ความเชื่อเรื่อง “โจ” ของชาวใต้ การสร้างสัญญะและการผลิตซ้ำตัวมันเองในบริบทสมัยใหม่ ตอนที่ 1


บทนำ

“โจ” หมายถึง เครื่องรางของขลังของประชาชน ผู้ซึ่งทำอาชีพเกษตรกรรม คนใต้สร้าง “โจ” จากความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติที่จะใช้มันเป็นเครื่องมือในการป้องกันหรือทำร้ายผู้คนจากการมาขโมยผลผลิตและสัตว์ต่างๆ “โจ” ถูกสร้างโดยสัมพันธ์กับผู้คน เวลา และสถานที่ คนเจ้าพิธีกรรมจะเลือกเวลาและสถานที่ ดังนั้นความมีศีลธรรมและอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของ “โจ” จึงตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้ “โจ” เป็นด้านหลัก

“โจ” เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจในด้านมืดที่ทำให้โจรกลัวเกรง เมื่อเธอร่ายคาถาและกำกับด้วยมนต์ระหว่างพิธีที่ทำอันตรายต่อผู้คน ความรุนแรงของการทำโทษไม่ใช่จะเสมอภาคในทุกๆกรณี ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้ใช้ “โจ” เครื่องรางของขลังชนิดนี้อาจทำให้คุณหลงทางและหาทางออกไม่เจอ หรือบางครั้งก็ส่งผลต่อร่างกาย เช่น การโป่งของเส้นเลือดที่ท้อง ท้องเสีย อาเจียน หรือไม่ก็ตาย “โจ”จะมีหลายรูปร่าง เช่น เป็นทรงกระบอก ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงเกลียว จากงานวิจัยในภาคสนาม งานวิจัยพบว่าความเชื่อเรื่องการปรากฏของ”โจ” เป็นเรื่องปกติในภาคใต้ ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงครอบคลุมคนมากกว่า 5 รุ่น

เราได้เลือกกรณีอยู่ 8 กรณี คือ 1. ตำบลนาโยงเหนือ 2. ตำบลลำสินธุ์ 3. ตำบลกงหรา จังหวัดพัทลุง 4. ตำบลเขารูปช้าง 5. ตำบลพะวง 6. ตำบลทุ่งตำเสา จังหวัดสงขลา 7. ตำบลแว้ง และ 7. ตำบลแม่ดง จัวหวัดนราธิวาส เพราะว่าพื้นที่เหล่านี้มีความเชื่อเรื่องโจอยู่ และบางชุมชยังคงเชื่อในเรื่องนี้

ข้อมูลจะได้มาจากการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประมาณ 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยคนจำนวน 19 คน เช่น 6 คนจะมี “โจ” อยู่ ชาย 3 คนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม และมีคน 10 คนมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ “โจ” ความคิดรวบยอดที่ใช้จะเกี่ยวข้องกับสัญศาสตร์ของโรรอง บาร์ต สังกัปหลักๆเสนอว่าความหมายที่เราเจอจะไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเห็นเสมอไป ในทางตรงกันข้ามความหมายขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม ซึ่งปัจเจกบุคคลจะให้ความหมายที่แตกต่างกันในวัตถุชนิดเดียวกัน

ฉันใช้สังกัปเหล่านี้ในการอธิบายความหมายของ “โจ” ต่างชนิดกันในบริบทของสังคมเกษตรในภาคใต้ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า สัญญะของ “โจ” เป็นสิ่งที่ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตาม การให้ความหมายจะขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนจะให้ในบริบทที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ “โจ” ยังเป็นสิ่งที่ให้ความหมายถึงความกลัวและอันตราย คำตอบของบทความนี้นอกจากจะทำให้เราเห็นถึงศรัทธาในความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการห้ามที่ทรงอำนาจ ที่ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของคนกระทำผิดในสังคมแล้ว ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนที่เชื่อในไสยศาสตร์นี้อีกด้วย ความเชื่อเหล่านี้ยังคงสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงสมัยใหม่

แปลและเก็บความจาก

Panuwat Worajin และ Pornpan Khemaakunasai. ‘Jo’ Belief of Thai Southerner: Creation of Sign and its Reproduction in a Modern Context.

หมายเลขบันทึก: 690328เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2021 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2021 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากๆ ที่ให้ความสนใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท