สรุปการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด



กรณีศึกษา

ชื่อ-นามสกุล : คุณบี (นามสมมติ)

อายุ : 80 ปี

เพศ : หญิง

General appearance : ผู้สูงอายุเพศหญิงผมสั้น ผิวขาว นั่ง wheelchair

โรคประจำตัว : ความดันโลหิตสูง

Clinical Reasoning 

1.Scientific Reasoning 

Diagnostic reasoning 

 1) การวินิจฉัยทางการแพทย์ : จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการบอกว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงและทานยาลดความดันอยู่ (I10-I15,ICD10)

 2) การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : ผู้รับบริการมีปัญหาในการทำกิจวัตรซ้ำๆและอาจจะเริ่มมีความเสี่ยงในการมีภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ อีกทั้งอาจมีภาวะซึมเศร้าเพราะต้องอยู่ที่บ้านพักผู้สูงอายุเป็นเวลานาน

Occupational deprivation : เนื่องจากผู้รับบริการต้องย้ายมาอยู่ที่บ้านพักผู้สูงอายุ ผู้รับบริการจึงไม่ได้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชอบทำเพราะที่บ้านพักผู้สูงอายุไม่มีอุปกรณ์ให้ทำกิจกรรมนั้น ผู้รับบริการจึงใช้เวลาว่างไปกับการนอนหลับ

Procedural reasoning 

จากการที่นักศึกษากิจกรรมบำบัดสงสัยว่าผู้รับบริการจะมีปัญหาในการทำกิจวัตรเดิมซ้ำๆ จึงได้เลือกการประเมินดังนี้

      -   การประเมินผ่านการสัมภาษณ์ผู้รับบริการโดยใช้การตั้งคำถามให้ทราบถึงกิจวัตรที่ผู้รับบริการทำในแต่ละวัน เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมยามว่าง

      -   การประเมินโดยให้ผู้รับบริการเขียนตารางกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันเพื่อให้ทราบกิจกรรมที่ผู้รับบริการทำและนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาในการทำกิจวัตรเดิมซ้ำๆ ซึ่งตารางกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการมีดังนี้

  05:00        ตื่นนอน

  05:00-6:10 อาบน้ำแต่งตัว

  6:10-6:40   ทานข้าวเช้า

  7:00-9:00    ออกกำลังกาย (เป็นกิจกรรมที่บ้านพักผู้สูงอายุจัดขึ้น)

  10:00-10:30 ทานข้าวกลางวัน   

  10:30-15:00 นอนเเละไปอาบน้ำเป็นบางครั้ง

  15:00-15:30 ทานข้าวเย็น

  15:30           นอนเล่นและไปอาบน้ำ 

  18:00-5:00   เข้านอน(การเข้านอนจะเเล้วเเต่วัน)                      

      -   การประเมินความสนใจในการทำกิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการ ผ่านแบบประเมิน Interest checklist เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจและนำไปสู่การปรับกิจวัตรของผู้รับบริการให้ผู้รับบริการได้มีกิจกรรมทำเพิ่มเติม

    จากการที่นักศึกษากิจกรรมบำบัดสงสัยว่าผู้รับบริการอาจจะมีภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าจากคำบอกเล่าของผู้รับบริการว่าสามีและลูกของตนเองเสียชีวิตแล้ว ตอนนี้ตนเองอยู่ตัวคนเดียวจึงได้เลือกการประเมิน ดังนี้

          -   การประเมินภาวะสมองเสื่อมผ่านแบบประเมิน MoCA เนื่องจากเวลาไม่เพียงพอจึงเลือกใช้แบบประเมินนี้แทนแบบประเมิน MMSE เพื่อให้ทราบว่าผู้รับบริการมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ จากการประเมินผู้รับบริการไม่สามารถจำชุดคำที่บอกไปก่อนหน้านี้ได้จึงสงสัยว่าผู้รับบริการอาจจะมีปัญหาในการ recall จึงให้ปัญหาหลัก และผลคะแนนรวมคือ 15 คะแนนจาก 30 คะเเนน ซึ่งแปลผลได้ว่าผู้รับบริการมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม

          -   การประเมินผ่านการสัมภาษณ์จากข้อคำถามในแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q เนื่องจากเป็นแบบประเมินที่มีข้อคำถามไม่มากและคิดว่าผู้รับบริการอาจจะมีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากผู้บริการบอกว่าตนเองอยู่ตัวคนเดียวและคนในครอบครัวเสียชีวิตหมดเเล้ว ผลการประเมินผู้รับบริการได้คะแนน 2 คะแนนจาก 18 คะแนน ซึ่งแปลผลได้ว่า ผู้รับบริการมีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อยมาก

      มีการเลือกกรอบอ้างอิงเพื่อช่วยในกระบวนการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด ดังนี้        

            -   การใช้กรอบอ้างอิง MOHO เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจและทำให้ผู้รับบริการมีกิจวัตรอื่นเพิ่มเติม โดยจะให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมจัดสวนโหลซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจและจะนำไปสู่การดูแลสวนที่จัดอย่างเป็นนิสัยทำให้ผู้รับบริการมีกิจวัตรในการรดน้ำต้นไม้ในสวนที่จัดเพิ่มเติมจากกิจวัตรที่ทำอยู่

            -   การใช้กรอบอ้างอิง Cognitive rehabilitation เพื่อคงความสามารถเรื่อง memory ให้กับผู้รับบริการ เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถจำชุดคำศัพท์ในแบบประเมิน MoCA ได้ กรอบอ้างอิงนี้จะช่วยเรื่องการจดจำสิ่งต่างๆของผู้รับบริการผ่านเทคนิคต่างๆ เช่น Mnemonics ซึ่งจะให้ผู้รับบริการจับระเบียบข้อมูลผ่านการจัดกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน หรือการเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องการจำกับตำแหน่งต่างๆของสถานการณ์ที่คุ้นเคยตามลำดับ เช่น การจำลำดับสิ่งของภายในห้องโดยเริ่มจากของทางขวามือเป็นลำดับที่หนึ่งและไล่ลำดับไปเรื่อยๆ หรือการ Compensatory โดยติดข้อความแจ้งเตือนหรือทำสัญลักษณ์ไว้ในตำแหน่งต่างๆที่มองเห็นได้ง่าย

        2.Narrative Reasoning

              -   ผู้รับบริการบอกว่า เวลาที่ทำกิจกรรมเสร็จก็จะกลับไปที่ห้องและไปนอนตลอดเพราะไม่อยากทำอะไรชอบนอนมากกว่า และไม่ได้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองเคยทำตอนอยู่ที่บ้านเพราะที่บ้านพักผู้สูงอายุไม่มีอุปกรณ์

          3.Interactive Reasoning

                -   สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการ โดยการแสดงท่าทีที่เป็นมิตร ยิ้มแย้ม ใช้น้ำเสียงและคำพูดที่เหมาะสม โดยจะทำขณะสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ขณะให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมจัดสวนโหล เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจและมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการทำให้การประเมินและการบำบัดรักษาสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้รับบริการให้ความร่วมมือมากขึ้น

                -   ใช้ Rapport ในการสัมภาษณ์ผู้รับบริการถึงครอบครัวของผู้รับบริการและกิจกรรมที่ผู้รับบริการทำในแต่ละวัน การสังเกตผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมจัดสวนโหล โดยใช้คำถามปลายเปิด ขณะสัมภาษณ์จะรับฟังอย่างตั้งใจ และทำความเข้าใจกับอารมณ์ของผู้รับบริการ โดยการเปิดใจรับฟังทั้งเนื้อหาและอารมณ์โดยไม่ตัดสินถูกผิดขณะที่ผู้รับบริการพูด ซึ่งผู้รับบริการจะให้ข้อมูลที่จะนำไปสู่การให้เหตุผลเชิง narrative เช่น

          ผู้บำบัด : “เวลาว่างคุณยายชอบทำอะไรหรอคะ”

          ผู้รับบริการ : “เวลาว่างหรอ ยายไม่ค่อยได้ทำอะไรนะเวลาทำกิจกรรมที่เค้าจัดให้เสร็จหรือกินข้าวเสร็จ ก็ชอบเข้าห้องไปนอนตลอด ไม่ค่อยอยากจะทำอะไรเลยชอบนอนมากกว่า”  

                -   ให้ผู้รับบริการได้เลือกทำกิจกรรมที่ตนเองชอบหรือสนใจ โดยจะใช้การสัมภาษณ์ผ่านแบบประเมิน Interest checklist เพื่อนำไปสู่การเลือกกิจกรรมในการให้การบำบัดรักษา

            4.Conditional Reasoning

            1) จากการประเมินภาวะสมองเสื่อมโดยใช้แบบประเมิน MoCA ผู้รับบริการเริ่มมีปัญหาเรื่อง Recall ไม่สามารถจำชุดคำศัพท์ได้ จึงนำกรอบอ้างอิง Cognitive rehabilitation มาใช้ โดยให้ผู้รับบริการใช้เทคนิค Compensatory โดยจะให้ทำสัญลักษณ์ลงไปในสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ติดข้อความเตือนตนเองให้รดน้ำต้นไม้ทุกวันในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย  เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถจดจำกิจวัตรที่ผู้รับบริการต้องทำในแต่ละวันได้

            2) จากการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ ผู้รับบริการมีปัญหาในการทำกิจวัตรเดิมซ้ำๆ จึงนำกรอบอ้างอิง MOHO มาใช้ ซึ่งจะใช้ Leisure exploration technique โดยให้ผู้รับบริการได้เลือกกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจคือ กิจกรรมจัดสวน ผู้บำบัดให้ผู้รับบริการได้จัดสวนโหลด้วยตนเองและให้ผู้รับบริการรดน้ำต้นไม้ ดูแลสวนโหลทุกวัน เพื่อเพิ่มกิจกรรมให้ผู้รับบริการทำในแต่ละวัน

            5.Pragmatic Reasoning      

                   -    นักศึกษากิจกรรมบําบัดขอรับการปรึกษาในการให้การบําบัดจากนักกิจกรรมบําบัด เนื่องจากขาดความรู้ และประสบการณ์ โดยปรึกษาเรื่องปัญหาในการทำกิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการ ว่าควรส่งเสริมยังไง ควรจะให้กิจกรรมแบบไหนซึ่งจะเลือกมาจากกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจจากแบบประเมิน Interest checklist การส่งเสริมเรื่องการ recall ผ่านการทำกิจกรรม เช่น การทวนขั้นตอนหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ การติดตามผลว่าผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมยามว่างนั้นได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่โดยให้ติดต่อกับผู้ดูแลว่าผู้รับบริการได้ดูแลสวนโหลที่จัดไปต่อหรือไม่       

              6.Ethical Reasoning

                     -    ผู้บำบัดมีการสร้างสัมพันธภาพให้ผู้รับบริการไว้วางใจ มีการรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ (ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ 2 ข้อที่ 2.1.1ในมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด)

                     -    ผู้บำบัดมีกระบวนการให้บริการบำบัดแก่ผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ (ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ 4 ข้อที่ 4.7ในมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด)

                     -    ผู้บำบัดมีการบันทึกข้อมูล ปัญหา แผนการให้บริการ การปฏิบัติตามแผนและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของผู้รับบริการ (ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ 4 ข้อที่ 4.8 ในมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด)

                     -    ผู้บำบัดรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และเลือกเครื่องมือในการประเมินที่สามารถวัดผลได้อย่างน่าเชื่อถือและพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและระดับความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ 5 ข้อที่ 5.1.1 และ 5.1.2 ในมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด)

                SOAP NOTE ครั้งที่1 (07 ตุลาคม 2563)

                S :  pt. is f-male short hair, use w/c for mobility b/c she has old age and protect fall, pt. c/o she gets free time, she’s always sleep.

                O : pt. was interested manual skill group in interest checklist that pt.chose garden arrangement, ADLs was indep that assess by interview,9Q test = 2 that Result was client wasn’t depression.

                A : pt. has routine problem b/c she always sleep in free time and pt.had occupational deprivation b/c Old age homes hadn’t equipment for do leisure that pt.like to do it at her home.

                P : pt. will have leisure that is garden arrangement, Will request an order for OT for assessment of memory.

                SOAP NOTE ครั้งที่2 (28 ตุลาคม 2563)

                S : pt.could recognize OT, she could remember her friend name.

                O : MoCA test = 15 that Result was client had main problem about recall that OT suggest pt. about Compensatory technique in Cognitive Rehabilitation, pt. could do garden arrangement by yourself, pt. couldn’t recall steps for garden arrangement.

                A : pt.had recall problem b/c she couldn’t recall step for garden arrangement and word in MoCA test.

                P : Health promotion, Promote activity that maintain memory skill of pt.

                Story Telling

                1.ความรู้สึกที่ได้จากการเรียนรู้      

                       รู้สึกดีที่ได้ทำเคสกับผู้สูงอายุด้วยตนเอง ได้แสดงศักยภาพในการเป็นนักกิจกรรมบำบัดของตนเองออกมาอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การสร้างปฏิสัมพันธ์ การประเมิน การสังเกต เพื่อให้ทราบปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการเพื่อนำไปสู่การให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

                2.สิ่งที่ได้เรียนรู้
                       ทำให้ได้เห็นถึงวิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะได้ไปเจอผู้รับบริการ ทำให้มีการประเมินที่ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อที่จะทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของผู้รับบริการและนำไปสู่การให้การรักษาที่เหมาะสม การเลือกกิจกรรมที่ต้องมองจากหลายปัจจัยทั้งบริบททางสิ่งแวดล้อมและความสนใจของผู้รับบริการเป็นหลัก ทำให้ได้ประสบการณ์ทั้งการประเมิน การรักษาจากการลงมือปฏิบัติจริง และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำให้ได้ทราบวิธีการเลือกกิจกรรมและการเลือกใช้แบบประเมินที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ เช่น การเลือกแบบประเมิน interest checklist เพื่อให้ทราบกิจกรรมยามว่างที่ผู้รับบริการสนใจ ได้มีตัวเลือกกิจกรรมให้ผู้รับบริการ เพื่อนำไปสู่การเลือกกิจกรรมในการบำบัดรักษา การประเมินภาวะสมองเสื่อมเพิ่มเติมเนื่องจากเป็นภาวะที่ผู้สูงอายุส่วนมากจะเกิดขึ้นได้

                3.นำไปพัฒนาตนเองเมื่อต้องเป็นนักกิจกรรมบำบัด

                       นำกระบวนการในการประเมินการให้การบำบัดรักษาไปใช้ในการทำเคส การเลือกแบบประเมินที่ต้องคำนึงถึงบริบท เวลา และความสามารถ พยาธิสภาพของผู้รับบริการ การเลือกกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความสามารถและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ    

                คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
                หมายเลขบันทึก: 688995เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2021 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


                ความเห็น (0)

                ไม่มีความเห็น

                พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
                ClassStart
                ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
                ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
                ClassStart Books
                โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท