สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ตอนที่ 1 บทนำ


 

การปรับปรุงพัฒนาระบบงาน โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนขององค์กร และทุกส่วนของธุรกิจ เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพื่อศักยภาพการแข่งขันที่ดีกว่าคู่แข่งเท่านั้น แต่เพื่อความอยู่รอดเป็นสำคัญ เนื่องจากองค์กรไหนๆ ก็มุ่งสู่เส้นทางนี้กันถ้วนหน้าแล้ว

การวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) เป็นกระบวนการสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งแสดงให้เห็นภาพสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (As is) และภาพความก้าวหน้าในอนาคต (To be) ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ ตลอดจนสามารถปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง จึงอาจเรียกได้ว่า สถาปัตยกรรมองค์กร สามารถเป็นทั้งเครื่องมือและกลยุทธ์เพื่อการทำ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจาก 1) การวิเคราะห์จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (As is) และภาพสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (To be) 2) การจัดหาเครื่องมือบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร พร้อมบูรณาการข้อมูลเข้าสู่ระบบจัดเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรม (Repository) และ 3) การจัดทำแผนงาน การฝึกอบรมให้ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมและผลักดันสถาปัตยกรรมองค์กรไปใช้ทั่วทั้งองค์กร ตามลำดับ 

อ้างอิง: Thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 692336เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2021 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2021 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท