แนวทางการใช้ระบบเครดิตสังคมในการเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทย


บทคัดย่อเอกสารวิจัย

แนวทางการใช้ระบบเครดิตสังคมในการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต

เรื่อง การพัฒนาแนวทางการใช้ระบบเครดิตสังคมบนพื้นฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม

ผู้วิจัย คณะนักศึกษาการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๘ กลุ่มที่ ๑

ปีที่จัดทำเอกสารวิจัย ๒๕๖๔

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) ศึกษาลักษณะพฤติกรรมที่แสดงคุณลักษณะนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ๒) เพื่อสร้างแนวทางการใช้ระบบเครดิตสังคมบนพื้นฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมที่แสดงคุณลักษณะนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม พบว่า คุณลักษณะทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการคิด ด้านความมีวินัย ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านอยู่อย่างพอเพียง และด้านจิตสาธารณะ ทุกด้านมีความสำคัญทั้งหมด เพราะคุณลักษณะทั้ง ๕ ด้าน ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองและสังคม ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสงบสุข และแนวการใช้ระบบเครดิตสังคมบนพื้นฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม พบว่า ประกอบด้วย ๕ ส่วน ได้แก่ ๑) หลักการของระบบเครดิตสังคม ๒) องค์ประกอบของระบบเครดิตสังคม ๓) เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมเพื่อเป็นเครดิตสังคม ๔) ผลตอบแทนจากการแสดงพฤติกรรมทางสังคมเพื่อเป็นเครดิตสังคม และ ๕) แนวปฏิบัติการใช้ระบบเครดิตสังคมในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริตระดับสถานศึกษา โดยผลการประเมินแนวทางในทางการใช้ระบบเครดิตสังคมบนพื้นฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต ๔ ด้าน คือ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ ๔.๙๔ อยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ๑) แนวทางการใช้ระบบเครดิตสังคมในการส่งเสริมคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะสามารถนำไปขยายผลระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบเครดิตสังคมในวงกว้าง ๒) ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลฺของบุคคลที่ได้รับเครดิต จากการใช้ระบบเครดิตสังคมให้เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการนำระบบเครดิตสังคมไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม และ ๓) ควรศึกษารูปแบบและทดลองใช้ระบบเครดิตสังคม เพื่อให้เกิดเป็นสังคมต้นแบบในการใช้ระบบเครดิตสังคมต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

แนวปฏิบัติการใช้ระบบเครดิตสังคมในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริตระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ๑) สร้างความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมที่แสดงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนสุจริต ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน ๒) ส่งเสริมแนวคิดการทำความดี โดยใช้สภาวการณ์ในชีวิตประจำวัน ๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการทำความดี ในระดับโรงเรียนโดยมีสภานักเรียนเป็นศูนย์กลาง ในระดับห้องเรียน และในระดับตนเอง กำหนดรายการพฤติกรรม พื้นที่ เวลา โอกาส หรือช่องทางการแสดงพฤติกรรมและความคิดเห็น เกณฑ์การประเมิน และผลตอบแทนจากการแสดงพฤติกรรมร่วมกันในระดับ ต่าง ๆ ๔) ส่งเสริมการบันทึก และเผยแพร่ความดี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเรียนรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งในชีวิตจริง และผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ๕) โรงเรียนจัดทำช่องทางในการเผยแพร่ความดี ทั้งที่เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ ๖) โรงเรียนแจ้งครอบครัวของนักเรียน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ และ ๗) โรงเรียนและสภานักเรียนสรุปผลการดำเนินการทุกสิ้นปีการศึกษา เพื่อนำไปใช้เป็นตัวอย่าง และแรงบันดาลใจในการทำความดีในปีการศึกษาต่อไป

ข้อมูลสำหรับการอ้างอิงในบรรณานุกรม

คณะนักศึกษาการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๘ กลุ่มที่ ๑. (๒๕๖๔). การพัฒนาแนวทางการใช้ ระบบเครดิตสังคมบนพื้นฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม. เอกสารวิจัยหลักสูตร จิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๘. สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง..

การเผยแพร่นำเสนอผลงานวิจัย

งานวิจัยนี้ได้มีการนำเสนอผลงานในการแถลงผลงานนักศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๘ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๖๔ โดยมีผลงานวิจัยนำเสนอรวม๘ กลุ่ม ๘ เรื่อง ถ่ายทอดผ่านโปนแกรม google meet และเพจสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง มีผู้ลงทะเบียนเข้าชม ๘,๐๐๐ คน สามารถอ่านบทสรุปผู้บริหาร จากเว็บไซต์สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท