ความเชื่อเรื่อง “โจ” ของชาวใต้ การสร้างสัญญะและการผลิตซ้ำตัวมันเองในบริบทสมัยใหม่ ตอนที่ 3


“โจฝัง” และการสร้างสัญญะ  .

  “โจฝัง” สร้างขึ้นมาจากเสื้อผ้าและเขียนเวทมนต์ลงไป กระบวนการทำคือหมอผีจะบิดผ้าตรงหัวและท้ายพร้อมกับว่าคาถา คาถานี้ไม่เป็นที่รู้จักแต่ถือโดยนัยว่ามาจากพุทธศาสนา คาถาเป็นสิ่งที่พระใช้ในพิธีศพ “โจฝัง” ทำให้คนขโมยท้องเสียและอาเจียนตลอดเวลา มีความเชื่อว่าผ้าที่บิดเกลียวทั้งทางบนและทางล่างเป็นผู้กระทำ มันทำให้คนที่ขโมยอาเจียนและถ่ายอยู่ตลอดเวลา

ทุกวันนี้ การทำ “โจ” สามารถที่จะใช้วัสดุอื่นๆแทนได้ ทุกวันนี้หมอผีในตำบลนาโยงเหนือ จังหวัดตรังที่จะทำ “โจฝัง” สามารถใช้ไม้ไผ่แทนผ้าขาวได้ แต่ยังคงใช้คาถาเหมือนเมื่อก่อน การถอนอำนาจของ “โจ” เป็นสิ่งที่ยาก หากคุณไม่สามารถจะเจอ “โจ” หรือไม่รู้ว่าหมอผีฝัง “โจ” ไว้ตรงไหน หากหาไม่เจอ ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ นอกจากนี้ “โจ” ที่ทำมาจากไม้ไผ่สามารถฝังในพื้นดิน การนำ “โจ” ที่ถูกฝังส่งต่อถึงอันตราย เพราะคุณก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอำนาจของ “โจ” ได้อย่างไร

ความเชื่อเรื่องวันและเวลาในการสร้าง “โจ”

ในการสร้าง “โจ” หมอผีต้องประกอบพิธีกรรม โดยเลือกวัน เวลา และสถานที่เหมาะสม ในพื้นที่ของตำบลนาโยงเหนือ จังหวัดตรัง หมอผีจะประกอบพิธีในวันพฤหัสฯ เพราะเชื่อว่าเป็นวันดีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเชื่อว่าเป็นครูในประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ พวกหมอผีจะประกอบพิธีในวันอังคาร ที่เชื่อว่าจะทำให้ “โจ” ศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น วันที่ต่างๆขึ้นอยู่กับหมอผีแต่ละคน หมอผีในตำบลลำสินธ์ จังหวัดพัทลุง เชื่อว่าวันที่ดีที่สุดในการสร้าง “โจ” มีอยู่ 2 วัน คือวันอังคารและวันเสาร์ เพราะถือว่าเป็นวันดี ไม่ว่าคุณจะสร้าง “โจ” นอกเหนือจากนี้ จะทำให้ “โจ” ไม่ค่อยศักดิ์สิทธิ์ การถอนคำสาปจะทำในวันพฤหัสฯ เพราะถือว่าเป็นครู มีความเชื่อว่าวันดังกล่าวจะทำให้ “โจ” อ่อนพลัง และไม่สามารถทำอันตรายกับผู้คนได้อีกเลย

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่ออีกว่าการกำหนดวันที่จะทำ “โจ” มีความแตกต่างด้านบน เช่น หมอผีในเขารูปช้าง จะประกอบพิธีสร้าง “โจ” ในวันพุธ เพราะว่าวันนั้นเป็นวันที่อับเฉาของพวกขโมย และจะทำให้ “โจ” ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น นอกเหนือจากจะทำให้ผู้คนท้องแตกตายแล้ว ยังส่งผลให้ขโมยท้องเสียหรือท้องเปื่อย อย่างไรก็ตาม วันที่หมอผีจะไม่สร้าง “โจ” คือวันพระ เพราะมีความเชื่อว่าพิธีกรรมจะไม่เสร็จสมบูรณ์ และไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ผู้ทำต้องการ

เวลาที่ดีที่สุดในการประกอบพิธีกรรมคือเวลาว่างไม่มีผู้คน จะมีแค่หมอผีกับเจ้าของเท่านั้น เธอสามารถมีพิธีกรรมในตอนใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า กลางวัน ตอนเย็น หรือเที่ยงคืน พวกเขาเชื่อว่าไสยศาสตร์จะทำงานได้ดีขึ้นหากไม่มีผู้คนมาจ้องมอง หากมีคนมาจ้องมอง จะทำให้ “โจ” คลายความศักดิ์สิทธิ์ และไม่มีอำนาจเชิงไสยศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นไสยดำจะทำร้ายหมอผีและเจ้าของ “โจ” ได้ ดังนั้นผู้สร้าง “โจ” จะเลือกเวลาที่นักวิชาการเขียนไว้ว่า “อีกาไม่บินผ่าน วันที่ยังไม่เปิด” ซึ่งหมายถึง ท้องฟ้ายังไม่สว่างนั่นเอง หมายความว่าไม่มีใครออกจากบ้าน และหมอผีต้องประกอบพิธีทำ “โจ” ในสวน หรือที่ใดก็ตามที่พวกเขาจะแขวน “โจ” ไว้ให้หมอผีร่ายคาถาเพื่อป้องกันพื้นที่

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้าง “โจ” คือ ต้องมีของบูชาครู เช่น หมาก พลู ดอกไม้ และเทียน เพราะว่าหมอผีต้องบูชาครูของตนก่อนประกอบพิธีกรรมได้ ต่อมาต้องของบูชาไปใส่ในถาด และสวดคำนอบน้อมครู ในบางพื้นที่ พิธีกรรมอาจประกอบกันในตอนเที่ยงคืน เป็นความเชื่อว่าหมอผีจะทำร้ายผู้คนในช่วงนั้น หลังจากพิธีกรรม “โจ” จะถูกแขวนไว้ตามต้นไม้ที่มีผลดก ผู้คนที่ขโมยผลไม้ไปทานอาจท้องแตกตายหรือท้องเสียจนกระทั่งตาย หากไม่รู้ว่าเจ้าของ “โจ” คือใคร ถ้าใครรู้ว่าเจ้าของคือใครแล้ว ก็ต้องไปขอให้เจ้าของคลายอำนาจในสาปและทำให้คนที่ท้องเสียกลับคืนมาในสภาพดี เพราะว่าเจ้าของเท่านั้นที่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร

ต้นไม้ที่เจ้าของใช้ “โจ” ในการทำร้ายกับผู้คน ต้องเป็นต้นไม้ที่มีผลผลไม้ดก เช่น ต้นจำปาดะ ต้นขนุน ต้นถั่ว ดังนั้น “โจ” คือเครื่องมือกันขโมย เจ้าของจะแขวน “โจ” ไว้ใกล้ๆกับต้นไม้ว่ารักต้นไม้นี้มากและให้คนอื่นๆเห็น  

แปลและเก็บความจาก

Panuwat Worajin และ Pornpan Khemaakunasai. ‘Jo’ Belief of Thai Southerner: Creation of Sign and its Reproduction in a Modern Context.

หมายเลขบันทึก: 690381เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2021 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2021 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท