การเล่นแร่แปรธาตุของความใจบุญ: ว่าด้วยชนชั้นและพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย ตอนที่ 1


โดยทั่วไป นักวิชาการได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างสังคม 2 สังคม ที่ซึ่งสังคมหนึ่งมีการแจกของขวัญกันเป็นพื้นฐาน และสังคมที่มีชนชั้นที่ทรัพย์สินส่วนบุคคลและความสะดวกสบายเป็นของปัจเจกบุคคล ในขณะที่ไม่มีใครปฏิเสธถึงการให้ของขวัญที่เป็นด้านหลักในสังคมเศรษฐกิจการเมืองแห่งสังคมเสมอภาค (egalitarian societies) แต่นักวิชาการเหล่านั้นกลับเมินเฉย หรือแม้แต่ปฏิเสธความหมายของการให้ของขวัญในสังคมที่แบ่งแยกเป็นชนชั้น ดังนั้น ถึงแม้ว่า Pierre Bourdieu จะวาดภาพให้เห็นถึงการให้ของขวัญในสังคมก่อนทุนนิยม ว่าเป็นรูปแบบของการควบคุมขั้นปฐม แต่เขาก็ยังเสนอว่าสังคมที่เกิดมาจากรัฐได้พัฒนากลไกของการควบคุมที่ใครๆก็เห็นได้ ซึ่งปรากฏโดยอ้อมและไม่จำกัดตัวบุคคล (impersonal) โดยนัยยะเดียวกัน David Cheal ในขณะที่โต้เถียงกับความสำคัญของการให้ของขวัญในเชิงพฤติกรรมและสัญลักษณ์ในสังคมที่สลับซับซ้อน ยังเสนอว่า การปฏิบัติการให้ของขวัญจะไม่มีหลักการของการกระจายทรัพยากรแม้แต่น้อย และในสังคมสมัยใหม่ จะมีวิธีการควบคุมหลากวิธี ที่ของขวัญจะเป็นส่วนน้อย

ในบทความที่น่าตื่นตาตื่นใจในเรื่องการแลกเปลี่ยนในสังคมยุคหินของเขา Marshall Sahlins (1992) ได้นิยาม 3 ชนิดของการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทน (reciprocity) ว่ามี เสมอกัน (balanced= หวังผลว่าจะได้คืน), ต่างตอบแทน (generalized= ไม่หวังผลว่าจะได้คืน), เป็นไปในทางลบ (negative= ขู่เข็ญว่าจะได้หรือได้ในลักษณะที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น) ถึงแม้ว่าตัว Sahlins ต้องการจะบอกว่า “ในสังคมยุคบรรพกาล การให้แลกเปลี่ยนต่างตอบแทนแบบเสมอกันจะไม่ใช่รูปแบบหลักของการแลกเปลี่ยน แต่งานส่วนใหญ่ในเรื่องการแจกของขวัญกลับมุ่งเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนต่างตอบแทนแบบเสมอกัน บทความนี้จะเน้นไปที่รูปแบบการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทนต่างตอบแทน (ไม่หวังผลว่าจะได้รับกลับคืน) หรือเป็นการให้แบบทั่วไป (unidirectional giving), พุทธเถรวาทในปัจจุบัน ได้แก่ สถาบันการทำบุญ ที่ปฏิบัติโดย ชาว khon muang ในภาคเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทย และพุทธเถรวาทอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่าการทำบุญ หรือการกระทำแห่งความใจกว้างเป็นบทบาทสำคัญในการปฏิบัติทางศาสนาในหมู่บ้าน ดังที่นักสังเกตการณ์ในศตวรรษที่ 19 การทำบุญก็เหมือนกับความสำคัญหลักๆในความศรัทธาและการเคารพในทางศาสนาเลยทีเดียว

ถึงแม้ว่าในพุทธแบบเถรวาท การทำบุญจะเป็นจุดมุ่งหมายหลักในการปฏิบัติทางศาสนาในหมู่บ้าน แต่นักวิชาการหลายคนปฏิเสธในการนำการทำบุญไปอยู่ในบริบทที่กว้างขึ้นของสังคมที่มีชนชั้น ดังนั้นกระบวนทัศน์ของการทำบุญจึงทำให้คุณลักษณะของตัวละครทั้งผู้รับ, ผู้ให้, และปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันถูกเข้าใจอย่างผิดๆ

ด้วยการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ บทความนี้จึงได้นำหลักฐานตั้งแต่ศตวรรษที่ 19, ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่าจากคนแก่กว่า 500 คนในหมู่บ้าน ที่ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่กระจายกันมากกว่า 400 แห่งในดอยเชียงใหม่ และผู้สัมภาษณ์ 90 คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่แยกขาดจากหมู่บ้านอื่นๆรอบๆดอยเชียงใหม่ในภาคเหนือของประเทศไทย มากกว่าการผลักไสการให้ของขวัญไปสู่พิธีกรรมทางศาสนาในโลกเล็กๆแล้ว บทความนี้จะนำเสนอรูปแบบของการให้ที่มีทิศทางเดียว ข้ามชั้น เช่น ความใจกว้าง อาจเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญการกระบวนการการใช้อำนาจครอบงำ (hegemony) และการต่อต้าน (resistance) ในโครงสร้างเชิงสังคมการเมืองของสังคมที่สลับซับซ้อน

แปลและเรียบเรียงจาก

Katherine A. Bowie. The Alchemy of Charity: Of Class and Buddhism in Northern Thailand.

หมายเลขบันทึก: 690781เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2021 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2021 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท