ศพที่หอมหวน: กระบวนการทำให้เป็นสินค้าของศพพระที่มีบารมีในสังคมไทย ตอนที่ 1


บทคัดย่อ

การวิจัยมุ่งสำรวจศพที่ไม่ติดไฟในสังคมไทย กรณีศึกษานำมาจากพระที่มีชื่อเสียง ซึ่งร่างของพวกเขาไม่ติดไฟ แต่ยังอยู่เป็นรูปเป็นร่างคนในโลงแก้ว โดยทั่วไปแล้ว จะมีการถือว่าศพเป็นวัตถุไร้ค่า และไม่เป็นที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วิทยาพบว่า ในการปฏิบัติแล้ว ศพของภิกษุที่มีบารมีสามารถถูกทำให้กลายเป็นสินค้า และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในรูปแบบการบริจาค ไม่เป็นที่ปฏิเสธเลยว่า ศพจะเหมือนคนจริงๆ สามารถจับต้องได้กว่ากระดูกหรือประวัติชีวิต กรณีตัวอย่างได้แก่ ปัญญานันทะภิกขุในนนทบุรี กับ ครูบาชัยวงศ์ในลำพูนเป็น 2 ตัวอย่างที่ใช้เพื่อยืนยันสมมติฐานในการศึกษาครั้งนี้ กรณีของปัญญานันทะภิกขุ ซึ่งต่อต้านความเชื่อแบบชาวบ้าน และความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แม้กระทั่งศพยังถูกทำให้กลายเป็นสินค้าเพื่อก่อให้เกิดการเงินขึ้นมาได้ ศพทั้งสองนี้เป็นสัญลักษณ์ถึงสังคมบริโภคในประเทศไทย ที่ศาสนาและเศรษฐกิจเกี่ยวพันกันอย่างแน่นแฟ้น สุดท้าย บทความนี้นำเสนอว่าการกระทำให้กลายเป็นสินค้าเชิงศาสนาจะเป็นไปด้วยดีได้ เนื่องมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น และรูปแบบที่หลากหลายของผู้บริโภค

แปลและเรียบเรียงจาก

Jesada Buaban. Fragrant Corpses: Commodification of Charismatic Monk’s Corpses in Thai Society.

หมายเลขบันทึก: 690455เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2021 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2021 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท