“มองอย่างกว้าง ทำอย่างแคบ” ชีวิต คน ชุมชน โลก และการสื่อสาร ที่จริงๆเราไม่แยกจากกัน :


“การสื่อสารกับการใช้ชีวิตของผู้สื่อสาร จึงแยกกันไม่ออก” ความสำเร็จในการสื่อสารที่สังคมตัดสินเราจึงไม่ใช่โชคชะตา ไม่ใช่แต่เรื่องข้อมูล แต่มันรวมถึงความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ในตัวเอง ครอบครัว สังคม ฯลฯ ทั้งหมดจะถูกประมวลเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เราสื่อสารออกไป

“มองอย่างกว้าง ทำอย่างแคบ” ชีวิต คน ชุมชน โลก และการสื่อสาร ที่จริงๆเราไม่แยกจากกัน :

AAR ประชุมทีมสื่อแห่งอนาคต : ทีมสื่อสุขภาวะสตรีชาติพันธุ์

วันนี้ version online แต่ก็เริ่มด้วย Mindfulness เล็กน้อย

จัดท่านั่งหลังตรงแต่ให้ผ่อนคลาย รับรู้ถึงสัมผัสที่นั่งเต็มเก้าอี้ หายใจยาวๆลึกๆ เข้า-ออก ทำใจสบายๆ

กลับมาอยู่กับสติเพื่อเตรียมเดินปัญญา

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””

เปิดมุมมองที่กว้าง ตาหนึ่งมองเห็น สำนึกที่ตนเป็นคนชุมชนท้องถิ่น แต่อีกตามองเห็นตัวเองในฐานะ Global Active Citizen

“เป็นสื่อต้องมองกว้าง แต่ทำแคบ”

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””

“คุณใช้คำถามเป็นไม๊???”

ใช้คำถามเป็น คือ ไม่ใช่ใช้เพื่อถามข้อมูลเสมอไป แต่ใช้คำถามได้หลากหลายหน้าที่ เหมือนมีมีดเล่มเดียวแต่จริงๆเราใช้ Multi-Function ใช่ไหม นั่นคือเราใช้มีดเป็น

การใช้คำถามเป็น คือเป็นนายของภาษา เป็นนายของคำถาม ใช้คำถามอย่างมีชั้นเชิง มี Multi-Funtion โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยิงคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา แล้วสังเกตการสะท้อนกลับซึ่งอาจจะอยู่ในภาษากาย สัญลักษณ์ ต่างๆ

แม้แต่ความเงียบก็เป็นการสื่อสารที่ผู้ตอบ บอกบางสิ่งบางอย่างกับเรา

เพราะการตอบคำถาม มากมายไม่ได้อยู่ในรูปของการพูด อันนี้ นักสื่อสารต้องพัฒนาทักษะให้มี Sensing แบบนี้

จะฝึกได้ไง How to Learn ผมไม่บอกตรงๆนะ มันมาม่า ไวไวกึ่งสำเร็จรูปไป อยากให้คนรุ่นใหม่ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ถึงบอกก็บอกได้ไม่หมด แต่นักเรียนรู้ที่ดีจะต้องหมั่นจับสังเกตสิ่งที่ครูไม่ได้บอก

แต่อย่างน้อยถ้าทำกระบวนร่วมกันไป จะเห็นหลายสิ่งที่สอดแทรกไว้ในการประชุมนะครับ ถ้าจับประเด็น จับ Keywords ได้ ก็จะเห็นอะไรเพิ่มเติม

แต่ในการเห็นนั้นต้องระวังด้วย

เพราะ“สิ่งสำคัญ ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา”

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””




กลับมาอีกเรื่องที่คุยในวงวันนี้

“ทำไมเราจึงควรเปิดกล้องเวลาประชุมออนไลน์เสมอ?”

สีหน้า แววตา ภาษากาย สะท้อนอะไรได้มากมาย

มันช่วยให้เรา Sensing กันว่าเราควรจะพูดกับคนๆนั้นยังไง

เพราะฉะนั้น ในวงประชุมออนไลน์ ถ้าเป็นผมชวนจัด จึงขอให้ทุกคนเปิดวิดีโอเอาไว้

เพื่อให้เรารู้ว่าใครกำลังสนใจ กำลังเบื่อ กำลังจดเนื้อหาสาระ พร้อมหรือไม่อย่างไรที่จะเรียนรู้

เราจะพบว่า นักกีฬาที่เก่ง จะบันทึกการซ้อมและการแข่งของตนแล้วนำกลับมาดูซ้ำๆเพื่อหาจุดบกพร่อง

ในการซ้อมไอคิโด หรือการสอบไอคิโด ผมก็มักบันทึกวิดีโอไว้ เพื่อนำกลับมาย้อนดูข้อดีข้อด้อยตัวเอง

ประชุมแต่ละครั้ง โดยเฉพาะออนไลน์ เมื่อบันทึกวิดีโอไว้ ผมเองยังนำกลับมาดูเพื่อวิเคราะห์ตนเองและผู้ฟัง ผู้ร่วมสนทนา

อันนี้ เป็นเทคนิคในการก้าวไปข้างหน้าของการเป็นนักกีฬา นักสื่อสาร ตลอดจนคนหลากหลายวงการทั่วโลกใช้ คือหมั่นบันทึกวิดีโอการนำเสนอจองตนเองไว้ แล้วนำกลับมาวิพากษ์วิจารณ์

แต่มันจะเกิดสิ่งนี้ไม่ได้ ถ้าผู้เข้าร่วมประชุมปิดกล้อง ในการสอนนักศึกษา หรือประชุมทีมที่ผมรับผิดชอบ ผมจึงขอให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเปิดกล้องไว้เสมอ

ไม่ใช่เพื่อจับผิด หรือหักคะแนนอะไร เพราะถ้าไม่สะดวกก็ขออนุญาตออกไปทำธุระได้

แต่ถ้าเราไม่เห็นสีหน้า แววตา ภาษากายอย่าง รอยยิ้ม หรือ มุมปากที่เศร้าสร้อยกัน อาการหาวที่สะท้อนว่าอดนอนกันมา เรามีโอกาสพลาดในการสื่อสารได้มาก

บางคนชินกับการปิดหน้าจอคุยตลอดจนกลายเป็นนิสัย อาจจะให้เหตุผลว่าแต่งตัวไม่เรียบร้อยบ้าง บ้านรกบ้าง ฯลฯ

แต่ผมคิดว่าการประชุมเป็นพื้นที่สำคัญที่เราต้องให้เกียรติกับผู้อื่นและตัวเอง ตั้งแต่ ตรงเวลา การจัดเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าหน้าผม สิ่งแวดล้อมต่างๆที่อยู่เฟรม

ทั้งหมดคือสิ่งที่จะเพิ่มน้ำหนักให้เรื่องที่เราจะพูด มันสะท้อนตัวตนซึ่งโยงไปสู่ความน่าเชื่อถือในเนื้อหา

“การสื่อสารกับการใช้ชีวิตของผู้สื่อสาร จึงแยกกันไม่ออก”

ความสำเร็จในการสื่อสารที่สังคมตัดสินเราจึงไม่ใช่โชคชะตา ไม่ใช่แต่เรื่องข้อมูล

แต่มันรวมถึงความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ในตัวเอง ครอบครัว สังคม ฯลฯ

ทั้งหมดจะถูกประมวลเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เราสื่อสารออกไป

แล้วสังคมจะชั่งน้ำหนัก

สาธารณะจะบอกเราว่าสิ่งที่เรานำเสนอควรได้รับการเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

วันนี้ ถือว่าเป็นอีกวันที่ประชุมออนไลน์ได้น้ำได้เนื้อกันเยอะพอสมควร

ทั้งการนำข้อมูลจากพื้นที่มาแลกเปลี่ยนเตรียมสื่อสารถึงบทบาทผู้หญิงชาติพันธุ์ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆใน Case ผู้หญิงพิการช่วง COVID

ทั้งการ inspire ชีวิตที่ฝึกมองคนเชิงซ้อน ให้เห็นคนในมิติต่างๆ

อย่ารู้จักคนแค่มิติการงานอย่างเดียว เราจะกลายเป็นมนุษย์เชิงเดี่ยว

ซึ่งแย่พอๆหรืออาจจะมากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เรารณรงค์หนักหนา

การจะออกจากกับดัก “วิธีคิดเชิงเดี่ยว” ที่เปลี่ยนให้เรากลายเป็นมนุษย์เชิงเดี่ยวทำได้หลายแบบ อาจจะว่ากันไปตามจริตแต่ละคนก็ได้ ไม่เหมือนกัน

แต่อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะเริ่มจากตัวเองด้วย คือ ทบทวน ใคร่ครวญชีวิตในปัจจุบันตัวเอง

เราทุ่มเท ใช้เวลา ใช้เงิน ใช้ชีวิต ไปกับสิ่งใด

เราได้รับความสุขอันลึกซึ้ง ความงามจากภายใน ศิลปะในการใช้ชีวิต การให้เวลากับงานอดิเรก สุนทรียะต่างๆ

เราเปิดประตูนำสิ่งเหล่านั้น แล้วนำมาสานพลังให้เกิดสมดุลในชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน

และยังมีคำถามอีกมากมายที่เราควรนำมาใช้พัฒนาตนเอง

ให้ “ทำน้อยลง แต่ได้ผลมากขึ้น , ไปช้าลง แต่ไปได้ไกลขึ้น”

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ตรงนี้จะให้ดีต้องจัดสรรเวลา และมีกุศโลบายในการโน้มใจตัวเองให้ไปคิด

โชคดี ช่วงนี้มีจังหวะกิจกรรมของเครือข่าย “ชุมชนกรุณา เพื่อการอยู่อย่างมีความหมายและตายดี” โฆษณาในเฟสบุ๊ค

เลยได้จังหวะ น้องๆในทีมอาสาสี่คนขอเข้าร่วม กะว่าเรียนรู้แล้วเดี๋ยวจะให้มาขยายผล และจะส่งน้องๆไปเรียนรู้เพิ่มอีกเรื่อยๆ

โค้ชอย่างผมเลยเบาภาระนี้ เพราะมีเครือข่ายโค้ชที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดี Imp Sutheelak มาช่วยเป็นระบบนิเวศในการโค้ชน้องๆ

อันนี้เหมือนฟ้าประทาน

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

AAR รอบนี้ ยาวแต่จริงๆเหมือนเป็นการรีวิวให้ทีมได้รู้สึก-นึกคิด ทบทวนตามไปด้วย

จริงๆมีอะไรอีกมากที่ผมไม่ได้บันทึกไว้ตรงนี้ แต่แค่นี้ก็คิดว่ามากพอสมควรแล้ว

ขอโทษที่วันนี้ผมอาจจะพูดในเชิง Lead มากไปหน่อย

แต่ก็เพื่อที่ตนเองจะพูดน้อยลง Lead น้อยลงในวันหน้า

ยังมีเรื่อง OKR และ Agility ที่ผมนำมาประยุกต์ใช้ใน Team Learning และการทำสื่อภาคปฏิบัติของทีมคนรุ่นใหม่ แต่ขอยกยอดเอาไว้เล่าในโอกาสหน้า

ต้องขอบคุณทีมงาน ตลอดจนผู้สนใจงานสื่อ และกระบวนการเปลี่ยนแปลงตนเองทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้

ชอบก็แชร์ต่อนะครับ


หมายเลขบันทึก: 690618เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2021 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2021 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท