ได้แก่ อุปกรณ์ประคองแขนที่ติดกับล้อเข็น อาจหนุนบริเวณปลายมือให้สูงกว่าระดับข้อศอกเพื่อลดอาการบวม, ใส่ Cock-up splint เพื่อช่วยในการจัดท่าของข้อมือและนิ้วมือให้เหมาะสม, ลดบวมสำหรับมือโดยเฉพาะ เช่น Compressive contripedal wrapping

 ประโยชน์ของ Pain management

-ลดความเครียดจากอาการของโรค

-ลดอาการเกร็งและปวดของร่างกาย

-ลดการติดรั้งของข้อ

-ลดอาการบวม

-ลดข้อจำกัดของการเคลื่อนไหว

 

 เอกสารอ้างอิง

กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลห้วยแถลง. (ม.ป.ป.).  case study. สืบค้น 23 สิงหาคม 2564,  จาก http://www.thaiphc.net/survey/tambonManage/301601.pdf

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

    เนื่องด้วยกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลห้วยแถลง ได้เขียนกรณีศึกษาของผู้รับบริการอัมพาตครึ่งซีก จึงได้นำข้อมูลมาประกอบการอ้างอิงเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา

ปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์.(2545).common problem of upper extremity in stroke patients .สืบค้น 23 สิงหาคม 2564,จากhttp://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-169.pdf

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

เนื่องจาก นาย ปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์ เป็นหนึ่งในผู้แต่งหนังสือของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโดยเป็นผู้แต่งร่วมในหนังสือความเครียดในการดูแลผู้ป่วย หลอดเลือดสมอง และหนังสือ ความสามารถในการประกอบกิจกรรมแบบมีอุปกรณ์ของผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง การฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลืดสมอง และเป็นหนึงในคณะกรรมาธิการของเวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร(2545) จึงนำข้อมูลจากบทความ Common problem of upper extremity in stroke patient เพื่อใช้เป็นวิธีการจัดท่าและลดการปวดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

 Mahidol channel. (19 ส.ค. 2564)บำบัดความเครียด ห่างไกลซึมเศร้าช่วง COVID-19 l 19 ส.ค. 64 [Videofile] สืบค้นจาก https://youtu.be/Ugt4nFgZTUg

เหตุผลที่น่ามาอ้างอิง

ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง ทำงานเป็นนักกิจกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตสังคม(Psychosocial specialist) และวิทยากรและกระบวนการสื่อสารจิตสังคมเพื่อสุขภาวะคนไทยในรายการ Mahidol Channel รายการรู้เท่ารู้ทัน Thai PBS ฯลฯ จึงนำคลิปวิดีโอบำบัดความเครียด ห่างไกลซึมเศร้าช่วง COVID-19 มาประกอบการอ้างอิง เพื่อใช้เป็นวิธีการประเมินความเครียดอย่างง่าย


 

6223008 น.ส. ฐิดาพร อินทรปาน

6223015  น.ส. อริสรา เกียรติเจริญพร

6223018  น.ส. นายชนกชนม์ ภาคีพันธุ์

นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ (Tags): #rheumatoid#cardio vascular disease#cancer
หมายเลขบันทึก: 692353เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2021 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2021 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท