ว่าด้วยจริยธรรม


จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี  อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

จริยธรรม มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ว่า จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ  คำว่าธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ 

เมื่อเอาคำว่า จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็น จริยธรรม แปลความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

โดยสรุป จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร

เมื่อกาลใดที่สังคมว่าควร สื่งนั้นก็ควร จริยธรรมนั้นก็ดีงาม หากแต่กาลใดสังคมว่าไม่ควร สิ่งนั้นก็ไม่ควร จริยธรรมน้ันก็คือความเลวร้าย ทุกคน ทุกสาขาวิชา ทุกอาชีพ ย่อมมีหลักจริยธรรมเป็นแนวทางแห่งความประพฤติ ยกเว้นสัตว์เดรัจฉานเท่านั้นที่ไม่มีจริยธรรมต่อกัน

หมายเลขบันทึก: 689276เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2021 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2021 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท