สตรีชาติพันธุ์กับการสร้างภูมิคุ้มกันความรุนแรงในครอบครัว : เวทีกลุ่มสตรีกะแย กะยัน กะยอ และปะโอ


แกนนำผู้หญิงชาติพันธุ์ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่เป็นเสียงเงียบในสังคมไทย แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เรามองข้ามไม่ได้

ประชุมเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพครอบครัวชาติพันธุ์ วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 

เป็นอีกหนึ่งเวทีที่ผมได้เข้าร่วมในฐานะวิทยากร 

จริงๆก็รู้สึกภูมิใจ เพราะเป็นผู้ชายเสียงส่วนน้อย ที่ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยขับเคลื่อนเสียงเงียบนั่นก็คือเสียงของผู้หญิงชาติพันธุ์ 

วันนี้ก็มาด้วยกัน 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มสตรีกะแย (กะเหรี่ยงแดง) กะยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) กะยอ (กะเหรี่ยงหูใหญ่) และปะโอ (ตองสู)

 


ส่วนใหญ่กลุ่มที่มานี้ก็เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย แต่ก็ถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และอยู่อาศัยร่วมกับพี่น้องกลุ่มชาติติพันธ์อื่นๆในแม่ฮ่องสอนมายาวนาน จนเสมือนเป็นประชากรผืนป่าแม่ฮ่องสอนเดียวกัน 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของสตรีก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายมิติ วันนี้ อาจจะเน้นหนักไปที่ประเด็นเรื่องของ การสร้างภูมิคุ้มกันรวมถึงการจัดการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิสตรี ความรุนแรงในครอบครัว 

ซึ่งในส่วน ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็มาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรุนแรงในครอบครัวและสิทธิที่ผู้หญิงชาติพันธุ์ควรรู้

ส่วนของผมวันนี้มาในหมวกภาคประชาสังคม ก็รับผิดชอบในประเด็นเรื่องของการใช้สิทธิ์การเชื่อมต่อ การส่งเรื่องราวไปยังภาคประชาสังคม


พูดง่ายๆก็คือรับกันคนละส่วนครับ ส่วนของราชการเขาก็จะอธิบายเกี่ยวกับหลักกฎหมายแล้วก็ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนกับกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเป็นหลัก

ส่วนของผมก็จะให้ข้อมูลนะครับ สร้างกำลังใจด้วย แล้วก็สร้างความรู้สึกว่าเรื่องของสตรีเรื่องสิทธิต่างๆเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่สามารถที่จะใช้ได้ในพื้นที่จริง ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นสตรีชาติพันธุ์ในไหนเป็นคนไร้สัญชาติหรือไม่ก็ตามแต่ รวมถึงชี้ช่องกลยุทธ์ที่จะดึงเอาผู้ชายเข้าเป็นแนวร่วมด้วย

 

 

การสร้างแนวร่วมที่เป็นผู้ชายนี่สำคัญมาก เพราะถ้าอีกฝ่ายไม่มีส่วนร่วม ก็จะกลายเป็นผู้หญิงตบมือข้างเดียว (แถมอาจจะโดนแรงเหวี่ยงกลับมาจนต้านไม่ไหว)

การขาดแผน แนวทาง กลยุทธ์การสร้างและขยายแนวร่วมที่เป็นผู้ชาย เป็นจุดอ่อนของขบวนการสิทธิสตรีในทุกระดับ อันนี้ผมสะท้อนตลอด และส่วนใหญ่ยังปรับกลยุทธ์กันไม่ค่อยได้

ผมก็พยายามยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงและเล่าเรื่องราวต่างๆออกมาสื่อสารให้เข้าใจง่ายๆนะครับ จะได้ไม่มองสิทธิสตรีเป็นเรื่องหนักเกินไป นอกจากนี้ก็ให้ช่องทางประสานงานไปซึ่งคิดว่าหลังจากนี้ บรรดากลุ่มสตรีชาติพันธุ์ต่างๆทั้ง 4 กลุ่มก็น่าจะได้ประโยชน์

ถึงพวกเธออาจจะจำเนื้อหาในเวทีวันนี้ได้ไม่หมด แต่ก็ได้รู้จักจดจำในบางเรื่อง รวมถึงได้ช่องทางการติดต่อสื่อสารหลังจากเวทีเสร็จสิ้นไปแล้วก็ถือว่าน่าจะเพียงพอสำหรับเวทีเล็กๆ 

นั่นเป็นกระบวนการช่วงเช้าครับ

ทีนี้ ช่วงบ่ายก็มีการแบ่งกลุ่มย่อยตามกลุ่มชาติพันธุ์ โดยให้แต่ละกลุ่ม สำรวจทำแผนที่สังคม (Social Mapping) เป็นแผนที่สังคมที่วาดซ้อนลงไปในแผนที่ทางด้านกายภาพของหมู่บ้านชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ แต่ในนั้นก็ระบุความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆ เครือญาติครอบครัว เชื่อมโยงไปสู่การวิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่างๆที่อยู่ในชุมชนที่อยู่ในครอบครัวของพวกเธอเหล่านั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง


ตามด้วยการทำวิเคราะห์โครงสร้าง ระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจครอบครัวของตนเอง บอกเล่าถึงประสบการณ์ตรงของตนในครอบครัว 

 

พูดง่ายๆคือเหมือนกับเปิดใจนะครับให้ทางผู้หญิงชาติพันธุ์ได้บอกเล่าเรื่องราวตัวตนออกมาซึ่งเหมือนเป็นแบบฝึกหัดครับ ได้ฝึกให้พวกเธอได้เล่าเรื่องราวที่ดูเหมือนจะเป็นส่วนตัวให้กับคนอื่นได้รับรู้ครับ ถึงการเล่าวันนี้อาจจะยังไม่ลึกมากนะครับ เพราะเหมือนกับว่าปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงลึกๆที่เป็นเรื่องความรุนแรงในบ้านนั้น ยังไม่ถูกสะท้อนออกมา ( ผมคิดว่ามัน sensitiveครับ ใครจะเล่ากันง่ายๆ ถึงจะเป็นวงผู้หญิงด้วยกันก็ใช่ว่าจะเล่าออกมาได้ตรงๆ แต่อย่างน้อยนี่ก็เป็นโอกาสครับ)  

 

ดังนั้น สิ่งที่พวกเธอเล่า ก็จะเป็นระดับผิวๆอยู่ อาจจะอยู่ว่าบ้านเป็นยังไงชีวิตครอบครัวอยู่ร่วมกันยังไงบ้าง แต่ว่าการได้รับการกระทำความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิ์ต่างๆอะไรยังไงนี่ยังไม่ถึงขั้นที่เข้มข้นออกมา

แต่ก็ไม่เป็นไรครับเพราะว่าเรายังมีพื้นที่สื่อสารที่ดูเหมือนกับเป็นตัวต่อตัวหรือว่าจะมีความรู้สึกว่าเก็บความลับได้ในอีกวงนึงซึ่งอาจจะเป็นวงที่เขาติดต่อโดยตรงกับทางหน่วยงานหรือว่าอาจจะเป็นการรับเรื่องร้องเรียนก็ได้นะครับ

อันนี้ การเขียน วิเคราะห์ อภิปรายเหล่านี้ ก็เหมือนกับเป็นการสำรวจแล้วก็ฝึกให้พวกเธอได้บอกเล่าวิเคราะห์จากมุมของตัวเองออกมา 

 

อีกส่วนหนึ่งที่ผมได้ทำควบคู่ไปกับเวทีนี้ก็คือการจัดโฟกัสกรุ๊ป ล้อมวงคุยรับฟังความคิดเห็น สุขภาพสตรีชาติพันธุ์ในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งก็ได้ตัวแทนแกนนำสตรีของทั้ง 4 กลุ่มไม่ว่าจะเป็นสตรีกะแย (กะเหรี่ยงแดง) กะยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) กะยอ (กะเหรี่ยงหูใหญ่) และปะโอ (ตองสู) มาเล่าเรื่องราวผลกระทบรวมถึงการปรับตัวและข้อเสนอต่างๆจากมุมมองของผู้หญิงฐานราก ซึ่งมีทั้งได้สัญชาติไทยและยังไม่ได้สัญชาติไทยด้วย

ตรงนี้ผมกับทีมก็จะทำเป็นคลิปวีดีโอซึ่งกำลังรอตัดต่ออยู่คิดว่าน่าจะออนไลน์ได้เร็วๆนี้
ก็ถือได้ว่าเป็นงานที่เสริมเข้ามาในจังหวะที่ได้พบปะกับแกนนำผู้หญิงชาติพันธุ์ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่เป็นเสียงเงียบในสังคมไทย

แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เรามองข้ามไม่ได้ 

นอกจากนี้ ยังได้โอกาสสัมภาษณ์แกนนำสตรีชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และยังได้สัมภาษณ์ผู้ชายที่เป็นสมาชิกสภาชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วยนะครับ ถึงมุมมองที่เขามองต่อผลพวงของ covid-19 ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และผู้หญิงชาติพันธุ์ในช่วงสถานการณ์นี้ที่แม่ฮ่องสอน

 

 

ก็จะเป็นอีกสื่อคลิปวีดีโอที่จะนำมาบอกเล่าต่อสาธารณะในเร็วๆนี้

คอยติดตามนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 691676เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2021 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2021 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท