STKS
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS

ความรู้องค์กร ประเด็นใหม่ของ ISO 9001:2015


ข้อกำหนดที่น่าสนใจมากข้อหนึ่งของ ISO 9001:2015 คือ ความรู้องค์กรอันเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกแห่ง KM เพราะมีการกำหนดให้ “ความรู้” เป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร เนื่องจากการสำรวจข้อมูลของ ISO ในคน 15,000 คนทั่วโลก “การจัดการความรู้” เป็นหนึ่งในคำตอบที่พบว่าขาดหายไปในกระบวนการ ISO ก่อนหน้านี้

ISO 9001:2015 จึงได้กำหนดหัวข้อ “ความรู้องค์กร” ขึ้นมาในหมวด 7 Resource โดยมีรายละเอียดน่าสนใจคือ

7.1.6 ความรู้องค์กร

องค์กรต้องพิจารณากำหนด ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานกระบวนการและเพื่อให้สอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ

ความรู้ต้องได้รับการธำรงรักษา ทำให้มีอยู่ตามขอบเขตที่จำเป็น

เมื่อ มีการระบุความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้ม, องค์กรต้องพิจารณาความรู้ในปัจจุบันและพิจารณาวิธีการทำให้ได้มาหรือเข้าถึง ความรู้เพิ่มเติมที่จำเป็น และความต้องการที่ทำให้ทันสมัย

หมายเหตุ 1 ความรู้องค์กร คือ ความรู้เฉพาะสำหรับองค์กร ; ได้มาจากประสบการณ์. เป็นสารสนเทศที่ได้ใช้และแบ่งปันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

หมายเหตุ 2 ความรู้องค์กร สามารถอยู่บนพื้นฐานของ a) แหล่งภายใน ( ตัวอย่าง ทรัพย์สินทางปัญญา; การเรียนรู้จากประสบการณ์; การเรียนรู้จากความล้มเหลวหรือการสำเร็จของโครงการ การรวบรวมและแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ไม่ได้เป็นเอกสาร; ผลการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และ บริการ) b แหล่งภายนอก (เช่น มาตรฐาน; แหล่งการศึกษา; การประชุมทางวิชาการ; ความรู้ที่ได้จากลูกค้า หรือ ผู้ให้บริการภายนอก)

Clause 7.1.6. Knowledge

Determine the knowledge necessary for the operation of its processes and to achieve conformity of products and services.

This knowledge shall be maintained and made available to the extent necessary.

When addressing changing needs and trends, the organization shall consider its current knowledge and determine how to acquire or access any necessary additional knowledge and required updates.

NOTE 1: Organizational knowledge is knowledge specific to the organization; it is generally gained by experience. It is information that is used and shared to achieve the organization’s objectives.

NOTE 2: Organizational knowledge can be based on: a) Internal Sources (e.g., intellectual property, knowledge gained from experience, lessons learned from failures and successful projects, capturing and sharing undocumented knowledge and experience; the results of improvements in processes, products and services); b) External Sources (e.g., standards, academia, conferences, gathering knowledge from customers or external providers).

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า “การบริหารจัดการความรู้องค์กร” จึงน่าจะเป็นอีกประเด็นสำคัญขององค์กรทุกองค์กร องค์กรต้องมีกระบวนการอย่างไรให้ “ความรู้องค์กร” อยู่คู่กับองค์กรตลอดไป มีการถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นอย่างแท้จริง

แหล่งข้อมูล

  • https://realkm.com/2015/10/14/knowledge-management-and-iso-90012015/
  • http://www.isotoyou.com/index.php/article/547-iso9001-2015-organization-knowledge.html
  • https://www.tuv-sud-america.com/uploads/images/1403640137026264540781/iso9001-2015webinar-final.pdf
หมายเลขบันทึก: 691339เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2021 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2021 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท