ห้าคำต้องห้ามในการเรียนการสอน


        ในห้องเรียนสิ่งที่สำคัญที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนคือ บรรยากาศเชิงบวก ซึ่งต้องมาคู่กับการใช้คำพูดเชิงเสริมแรง และก็สอดคล้องกับคำกล่าวที่เราได้ยินกับบ่อยๆคือ "คิดก่อนพูด จะดีที่สุด"  และหลายครั้งที่พบว่า ปัญหาเด็กไม่ชอบครู ปัญหาเด็กไม่ชอบเรียนวิชานั้นนี้ เกิดจากการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน  แสดงว่า การพูดหรือการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญที่ครูซึ่งมีบทบาทเป็นผู้อำนวยการจัดการเรียนการสอนต้องใส่ใจ และต้องฝึกฝน  ครั้งนี้จะบอกเล่าถึงคำต้องห้าม หรือ คำที่ควรเลี่ยงในห้องเรียนคือ "ห้าม หยุด อย่า ไม่ ต้อง" ลองมาทบทวนร่วมกันว่าเราใช้หรือเลี่ยงอย่างไรได้บ้างสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

  1. "ห้าม" จากการทบทวนตนเองการใช้คำว่า "ห้าม..." ของครูนกก็ถือว่าใช้น้อย ที่เคยใช้เช่น ห้ามทะเลาะกันนะคะ  ก็น่าจะเป็นห้ามที่ไม่ได้เสียหาย  ดังนั้นคำว่า "ห้าม" ที่ควรเลี่ยงจริงๆ คือ การห้ามในลักษณะที่ปิดโอกาสการแสดงออก หรือการคิดของนักเรียนตัวอย่างเช่น  "ห้ามใช้มือถือ"  ครูนกมองว่าการใช้มือถือของนักเรียนเป็นสิ่งที่เราควรส่งเสริมให้เป็นไปในทิศทางที่เสริมแรง เสริมการเรียนรู้ อย่ามองว่าทุกการใช้มือถือของนักเรียนเป็นเชิงลบหมดค่ะ
  2. "หยุด" คำสั่งลักษณะหยุด พยายามทวนตนเองถือว่าครูนกไม่เคยใช้คำนี้ ยกเว้น หยุดพักสักนิดนะคะ  เพราะฉะนั้นจะบอกว่า เลี่ยงคำว่าหยุดก็ต้องดูบริบท และจุดประสงค์การสื่อสารด้วยค่ะ
  3. "อย่า" ถ้าย้อนมองครูนกเองใช้คำว่า อย่า บ่อยแค่ไหนก็ถือว่าไม่บ่อย แต่ก็ใช้เช่น อย่าลอกกันนะคะ (ต้องเปลี่ยนเป็น ทำด้วยตนเองนะคะ ดีที่สุด)  อย่าเทสารแบบนั้น (ต้องเปลี่ยนเป็น ควรเทกรดในน้ำนะคะ)  อย่าเพิ่งส่ง (ต้องเปลี่ยนเป็น รอหน่อยนะคะเดี๋ยวครูให้ส่ง)  จะระวังการพูดของตนเองในลักษณะห้ามนักเรียนทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์
  4. "ไม่" คำว่าไม่  เพียงแค่ครูเอ่ยหัวใจของเด็กๆก็จะรู้สึกเชิงลบ เหมือนคำสั่งให้หยุด ให้ชะงัก  เช่น "ไม่ต้องต่อรอง"  "ไม่ได้"  แต่เด็กจะชอบคำนี้ถ้าครูบอกว่า "ไม่สอบค่ะ" หรือ "ไม่ต้องส่งค่ะ"
  5. "ต้อง" คำนี้ก็ต้องพิจารณาบริบทการใช้เช่นกันค่ะ ว่าต้อง...ผนวกกับอะไรจึงจะทำให้เด็กมีกำลังใจ เปิดใจเรียนรู้ และควรเลี่ยงต้องแบบไหนในห้องเรียนเช่น ต้องส่งนะคะ  หรือ ต้องทำให้เสร็จภายในวันนี้  หรือ  ต้องสอบค่ะ  
    จากที่กล่าวมาแล้วถึงประสบการณ์ของครูนกกับคำต้องเลี่ยงในห้องเรียนคือ "ห้าม หยุด อย่า ไม่ ต้อง" ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของครูซึ่งด้วยความเป็นครูทำให้ครูนกมั่นใจว่า ครูทุกคนใช้คำนี้เพื่อให้ศิษย์ของเราเป็นคนดี และเป็นคนเก่ง  ถ้าเป้าหมายเราชัด การพูดสื่อสารของเราก็จะชัดเจน และถึงใจของศิษย์ได้อย่างแน่นอน ครูนกเชื่อแบบนั่น
หมายเลขบันทึก: 690577เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2021 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2021 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบจังครับ สั้นๆ ชัดเจนสำหรับครูเรา “ห้าม หยุด อย่า ไม่ ต้อง” 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท