เศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน


ผลลัพธิ์ที่คาดหวัง ๐ เกิดกระแสการเชิดชูสถาบัน ศาสตร์พระราชาในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติ เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงระดับประเทศ มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ-สังคม ให้เกษตรกรไทยได้จริง ต่อความผันผวนไม่แน่นอนของกลไกตลาดโลกาภิวัตร ๐ สามารถแก้ปัญหาระยะสั้นในการสร้างงานภาคเกษตรกรรม หลังวิกฤตโควิท ๐ เกิดเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคง ต่อยอดจาก “ทุนทางสังคม” แต่ละชุมชน ผ่านองค์กรวิสาหกิจเพื่อความมั่นคงทางสังคม ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างแท้จริง ๐ เกิดชุมชนที่ รู้ รัก สามัคคี สืบสานต่อยอด วิถีชุมชน “ทุนทางวัฒนธรรม” การช่วยเหลือเกื้อกูล การมีส่วนร่วม และส่งเสริมสำนึกประชาธิปไตยระดับชุมชน ๐ เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้หลากหลายช่องทางการตลาด ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

ข้อพิจารณา แนวคิดการจัดตั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง หลังวิกฤตการณ์โควิท

เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

…ต้องทำแบบ “คนจน”…บริหารแบบ “คนจน”…ไม่ติดกับตำรามากเกินไป

ทำอย่างมีสามัคคี…เมตตากัน….

I ข้อเท็จจริง

๐ เราเข้าสู่ช่วงเวลาของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ หลังสถานการณ์สงครามชีวภาพ (ไวรัสโควิท19) ซึ่งเป็นภัยคุมคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในทุกมิติ ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ซึ่งเกิดจาก (ก) คนตกงาน โดยเฉพาะคนชนชั้นรากหญ้า เกษตรกร ผู้ใช้แรงงานในเมืองใหญ่ (ข) ห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคเปลี่ยนอย่างฉับพลัน เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการส่งออกเป็นหลัก (ค) ระบบกฎหมาย กลไกของสถาบันทางการเมืองและสังคมแบบปรกติ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความมั่นคงระบบมหภาค ที่สร้างผลกระทบทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกับวิกฤตระดับนานาชาติร่วมกัน

๐ วิกฤตครั้งนี้ ถือเป็นภัยคุมคามความมั่นคงของชาติ ต้องการกลไกของสถาบันทางการเมืองและความมั่นคง. ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตครั้งนี้อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด คู่ขนานกับกลไกของสถาบันการเมืองแบบปรกติ 

๐ เห็นควรที่จะอันเชิญพระปฐมบรมราชโองการ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” มาเป็นหลักชัยและเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินการให้บรรลุตามพระราชประสงค์นี้ ด้วยการใช้ศาสตร์พระราชาเป็นหลักในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา

๐โดยการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ ร่วมสร้างศูนย์รวมใจ มีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง เพื่อร่วมกันทั้งมิติการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหาความมั่นคงของประเทศ อย่างพร้อมเพรียงและบูรณาการ เพื่อนำพาประเทศก้าวข้ามวิกฤตการณ์ความมั่งคงครั้งนี้อย่างทันถ่วงทีกับบริบทปัญหาปัจจุบัน

๐ ดังนั้นในบรรยากาศทางการเมืองของประเทศปัจจุบัน ที่ภาคการเมืองจากการเลือกตั้งไม่มีความเป็นบึกแผ่น  ประเทศต้องการกลไกเสริม ทำหน้าที่เป็น  War Room ในการแก้ปัญหาของชาติครั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่สร้างศูนย์รวมจิตใจ ต่อยอดจากทุนทางสังคม (social capital) หรือการสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามศาสตร์พระราชา

๐ เห็นควรจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติที่ 6 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)  เป็นหน่วยวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ในการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการพัฒนา แก้ปัญหาและฟื้นฟูประเทศไทย  ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นหน่วยงานร่วม  ซึ่งทำหน้าที่บูรณาการทางเศรษฐกิจภาคพลเรือน ที่มีความรู้ ทักษะ ด้านเศรษฐกิจชุมชน  ร่วมกันขับเคลื่อน แก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้

II. ข้อพิจารณา

(1) ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติที่ 6 (กอ.รมน.)จะทำหน้าที่สร้างทีมงานที่มีความรู้ ทักษะ จากทุกภาคส่วน มีภาวะผู้นำ ทำหน้าที่เป็น War Room ในการวางแผนเชิงกลยุทธ บัญชาการ ขับเคลื่อนแก้ปัญหาและประเมินผล อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จ ภายใต้ความมั่นคงที่มุ่งต่อยอดศาสตร์พระราชา

(2) ประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการร่วมขับเคลื่อนแก้ปัญหาเร่งด่วน ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ 

(ค) สร้างองค์กร เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทำหน้าที่การออม แหล่งทุน และการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยบุคลากรมืออาชีพ ในฐานะนิติบุคคล “วิสาหกิจเพื่อความมั่นคงทางสังคม”  (social security enterprise) ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้จริง พัฒนาต่อยอดจากวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และสหกรณ์  

(3) ส่งเสริมการจัดตั้งนิคมการเกษตรอัจฉริยะในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย.  พัฒนาตามแนวพระราชดำริเรื่อง “ภูมิสังคม” ที่มุ่งเน้นการวางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ของแต่ละพื้นที่ ที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ (ดิน น้ำ อากาศ ฯ) ทุนทางสังคม-วัฒนธรรม ในแต่ละพื้นที่ ที่เชื่อมโยงกับตำแหน่งทางการตลาดของพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ เพื่อ “ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต” และสร้างระบบการแลกเปลี่ยนมูลค่าระหว่างสมาชิกชุมชนทั่วประเทศ ด้วยสกุลเงินดิจิตอล ผ่านเทคโนโลยี blockchain ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส บริหารความเสี่ยงจากพลวัตรของสถาบันการเงินโลกาภิวัตรปัจจุบัน

(4) ระงับใช้การบังคับใช้กฎหมายปรกติ หรือเสนอการปรับปรุงกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคในการปรับตัวของประเทศที่กระทบต่อความมั่นคง เพื่อการแก้ปัญหาเชิงนโยบายที่รวดเร็ว ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน

(5) ปรับปรุงห่วงโซ่การผลิตและการบริโภคใหม่ (supply chain) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  มีการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนอง New Normal และมีความสอดคล้องกับบริบทตลาดใหม่หลังวิกฤตโควิท

(6) ริเริ่มสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ด้านเกษตรอินทรีย์แปรรูปมูลค่าสูงแบบองค์รวม ที่เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศสอดคล้องกับบริบทตลาดใหม่

(7) แสวงหาคู่ค้าตลาดใหม่ๆ จากทั่วโลก ที่ต่อยอดจากความมั่นคงด้านการทูต ที่สถาบันกษัตริย์ไทยได้วางรากฐานความสัมพันธ์ทางการทูตในประเทศต่าง ๆ

(8) สร้าง “ทุนเชิงสัญลักษณ์” (Symbolic Capital)  ของสถาบันกษัตริย์สู่ระดับสากลมากขึ้น ต่อยอดกระแสโลกเรื่องโควิท  ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติในการแก้ปัญหาวิกฤตความมั่นคงด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะเป็นเครื่องมือใหม่ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศ ท่ามกลางปัญหาพลวัตรของระบบเสรีนิยมใหม่โลกาภิวัตรปัจจุบันที่ไม่แน่นอน  

III อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชนระยะเร่งด่วน

(ก) ภาคเกษตรกรรม ( ให้หันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรผสมผสาน ฯ ไม่น้อยกว่า 25% ของประเทศ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตเชิงเศรษฐกิจให้คนรากหญ้า)

(ข) ภาคพลังงานทางเลือกของชุมชน สร้างความมั่งคงด้านพลังงานจังหวัดชายแดนทั่วประเทศ สามารถพึ่งพอตัวเองได้ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอแลก

(ค) ภาคการท่องเที่ยวชุมชน แบบเพิ่มมูลค่าสูง ทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม (eco-cultural tourism) และ/หรือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (cultural capital) ที่ต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) หรือ “ภูมิสังคม” ของชาติทั่วประเทศ. ที่เชื่อมโยงกับนโยบาย medical hub ของประเทศ เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ผู้มีฐานะดีที่ต้องการพำนักระยะยาว ทำตลาดผ่านข้อตกลงเงื่อนไขพิเศษ ระหว่างรัฐต่อรัฐ กับประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดี

(ง) ภาคอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์แปรรูปมูลค่าสูงแบบองค์รวม ที่สามารถสร้างโอกาสใหม่ให้กับประชาชนชนรากหญ้าทั่วประเทศ

IV ผลลัพธิ์ที่คาดหวัง

๐ เกิดกระแสการเชิดชูสถาบัน ศาสตร์พระราชาในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติ  เป็นเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงระดับประเทศ  มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ  สามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ-สังคม ให้เกษตรกรไทยได้จริง ต่อความผันผวนไม่แน่นอนของกลไกตลาดโลกาภิวัตร

๐ สามารถแก้ปัญหาระยะสั้นในการสร้างงานภาคเกษตรกรรม หลังวิกฤตโควิท

๐ เกิดเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคง ต่อยอดจาก “ทุนทางสังคม” แต่ละชุมชน ผ่านองค์กรวิสาหกิจเพื่อความมั่นคงทางสังคม ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างแท้จริง

๐ เกิดชุมชนที่  รู้ รัก สามัคคี สืบสานต่อยอด วิถีชุมชน “ทุนทางวัฒนธรรม” การช่วยเหลือเกื้อกูล การมีส่วนร่วม และส่งเสริมสำนึกประชาธิปไตยระดับชุมชน

๐ เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้หลากหลายช่องทางการตลาด ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

หมายเลขบันทึก: 689309เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2021 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2021 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท