อ่านวิธีการต้านอนุมูลอิสระแล้วไม่อยากหายใจ


อ่านหนังสือเรื่อง “วิธีต้านอนุมูลอิสระในตัวคุณ”  ของสำนักพิมพ์สุขภาพใจ แล้วเกิดความรู้ใหม่ เกิดความเข้าใจระบบการก่อเกิดโรคในร่างกายมากขึ้น แต่ในบางประเด็นเป็นความรู้ใหม่ที่ขัดแย้งกับความเก่าที่เราเคยได้บริโภคมา

 อย่างกรณี “ออกซิเจน” เขาบอกว่ายิ่งร่างกายของเรารับเข้าไปมากและเร็วเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายของเรามากขึ้น การที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวเร็วก็จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น (ซึ่งถ้าในคนปกติก็จะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่แล้วหากบกพร่องก็จะทำให้เกิดอนุมูลระมากขึ้น) เช่น เขาเปรียบเทียบหนูกับช้าง ว่า ช้างมีอายุขัยเฉลี่ย 70 ปี ส่วนหนูมีหลายพันธุ์แต่ส่วนมากมีอายุขัยประมาณ 1 ปี จะเห็นว่าแม้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน แต่มีอายุขัยโดยเฉลี่ยต่างกันมาก อีกทั้งมีข้อมูลว่าทั้งช้างและหนู มีชีพจรการเต้นรวมตลอดชีวิตประมาณ 8 ร้อยล้านครั้งพอๆ กัน แสดงว่าหัวใจของหนูเต้นเร็วกว่าช้างประมาณ 70 เท่า แต่ปริมาณการใช้ออกซิเจนใน 1 ช่วงอายุขัยต่อเซลล์หรือระบบต่างๆ 1 กรับ ทั้งหนูและช้างมีปริมาณพอๆ กัน จึงคำนวนได้ว่าหนูใช้ออกซิเจนเร็ซกว่าช้าง 70 เท่า เพราะ “ปริมาณการใช้ออกซิเจน เป็นตัวกำหนดความยืนยาวของอายุขัย”
  อ่านถึงตรงนี้แล้วก็ทำท่าจะค่อยอยากหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปแล้วล่ะค่ะ  แล้วก็ทำให้ชักไม่แน่ใจแล้วว่าการออกกำลังกายจะดีหรือเปล่า ควรเดินช้าๆ เนิบนาบ หรือ Active ดี แล้วความรู้ที่เคยบริโภคมาว่า หากเราควบคุมการหายใจ หายใจให้ลึกเอาออกซิเจนเข้าไปให้ลึกสุดปอด แล้วหายใจออกให้ท้องแฝ้บได้อย่างน้อยวันละ 10 นาทีจะทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ขับพิษ มันงง ๆๆๆๆมาก แล้วหยุดหายไปวันละ 1 นาทีดีมั้ยเนี่ย

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 6890เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2005 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท