ประสบการณ์ที่ยากจะลืม (ตอนที่ 2)


(1) ชาวบ้านใช้จ่ายและเป็นหนี้เป็นสินตามกระแสบริโภคนิยม แล้วทำให้เกิดการทำลายทรัพยากร (2) ระบบราชการและตัวบทกฏหมายทำให้ชุมชนอ่อนแอ
               หลังจากเข้าพบอาจารย์หมอวิจารย์  พานิช แล้วเป็นรายการประชุมนโยบายสาธารณะ เพื่อร่วมพัฒนานโยบายสนับสนุนการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัดสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งครูบาสุทธินันท์จะเป็นผู้เข้าร่วมประชุม แต่เราก็ได้รับการอนูญาตให้เข้าร่วมประชุมด้วย

               ในการประชุมพอสรุปได้ว่า มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ได้รวมตัวชุมชน ชาวบ้านทำงานพัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี 2546 และตระหนักถึงปัญหาวิกฤตของบ้านเมือง ซึ่งภาคประชาชนต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน หากมองตามเหตุการณ์แล้ววิกฤตที่เกิดขึ้นหลัก ๆ จะมีสาเหตุสำคัญจาก 2 ประการคือ (1) ชาวบ้านใช้จ่ายและเป็นหนี้เป็นสินตามกระแสบริโภคนิยม แล้วทำให้เกิดการทำลายทรัพยากร (2) ระบบราชการและตัวบทกฏหมายทำให้ชุมชนอ่อนแอ

                จึงเห็นได้แน่นอนว่าการพัฒนาต้องยึดชุมชนเป็นหลัก  ให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาและต้องสร้างชุมชนเข้มแ็ข็ง เพราะตราบใดที่ชุมชนยังมีภาระหนี้สินและถูกกระทำโดยคนอื่นอยู่นั้น ชุมชนไม่มีโอกาสที่จะจัดการตัวเองและจะอ่อนแอไปเรื่อย ๆ  เราควรหาวิธีการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลทั้งวิธีคิดและพฤติกรรมโดยมาร่วมกันคิดร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนร่วมกันเพื่อให้มีทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จยิ่งขึ้น เป็นการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ดีขึ้นแล้วนำไปเชื่อมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปกำหนดนโยบายแผนชุมชน  แต่บางพื้นที่มีแผนท้องถิ่นที่ไม่ใช่แผนชุมชน และจำเป็นที่รัฐจะต้องเข้ามาช่วยเป็นพื่เลี้ยงให้ภาคประชาชน เพื่อผลักดันให้เกิดแผนชุมชนขึ้นมาจริง ๆ แล้วจะนำไปสู่ผลสำเร็จได้ในที่สุด 
หมายเลขบันทึก: 69043เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นหลัก

ในขณะที่ภาครัฐถือว่าการพัฒนาชุมชนเป็นหน้าที่หลัก

หลักการพัฒนาจึงเป็นไม้หลักปักเลน

การพัฒนาบางเรื่องทำได้แค่ปักป้ายถ่ายรูป เงินหมด จบโครงการ ประเมินผลว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง

หลักสูตรบูรณาการศาสตร์จะเป็นพลังสำคัญต่อการพัฒนาในเชิงคุณภาพต่อไป

ผอ.คะ ชุมชนบางชุมชนสามารถสร้างชุมชนของตนเองให้เข้มแข็งได้ด้วยตนเองจนสามารถผลักดันให้เกิดแผนพัฒนาชุมชนขึ้นมาจริง ๆ แต่บางชุมชน(ส่วนใหญ่) ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง จึงไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ คอยหาตัวช่วยตลอดเวลา ชุมชนในลักษณะนี้เราต้องนำ KM เข้าไปช่วยจัดการจึงจะมองเห็นทางนะคะ แต่ที่แน่ ๆ เรายังต้องพึ่งพาเงินทุน และองค์กรของรัฐเข้ามาสนับสนุนอยู่ดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท