ศพที่หอมหวน: กระบวนการทำให้เป็นสินค้าของศพพระที่มีบารมีในสังคมไทย ตอนที่ 5


กรณีศึกษา 2 ตัวอย่าง

1. ปัญญานันทะภิกขุ    

ปัญญานันทะ (1911-2007) นามเดิม ปั่น เกิดในพัทลุง ทางภาคใต้ของประเทศไทย เขาบวชเป็นสามเณรตอนอายุ 18 ปี ต่อมาเป็นพระตอนอายุ 20 ปี

ภายใน 2-3 ปี เขาจบธรรมะศึกษาเกรด 3 และภาษาบาลีได้เปรียญ 4 ประโยค ด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาจึงเลิกเรียน และได้อยู่ที่มาเลเซีย ที่นั้นเขามีโอกาสเรียนรู้ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ เขาชอบที่จะยืนเทศนา ในขณะที่พระองค์อื่นๆนั่ง นอกจากนี้เขายังชอบหลักแห่งเหตุผล วิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อชาวบ้าน เขาไปพบพุทธทาสภิกขุ (1900-1993) ต่อมาได้เป็นสหธรรมิกทางธรรมด้วยกัน ในปี 1949 เขาไปที่เชียงใหม่เพื่อเผยแพร่ศาสนา ต่อมาได้ออกนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อว่า “ชาวพุทธ” และไปเขียนบทความประจำเดือนส่งไปจัดพิมพ์ที่นิตยสาร “ชาวเหนือ” การใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารกับบรรดาชาวพุทธในเชียงใหม่ และได้สั่งสอนพวกเขาในศาสนาที่มาจากไตรปิฎก ในปี 1959 เขาได้รับเชิญจากอธิบดีกรมชลประทานมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดชลประทาน ทางภาคกลางของประเทศไทย ที่วัดนั่นเขาได้สั่งสอนชาวพุทธและปฏิรูปการปฏิบัติทางศาสนาหลายอย่างจนกระทั่งถึงแก่มรณภาพในปี 2007

จากการสัมภาษณ์ พระ Withum จากวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ในเดือนมกราคม ปี 2016 พบว่า การสอนของปัญญานันทะนั้นดึงดูดชนทุกๆสถานภาพ ในขณะที่คนมีการศึกษาจะพึงพอใจกับการสอนที่มีเหตุผลและวิพากษ์วิจารณ์ของท่าน ในขณะเดียวกันชาวบ้านข้ามาถึงการสอนเหล่านั้นโดยดูจากเรื่องตลก ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญานันทะกับรัฐเป็นไปอย่างแนบแน่น เพราะฉายาของท่าน คือพระพรหมมังคลาจารย์ ในหลวงเป็นคนพระราชทานให้ ผิดจากผู้อื่น คนที่เข้าไปหาท่านโดยมากจะเป็นชนชั้นกลาง จากการสังเกตในภาคสนามปี 2005 ก็พบว่าคนที่มาเข้าร่วมธรรมะวันอาทิตย์ล้วนเป็นชนชั้นกลาง มีโทรทัศน์ไทยได้ถ่ายทำชีวประวัติในเชิงสารคดี ชื่อว่า จุดเปลี่ยน: ถึงการดับ แต่ธรรมะไม่ดับ ปัญญานันทะ ได้ออกอากาศช่วงตุลาคม วันที่ 17 ปี 2013 เขาบอกกับผู้ให้สัมภาษณ์ว่า “ฉันมีหลายๆโรค แต่ฉันพยายามทำงานนี้ให้ดีที่สุด เพราะว่าฉันกำลังจะตาย” ในขณะที่เขาพูด เขาทำงานอย่างหนักทุกๆวัน จนกระทั่งเขาตายไปในวัย 96 ในปี 2007

สุนารี ผู้ให้ข้อมูลที่ได้เข้าร่วมทุกๆกิจกรรมในวัดในทุกๆอาทิตย์ กล่าวว่า เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมของวัดมากกว่า 10 ปีแล้ว เพราะว่าลูกชายของเธอได้บวชเป็นสามเณรที่นี่ สิ่งที่ทำให้เธอประทับใจคือการที่ปัญญานันทะบอกว่าคนที่พร้อมจะมาบวชทุกๆคนจะต้องสละผม ในขณะที่วัดอื่นๆจะกระทำกับผมด้วยความศรัทธา คนไทยจะนำผมที่ตัดแล้วไปไว้ในกลีบดอกบัว และวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ ปัญญานันทะกล่าวว่า ชาวพุทะจะต้องเชื่อในแก่นของศาสนาและพัฒนาชีวิตตนเอง และไม่เกี่ยวข้องกับศรัทธาที่งมงาย จริงๆแล้วรายการบวชในวัดของเขาจัดขึ้นทุกเดือน แต่ไม่มีการแห่เหมือนกับที่อื่นๆ การใช้แตรวงหรืองานกลางคืนจะถูกห้าม กฎที่ทรงคุณค่านี้จะถูกใช้ในงานศพด้วย การสวดแต่ภาษาบาลีที่ทำกันมาอย่างเนิ่นนานจะถูกแทนที่ด้วยการพูดถึงธรรมะในภาษาไทย ถึงแม้ว่าปัญญานันทะจะวิพากษ์ถึงประเพณีของชาวพุทธ พระเครื่อง และความเชื่อเรื่องผี เป็นอาทิ แต่เขาก็ไม่ขัดขวางโครงการขนาดใหญ่ เช่น การสร้างโรงเรียน และโรงพยาบาล บางครั้ง มันอาจเป็นอัตลักษณ์อันหนึ่งของชาวพุทธในยุคสมัยใหม่ก็ได้

แต่ก่อนการมรณภาพของเขา เขาตัดสินใจที่จะร่วมกันบริจาคจากใครก็ได้เพื่อมาสร้างอุโบสถที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำ  อุโบสถนี้เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัยในอยุธยา โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 193,000,000 บาท ปัญญานันทะมรณภาพในปี 2007 ในขณะที่การสร้างกำลังดำเนินอยู่ ดังนั้นสาวกของเขาจึงตัดสินใจเก็บศพเขาไว้ก่อนการเผา โดยการทำเช่นนั้น เงินจำนวนมากยังคงไหลจากชาวพุทธทั่วประเทศ ที่ยังเคารพร่างกายของเขาอยู่ สามารถกล่าวได้ว่าถึงแม้เขาจะตาย แต่ศพที่ยังไม่ถูกเผายังคงระดมเงินจากชาวพุทธมาเพื่อสนองเจตนารมณ์ของเขาได้ ในกรณีนี้ กระบวนการทำให้สินค้าย่อมแตกต่างจากกรณีอื่นๆในแง่ที่เกี่ยวข้องสถานภาพทางสังคม มันแสดงให้เห็น กระบวนการทำให้เป็นสินค้าที่สามารถจะคลอบคลุมทั้งคนที่มีการศึกษาสูง และชนชั้นกลาง ผู้ซึ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ของพวกเขาเองที่ใช้เหตุผลในการศึกษาทางศาสนาและการปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม ก็อาจไม่ถูกหากการเก็บศพมีไว้เพื่อการทำบุญเท่านั้น ตามที่พระณรงค์กล่าวว่า ศพที่ถูกเก็บไว้เพราะว่าปัญญานันทะภิกขุบอกกับลูกศิษย์ว่าเขาจะอยู่จนถึงอายุ 100 ปี ในการเติมเต็มการตัดสินใจของเขา พระทั้งหลายจึงวางแผนไว้ว่าจะเผาร่างที่ถูกทำให้เป็นมัมมี่ในปี 2017 ในขณะที่อุโบสถสร้างเสร็จในปี 2013 ในการเตรียมตัวเพื่อจัดการกับการเผาร่างของปัญญานันทะ เจ้าอาวาสองค์ใหม่เริ่มต้นสร้างตึกที่ระลึกถึงขนาดใหญ่ โดยการบรรจุไว้ซึ่งประวัติชีวิตของปัญญานันทะภิกขุ หลายล้านบาทได้บริจาคมาสู่วัดนี้โดยส่วนใหญ่มาจากคนที่ประทับใจในการสอนของปัญญานันทะภิกขุ กิจกรรมอื่นๆจะมีการนำเสนอโดยอาศัยรูปของเขา เช่น การบวชชีพราหมณ์ให้กับผู้หญิง, การทำความสะอาดครั้งใหญ่, การบริจาคแก้วตาให้กับคนแก่, การรวมเงินเพื่อสร้างสถานีวิทยุธรรมะ และอื่นๆ ทั้งหมดระดมเงินบริจาคมาให้วัดนี้ทั้งสิ้น

สิ่งที่ต้องถามก็คือทำไมการกระทำให้เป็นสินค้ากล่าวคือเก็บศพในวัดนี้จึงไม่ถูกวิจารณ์? อันดับแรก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ของปัญญานันทะเป็นคนชั้นสูงและคนชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม ปัญญานันทะไม่เคยสร้างพระเครื่องมาเป็นสินค้าของตนเลยเหมือนกับพระที่มีบารมีอื่นๆระหว่างชีวิตเลย ดังนั้น วิธีการกระทำให้เป็นสินค้าของวัดชลประทานจึงไม่ใช่การขายของวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่หนังสือธรรมะที่เหมาะกับผู้บริโภคที่เรียกตนเองว่ามีเหตุผลและทันสมัย  โดยนัยยะเดียวกัน การสร้างตึกและโปรแกรมต่างๆของวัดถูกใช้เพื่อให้การศึกษากับคนในพุทธที่บริสุทธิ์ ก็ไม่ใช่ศรัทธาที่มืดบอดแต่อย่างใด กรณีของปัญญานันทะแสดงให้เห็นว่ากระบวนการทำศาสนาให้เป็นสินค้านั้นไปด้วยกันกับชนชั้นสูงที่มีการศึกษาและชนชั้นกลาง

แปลและเรียบเรียงจาก

Jesada Buaban. Fragrant Corpses: Commodification of Charismatic Monk’s Corpses in Thai Society

หมายเลขบันทึก: 690644เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2021 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2021 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท