"บริการที่เป็นมิตร ไม่ใช่แค่แปลว่ามี Service Mind"


"บริการที่เป็นมิตร ไม่ใช่แค่แปลว่ามี Service Mind"

การสร้างนิสัยใส่ใจบริการคนอื่นได้นั้น ไม่ใช่จู่ๆก็ผุดบังเกิด หากแต่เพราะมีส่วนสนับสนุนทั้งที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมและระบบต่างๆที่ตามมาเป็นวินัย วิถี มีสื่อ มีคู่มือ Protocal เรียนรู้ต่างๆมากมาย

ถึงเราจะเป็น “ไทย” แต่เราสามารถนำเอาหลักคิดดีๆเหล่านี้มาใช้ได้

แต่ไม่ใช่เริ่มที่เทคนิค หรือกิจกรรมที่เป็นเปลือก

ต้องเริ่มที่ Mindset เริ่มที่จิตใจก่อน

....................................................................

บริการที่เป็นมิตร ไม่ใช่แค่มี Service Mind

แต่มันเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่น ชาติที่ขึ้นชื่อเรื่องงานบริการสุดยอด เรียกว่า “โอโมเตนาชิ” (Omotenashi) ซึ่งแปลว่า การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน

เป็นการให้ที่มองว่าทุกคนมีความแตกต่างกัน เราจึงต้องทำงานบริการให้คนๆนั้นมีความพิเศษเฉพาะ

เป็นการให้ โดยไม่ได้มองว่าเราไป “รับใช้” เขา ซึ่งการมองอย่างนั้นมันมักจะหนัก เหมือนเป็นการแบกภาระ

แต่ให้หันกลับมาคิดเบาๆ ว่าเราทำเพราะอยากสบายใจ ดีใจที่เขามาหาเรา ใช้บริการจากเราแล้วกลับบ้านไปอย่างมีความสุข

คิดแบบเบาใจ คิดให้เห็นภาพ ให้รู้สึกซึมซาบรอยยิ้ม สีหน้า แววตาของเค้า คนที่มาหาเรา

....................................................................

บริการด้วยความเป็นมิตรในแบบ Omotenashi หรือ การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ยังรวมไปถึงหลักคิดว่าทุกคนมีควาเฉพาะเจาะจง จึงต้องการบริการที่มีความเฉพาะ และหลักคิด “หนึ่งครั้ง หนึ่งพบพาน” ซึ่งหมายความว่า ไม่มีวันไหนเหมือรกันเป๊ะๆ ดังนั้นจงทำทุกวันให้มีค่า ให้เป็นที่พิเศษสุด

จาก Mindset ลองแปลงเป็นรูปธรรมง่ายๆ เริ่มจากการตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้รับบริการ....จุด จุด จุด มากขึ้น โดยระดมสมองจากทุกฝ่าย เฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่อยู่หน้างาน ให้พนักงานมีส่วนร่วมคิด รู้สึกเป็นเจ้าของความคิด ได้รับการยอมรับ

หมั่นถามตัวเองว่า วันนี้เราทำให้ใครมีความสุขหรือยัง?

หมั่นขอบคุณสิ่งเล็กๆน้อยๆรอบตัว ที่ถึงแม้จะไม่เกี่ยวกับงานโดยตรง แต่มันจะเชื่อมโยงบ่มเพาะอุปนิสัยที่ทำในงานบริการผู้คนกลายเป็นอุปนิสัยสั่งสมที่ดีขึ้น และดีขึ้น

หมั่นแชร์ประสบการณ์ดีๆที่ประทับใจในการให้บริการให้กันและกันฟัง

การสร้างบริการที่เป็นมิตร ลำพังสร้างแต่วัฒนธรรมและระบบในกลุ่มหรือองค์กรของตัวเองอย่างเดียวนั้น ไม่พอ หากจำต้องรู้จักตัวตนของตนเอง ลงลึกในจุดแข็งของตนและสร้างพันธมิตรร่วมเพื่อเชื่อมโยงผสานพลังให้ครบวงจร

อันนี้เป็นการ “นำด้วยคำถาม”

นอกจากนี้ ยัง”นำด้วยเรื่องเล่าเชิงบวก”

และเสริมนิเวศของการบริการด้วยการสานพลังความเชี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละภาคี

โดยไม่ผูกขาดการนำไว้ที่หัวหน้า ไม่ติดกรอบการนำแบบคำสั่ง แบบชี้แนะ แบบ Command

ไม่หวงงาน ไม่หวงพื้นที่

และจะให้ดี ต้องยอมลงทุนไปสัมผัสประสบการณ์การให้บริการที่สุดยอดบ้าง เพื่อให้เห็นของจริงที่กระทบใจ มากกว่าอยู่แต่ในที่เดิมๆ

ทั้งหมดนี้ ต้องทำด้วยความกลมกล่อม พอดีๆ

....................................................................

ผมสรุปเนื้อหาจาก Podcast นี้มาแชร์และทบทวน

เป็นพอดแคสต์ที่ผมฟังซ้ำสองรอบและจดบันทึก ใคร่ครวญ

ไม่อยากจะโน๊ตอะไรมากไปกว่านี้ เดี๋ยวจะกลายเป็นสปอยล์รายการไป

อยากให้ฟังเอง ใช้วิจารณญาณตนเอง ดีกว่าเยอะ

ใครที่กำลังอยากพัฒนางานบริการ ไม่ว่าจะเป็นภาคร้านค้า ผู้ประกอบการพาณิชย์ผู้ประกอบการทางสังคม ผู้ให้บริการระบบสุขภาพ กองทุน หน่วยงานบริการประชาชนต่างๆ

แนะนำให้ฟังดูตามลิงค์นี้ครับ

;fbclid=IwAR0KidzNotAXmyqq2EpdDckdwQDcmVg0NrBS3vpBIBrGz4Htw0KYJVlCLyk

หมายเลขบันทึก: 689606เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2021 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2021 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท