ความเชื่อเรื่อง “โจ” ของชาวใต้ การสร้างสัญญะและการผลิตซ้ำตัวมันเองในบริบทสมัยใหม่ ตอนจบ


“โจ”: นิยาม และการผลิตซ้ำของภาพลักษณ์

ความหมายของ “โจ” มีที่เหมือนกันและแตกต่างจากกัน แต่เราสามารถจัดกลุ่มให้เป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ 1. “โจ” ในฐาะที่เป็นเครื่องราง 2. “โจ” ในฐานะของการแสดงความเป็นเจ้าของ 3. “โจ” คือสิ่งที่ยุ่งยากสำหรับคนที่เจอ ความหมายขึ้นอยู่กับกลุ่มของผู้ใช้และได้ประดิษฐ์ “โจ” แต่ละบุคคลพรรณนาความหมายตามที่เคยได้ยินมา ซึ่งนำเสนอเจตคติและความคิดเห็นที่แตกต่างกันที่ผู้คนเหล่านี้มีต่อ “โจ”

1. “โจ” เป็นเครื่องรางอันศักดิ์สิทธิ์

หมอผีที่สร้าง “โจ” เชื่อว่า “โจ” เป็นเครื่องรางหรือพระที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำให้เกิดขึ้นโดยคาถา และมีการสร้างยันต์ หรืออักขระโบราณจากคนที่เกี่ยวข้องกับไสยดำ พิธีกรรมที่สร้าง “โจ” คือวิธีการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับ “โจ” จากการสร้างพิธีกรรมทำให้เราเห็นถึงปรากฏการณ์จากความเชื่อสู่การปฏิบัติกับผู้คนในชุมชนที่ยังเชื่อว่า “โจ” ยังคงศักดิ์สิทธิ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อว่า “โจ” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะวันที่และเวลาในการประดิษฐ์ “โจ”

นอกจากนี้ การเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังมีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณอีกด้วย เพราะว่าพิธีกรรมที่ประกอบสร้าง “โจ” เป็นพิธีลับไม่ประกาศให้คนทั่วไปได้เห็น การไม่ให้คนอื่นๆเห็นยังมีมิติของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการลงมาประทับตัว “โจ” ซึ่งบังคับให้ผู้คนกล่าวถึงอำนาจในเชิงไสยศาสตร์และอำนาจในเชิงเวทมนต์ของ “โจ” ขโมยคนไหนทานผลไม้ก็อาจท้องแตกตาย พวกเขาเชื่อว่าปรากฏการณ์ของการทำโทษนี้คือจิตวิญญาณของเทพในจัดการรักษา ดังนั้นก่อนประกอบการสร้าง “โจ” หมอผีต้องมีการบูชาครูหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขออนุญาตในการทำ “โจ”

2. “โจ” เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นเจ้าของ

เจ้าของ “โจ” และผู้เชี่ยวชาญให้ความหมายของ “โจ” ว่าคือการเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ ชาวสวนจะแขวน “โจ” ที่ต้นไม้ไว้ประมาณ 6 เดือน มันช่วงที่ต้นไม้จะให้ผลดก และพวกเขาใช้ “โจ” เพื่อกันการขโมย เมื่อเวลามาถึง พวกเขาจะดึง “โจ” ออกจากต้นไม้ ในอดีต เมื่อผู้คนเห็น “โจ” แขวนอยู่ ณ ที่ใด ก็แสดงว่าผลไม้นั่นมีเจ้าของ ก่อนหน้านี้ ชาวสวนจะแขวน “โช” ไว้ตามต้นไม้เพื่อแสดงว่าต้นไม้นี้มีเจ้าของ เมื่อใครบางคนเดินผ่านมา ไม่ว่าเขาต้องการสิ่งนี้ไปทานหรือไม่ เมื่อเห็น “โจ” ก็ต้องหาเจ้าของและขออนุญาต หากพวกเขาไม่ขอ และทานผลไม้ ท้องของพวกเขาอาจแตกก็ได้

Phra Khru Kosol Suttakit ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส และบอกว่าเขามีประสบการณ์เรื่อง “โจ” ตั้งแต่ตอนเขายังเป็นเด็ก เพราะปู่ของเขาเป็นหมอผีประจำหมู่บ้าน ยิ่งไปกว่านั้นปู่ของเขายังเป็นผู้สร้าง “โจ” อีกด้วย ปู่ของเขาจะแขวน “โจ” ไว้ตามต้นไม้ที่ออกผลประจำปี และพืชที่ให้ผลทุกปี ปู่จะแขวน “โจ” จนกว่าเวลาจะเก็บเกี่ยว

3. “โจ” เป็นความทุกข์ทนของผู้ที่พบ 

คนส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์กับ “โจ” นั้นจะเชื่อว่า “โจ” คือความทุกข์ยากของคนที่พบเห็น เมื่อสังคมที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอำนาจของ “โจ” ซึ่งส่งผลต่อบางสิ่งที่เราไม่เห็น หรือบางสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อเรา ดังนั้นจึงก่อให้เกิดเรื่องเล่าแห่งความกลัวนี้ขึ้น เช่น ความกลัวว่าจะท้องแตกตาย และอื่นๆ เรื่องราวเหล่านี้จะผลิตซ้ำให้ชาวบ้านเกิดการเกรงกลัว “โจ” เกิดขึ้น นอกจากนี้การเล่าถึงเรื่องราวการประกอบ “โจ” ยังส่งผลให้ความเชื่อเรื่องอำนาจและมายาของ “โจ” ด้วยเหมือนกัน หรือในอีกแง่หนึ่ง การประกอบสร้าง “โจ” มีกระบวนการอันสลับซับซ้อน หรือมีกระบวนการมากมายจะส่งผลให้ “โจ” มีอำนาจและเวทมนต์ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น ดังนั้น “โจ” จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว อย่างบทสัมภาษณ์ที่ยกมาข้างล่างนี้

“...”โจ” ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของยามที่ชั่วร้ายที่อยู่ตามสวน ซึ่งถูกควบคุมโดยคาถา ขโมยจะเกรงกลัว “โจ” และจะไม่กล้าขโมยผลไม้ที่มี “โจ” แขวนไว้มาทาน เพราะว่าพวกขโมยจะกลายเป็นคนบ้า ท้องของพวกเขาจะปวด และต้องหาเจ้าของมาแก้อาถรรพ์ของ “โจ” ถึงนั้นพวกขโมยจึงไม่กล้าทานผลไม้ที่มี “โจ” แขวนไว้ข้างหน้า...”

“...คนโบราณจะสร้าง “โจ” โดยการใช้หญ้าให้กลายเป็นปีศาจ เมื่อผู้คนเห็นมัน ก็จะไม่กล้า และไม่อยู่ที่นั่นอีกต่อไป เพราะว่าพวกเขาเชื่อว่าจะมีภูตผีคอยหลอกหลอนพวกเขา ดังนั้นชาวสวนจะแขวน “โจ” ไว้ เพื่อกันขโมยมาขโมยของ...”

ความหมายของ “โจ” จากบทสัมภาษณ์คนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ “โจ” นั้นส่งผลต่อทัศนะของผู้คนว่า “โจ” เป็นสิ่งที่น่ากลัว และลึกลับซับซ้อน เหมาะแก่การเฝ้าของ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

สรุป

ความเชื่อของ “โจ” ของคนใต้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ เมื่อมาทำงานร่วมกันก่อให้เกิดกฎในสังคมนั้นๆได้ ดังนั้น “โจ” จะมีอำนาจเหนือธรรมชาติและศักดิ์สิทธิ์เสมอ อำนาจนี้ไม่เปิดเผยต่อผู้คน แต่เชื่อว่ามันยังดำรงอยู่ สำหรับการป้องกันและการทำโทษ ซึ่งเจ้าของเป็นคนสร้าง จะมีเนื้อหาและความเข้มข้นไปตามคุณค่าและค่าใช้จ่ายของทรัพย์สมบัติแต่ละชนิด ซึ่งพบว่า “โจ” จะมีข้อได้เปรียบเมื่อมีระบบตลาดอยู่เบื้องหลัง ในขณะที่สถานการณ์ของการลักยังมีอย่างบริบูรณ์ในสังคม ดังนั้นเจ้าของทรัพย์สมบัติจะต้องหาวิธีในการรักษาและการป้องกัน ก็ไม่มีวิธีอะไรที่ดีกว่าความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่ติดตรึงในจิตใจของผู้คน “โจ” ปรากฏขึ้นเป็นรูปร่าง อยู่ในสาธารณะ และมีคุณลักษณะที่คนใต้เชื่อถือ เช่น จริงจัง และแม่นตรง อย่างไรก็ตาม ในบางแห่ง การขโมยเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก สุดที่ตัว “โจ” จะรักษาสิ่งใดไว้ได้ ดังนั้นเจ้าของจึงต้องซ่อน “โจ” ไว้ และไม่บอกต่อคนอื่นๆ สิ่งนี้ทำให้การสร้าง “โจ” ยิ่งดูน่ากลัวเข้าไปอีก วิธีการข้างบสะท้อนถึงการตัดสินใจและความกล้าหาญของคนใต้ นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่อง “โจ” ยังสะท้อนให้เห็นถึง การจัดการตนเอง การบริหารตนเอง และการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นคุณลักษณะของคนใต้  

แปลและเก็บความจาก

Panuwat Worajin และ Pornpan Khemaakunasai. ‘Jo’ Belief of Thai Southerner: Creation of Sign and its Reproduction in a Modern Context.

หมายเลขบันทึก: 690400เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2021 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2021 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท