การดูแลอารมณ์ตัวเอง ตอนที่2...สังเกต เห็น เรียนรู้ จำ และฝึกฝน


การดูแลอารมณ์ตัวเอง

ตอน...สังเกต เห็น เรียนรู้ จำ และฝึกฝน

อารมณ์ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ขอแบ่งปันตามความเข้าใจตัวเองนะคะ
.
.
อารมณ์ เกิดขึ้นจาก การตีความ แปลความหมาย (ความคิด)จากช่องทางการเชื่อมต่อโลกภายนอก(เหตุการณ์ ผู้คน อาหารฯลฯ) กับโลกภายในของเรา
.
ช่องทางเชื่อมต่อคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
.
+
เราจะดูแลอะไร/ใคร/คุณคิดว่า เราควรเรียนรู้อะไรบ้าง?
มีแนวทางฝึกฝนตนเองอย่างไร?
.
.
คุณล่ะ คิดว่าอย่างไร?
.
.
.
.
ข้อมูลนี้เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวงเรียนรู้ออนไลน์กับเพื่อนๆ ส่วนหนึ่ง จากประสบการณ์ตัวเองที่ผ่านการเรียนรู้มาก็ส่วนหนึ่ง และเกิดจากการเรียนรู้จากการฟังคลิปเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองก็อีกส่วนหนึ่ง ผสมผสานมาถ่ายทอดความรู้ผ่านหัวใจและหัวสมองของแม่ดาว (หวังว่าจะเป็นประโยชน์)
+

แนวทางการฝึกฝนในการดูแลอารมณ์ตัวเอง

1. รู้จัก ชื่อ อารมณ์ของตัวเอง เช่น เบิกบาน ชื่นใจ สุขใจ ตื่นเต้น กลัว มั่นคง หงุดหงิด โกรธ เสียใจ หดหู่ ท้อใจ สิ้นหวังฯลฯ
.
.
2. ใส่ใจที่จะ "สังเกต" เห็นอารมณ์กับความคิดที่มีก่อน

สังเกตอย่างไร ดีนะ?
.
.
ใส่ใจสังเกตเห็น อยู่กับความปกติของใจเป็นหลัก
.
.
2.1 สังเกต ว่า เวลาที่ใจเราอยู่ในสภาวะปกติ (มีความปกติ) ใจส่งผลต่อความรู้สึกของใจอย่างไร? และ ส่งผลหรือมีปฏิกริยาอย่างไรต่อร่างกายส่วนใดอย่างไร?
.
.

คุณเคยสังเกต เห็น รู้สึก ถึง ความปกติสุขของใจไหม ชวนกลับไปสังเกตกัน
ใครเจอแล้ว หรือใครเคยรู้สึกถึงสภาวะเช่นนี้มาแล้วก็ชวนมาแบ่งปันกัน
.
.
ความปกติของใจแม่ดาว นั้น ใจจะมีความรู้สึกโล่งๆ เบาสบาย สงบภายใน เบิกบาน (เปรียบเทียบได้กับ ท้องฟ้าใสไร้เมฆ) ไม่มีความคิดใดๆ เกิดขึ้นในหัว โล่งๆ ว่างๆ
.
.
อ่านไปก็ยังไม่สามารถเข้าถึงสภาวะนี้ได้จริง นอกจากจะเคยได้รับประสบการณ์จริงกับตัวเองเนาะ คิดไปก็ไม่รู้(จริง) ถ้าอยากรู้(จริง) ก็ไปลองสังเกตตัวเอง
.
.
เหตุใดแม่ดาวถึงชวนให้หมั่นสังเกต สภาวะปกติของใจ
เรื่องนี้เกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตัวเอง
.
.

แต่ก่อนมักใส่ใจ สังเกต แต่อารมณ์ไม่ปกติ ซึ่งก็มุ่งไปที่ความรู้สึกทางลบ(ตอนนั้นยังไม่เป็นมิตรกับอารมณ์) มุ่งจะจัดการ ควบคุม กำกับ กดข่มอารมณ์ สู้รบกับอารมณ แต่ก็ได้ความรู้สึกตัวระดับหนึ่งแหละ แต่การพัฒนาทางคุณภาพของอารมณ์ก็ยังมีน้อยมาก
.
.
จนได้พบกับหนังสือเล่มหนึ่ง บอกไว้ว่า(ไม่ได้ถอดความ แต่เป็นการสรุปความเนาะ)

 การกลับมารับรู้เห็นสภาพความปกตินั้น จะเป็นหนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ความเป็นปกตินี้ เป็นสภาพที่เมื่อเราได้รู้จักบ่อยๆ จะส่งเสริมให้จิตมีคุณภาพเพียงพอ มีความตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นต้นทางไปสู่ทางพ้นทุกข์
.
.
ค่ะ แม่ดาวไม่ใช่แค่คิดตามแล้วด่วนเชื่อ แต่นำความรู้นี้มาลองใช้กับตัวเอง อัศจรรย์ใจกับตัวเองถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อได้ใส่ใจฝึกปฏิบัติ เอาจริงๆ ก็แค่ดู รู้แบบเหลือบๆ ไม่ได้ตั้งใจจ้องเพ่งเล็งจะต้องดูต้องเห็น
.
.
หลายคนพออ่านเจอคำว่าฝึกปฏิบัติก็อาจตีความไปว่า ต้องตั้งใจ ต้องจ้องเพ่งซึ่งอันนี้คือผิดหลัก เราแค่รับรู้เบาๆ
.
.
หลงเดินทางอ้อมไปตั้งนาน ทางนี้(วิธีนี้ลัดตัดตรงกว่า)
.
.
ปกติ มนุษย์เราต้องการความสุขเนาะ แต่ใจเราก็มักไปแช่ ไปจมไปเชื่อมต่ออยู่ในอารมณ์ไม่ปกติถี่ๆ จนรู้สึีกว่าเป็นปกติ(ทุกข์เป็นปกติ) หวลไห้กับอดีต ปรุงแต่งตีความไปเรื่อย กังวลกับอนาคตอีก ใจไม่ค่อยจะสงบสุข หรือหากสุข ก็สุขแบบฉาบฉวย สุขแบบโลกๆ ได้รับคำชม ได้รับการยอมรับ ได้วัตถุสิ่งของที่ต้องใจ ได้กินอาหารอร่อย ลูกสามีทำอะไรแล้วถูกใจเราฯลฯ (ความทุกข์สีขาว สุขแบบอาจแฝงทุกข์เอาไว้)
.
.
พอพาใจให้ได้พบความสุขบ่อย ๆ จนคุ้นชิน(สภาพความปกติ) จิตก็จะชอบกับปกติสุข(ความสุข)มันเป็นสุขเบาๆ สบาย เวลาเผลอใจวิ่งไปรับความทุกข์ มันจะรู้สึกตัวเร็ว กลับมาสู่ความปกติได้ง่ายขึ้น เพราะมันรู้ว่าว่า เฮ้ย!!!อันนี้ทุกข์ ไม่เอาดีกว่า จะละทุกข์ กลับมาสู่ความปกติง่ายขึ้น ก็อย่าเพิ่งเชื่อเนาะ ชวนไปใช้จนได้พบสภาวะนี้จนคุ้นชินเอง
.
.
ซึ่งแม่ดาวเองก็เพิ่งรู้วิธีนี้น่าจะประมาณ 2 ปีได้ ก็ยังเรียนรู้ฝึกฝนอยู่ค่ะ ไม่ได้อยู่ในสภาวะปกติได้ตลอดเวลา ก็คงมีความหลงเก่งอยู่ ก็นะ เราสะสมนิสัยหลงอารมณ์ผิดปกติเช่นนี้มายาวนานจนผมบนกบาลหงอกเพิ่งรู้สึกตัว

.
.
เอาล่ะ คำถามต่อไป ทำอย่างไรเราถึงจะเจอสภาวะปกติได้บ่อยครั้ง มากพอจะมีพลัง พัฒนาคุณภาพจิต? เรื่องนี้เป็นคำถามที่ฝากให้คิด คิดแล้วก็ชวนลงมือทำเนาะ ใครทำคนนั้นก็ได้
.
.
2.2 สังเกต ว่าเวลาที่ใจเราไม่ปกติ นั้นส่งผลอย่างไรกับความรู้สึกของใจ เรารู้สึกอะไร? มีปฏิกริยาอย่างไรเกิดขึ้นต่อร่างกาย?
.
.
เช่น อารมณ์ยอดฮิต และเห็นชัดสุด(สำหรับตัวเอง) คือ อารมณ์หงุดหงิด เวลาที่เกิดอารมณ์หงุดหงิด บริเวณท้องจะรู้กรุ่น ๆ ร้อนๆ ถ้าหงุดหงิดมากขึ้นจะเริ่มร้อนแน่นที่บริเวณหน้าอก เป็นต้น (แต่ละคน ชวนสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองเนาะ )
.
.

หลักคิด : หมั่นกลับมาถามตัวเอง "ตอนนี้ใจเรากำลังรู้สึกอะไร? "
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอนนี้ส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไร?
.
.
3. จำสภาวะตัวเองเช่นข้างบนที่สังเกตพบ หากเราใส่ใจกลับมาดูใจตัวเองบ่อยๆ เราจะจำได้เองค่ะ
.
.
4. ฝึกอยู่กับอารมณ์ตัวเอง (ไม่ผลักไส ไม่ไหลตาม) ยอมรับอารมณ์ตามจริง ฝึกอยู่แบบไม่ได้เข้าไปสิง ไปอิน แต่ฝึกที่จะอยู่แบบถอยออกมาเป็นผู้ดู (เหมือนเราไม่ได้เป็นนักแสดง แต่เราเป็นผู้ดูเขาแสดง)
.
.
5. ฝึกที่จะเห็นความคิดตัวเอง เวลาที่มีอารมณ์ (หากจำบ่นความเมื่อวานได้อารมณ์ไม่ได้เป็นผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เป็นผลจากการตีความ ณ ขณะนั้นของเรา) หมั่นถามตัวเอง
 

ที่เรารู้สึก........(ระบุ) เพราะเรามีความคิดอะไร? หรือ ตอนนั้นเรามีภาพอะไรเกิดขึ้นในหัว?
(ใครพลาดการอ่านบ่นความชุดนี้ตอนแรก แม่ดาวจะเอาลิ้งค์ใส่ที่ช่องความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ให้ค่ะ)
.
.

6. ฝึกรับรู้อารมณ์ ความคิด แยกความคิด ออกจากอารมณ์
ยอมรับอารมณ์ตามจริง(อารมณ์เกิดขึ้นได้เป็นธรรมาดา) ส่วนเรื่องความคิดให้เห็นความคิด อย่าด่วนเชื่อความคิดตัวเองทันที กลับมารับผิดชอบตัวเอง อาจใช้การตั้งคำถามให้ตัวเอง
.
.

"ความคิดนี้เป็นความจริงไหม? เราคิดเอง หรือเขาคิดจริง?"
หรือ"ความคิดนี้เป็นความคิดของใคร?" แล้วถ้าอยากรู้ความจริง "เราควรทำอย่างไร?" หรือ "เป็นความจริงของเรา หรือ ความจริงของโลก?"ฯลฯ
.
.
คำถามเหล่านี้จะช่วยให้เราช้าลงได้ ไม่ด่วนกระทำอะไรตามความคิดอัตโนมัติ เพราะความคิดเวลาที่ใจไม่ปกติ มักไม่ใช่ทางออกที่ดี(บ่อยครั้งมักเพิ่มปัญหา ยกระดับความทุกข์ให้มีมากขึ้น

หมั่นเห็นความคิด และทักท้วงความคิดเนาะ
.
.
7. ฝึกวิธีคิดของตัวเอง พัฒนาทักษะทางความคิด เพื่อหาวิธีคิดที่เหมาะสม (หลักคิด คือ ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งของ)

+

ค่ะ การที่เราจะมีความสามารถที่จะดูแลอารมณ์ตัวเองได้ เป็นทักษะ ที่ต้องฝึกฝน ถ้าแค่พร่ำบ่น ไม่เกิดผล หรือไปอ่านฟังผลที่ดีที่เกิดจากคนอื่นก็ไม่ส่งผล หรือไปอ่านกี่ร้อยกี่พันบทความ หนังสือมากมายแค่ไหนก็ไม่เกิดผล จะไปขอความรู้จากผู้รู้ที่เก่งที่สุด ดีที่สุด ก็ไม่เกิดผลกับตัวเรา
.

อยากได้ผล ก็หมั่นใส่ใจฝึกฝนกระทำเหตุที่ส่งผลที่เราปรารถนาเนาะ
+
บ่นความต่อไป ก็ยังอยู่ในเรื่องนี้ การดูแลอารมณ์ ส่วนจะเป็นตอนอะไรอย่างไรนั้น ใครสนใจก็ติดตามตอนต่อไปเนาะ เกริ่นนำ คิดว่าน่าจะชอบกัน เพราะลงลึกขึ้นในส่วนของวิธีทำ น่าจะช่วยให้เห็นชัดขึ้น จะได้เห็นทางไปของตัวเอง
+
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้

อาจเป็นภาพวาด

และขอบคุณภาพประกอบนี้จากแม่โอ๋ค่ะ ขอบคุณที่ใส่ใจ เร่งปั่นภาพให้เพื่อทุกคน รักและขอบคุณ

 

— กับ Oh Ratchalun

หมายเลขบันทึก: 691090เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2021 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2021 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท