ประสบการณ์การนำ มจธ. ออกนอกระบบราชการ


การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือ การเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล ในตัวระบบ

ประสบการณ์การนำ มจธ. ออกนอกระบบราชการ

         เป็นข้อเขียนของ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร  อดีตอธิการบดี มจธ.      ที่ รศ. มาลินี ธณารุณ นำมาลงไว้ ที่ http://gotoknow.org/blog/9nuqa/68705 ถึง 68833

       ประโยคเด่นที่ผมติดใจคือ


       "ผมพบว่ามหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งใช้เวลามาก เตรียมตัว
เพื่อเปลี่ยนสถานภาพทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยและบุคคล เรื่องนี้
เป็นสิ่งที่ต้องทำแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมร่างพระราชบัญญัติ
กฎระเบียบด้านบุคลากร วิชาการ การเงินและทรัพย์สิน
          ผมเห็นว่ามหาวิทยาลัยใช้เวลาน้อยมากในการเตรียมเปลี่ยน
กระบวนทัศน์และวิธีทำงานของคน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือ
การเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล ในตัวระบบ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง
สถานภาพทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยหรือสถานภาพทางกฎหมาย
ของบุคคล ถ้าเราเปลี่ยนเฉพาะสถานภาพทางกฎหมายก็คงไม่เกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่แท้จริง การเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐจะ
ไม่เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและสังคม

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีทำงาน
          เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนในองค์กร มหาวิทยาลัย
คงจะต้องมีเป้าหมายที่สูงให้คนร่วมคิดและร่วมปรารถนาที่จะไปถึง
ร่วมกัน มิฉะนั้นคนจะนึกถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคล(ซึ่งก็เป็นของ
ปกติเพราะยังเป็นปุถุชนอยู่) โดยไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมหรือ
ประโยชน์ขององค์กรหรือประโยชน์ระดับที่สูงกว่า การเปลี่ยนกระบวน
ทัศน์นี้คงจะมากับการสร้างเป้าหมายว่า มหาวิทยาลัยที่พึงปรารถนา
เมื่อมีการเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับแล้วเป็นอย่างไร" 

        ผมตีความว่า     การออกนอกระบบราชการ     ก็เพื่อให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ให้แก่สังคมใน ภพภูมิ (order) ใหม่

วิจารณ์ พานิช
๒๒ ธค. ๔๙         

 

หมายเลขบันทึก: 68870เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท